วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ความหมายและชนิดของไวน์และสุราพื้นบ้าน

ความหมายและชนิดของไวน์และสุราพื้นบ้าน

.

ไวน์ ( wine )

• เครื่องดื่มที่ได้จากการหมักองุ่น ( หรือน้ำผลไม้ ) ด้วยยีสต์

• เกิดแอลกอฮอล์ และ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และกลิ่นรส

• แอลกอฮอล์ 9 - 14 % โดยปริมาตร


ชนิดของไวน์

• แบ่งตามสี

• แบ่งตามแอลกอฮอล์

• แบ่งตามปริมาณน้ำตาล

• แบ่งตามปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

• แบ่งตามพันธุ์องุ่น

แบ่งตามสีของไวน์

• ไวน์แดง

• ไวน์ขาว

• โวน์โรเซ่

.

แบ่งตามแอลกอฮอล์

• เทเบิลไวน์ (table wine) 9 – 14 % – ใช้ดื่มพร้อมอาหาร

• ฟอร์ติไฟด์ไวน์ (fortified wine) 14 – 24 %

– โดยเติมสุรากลั่นลงในไวน์เพื่อเพิ่มแอลกอฮอล์

– เป็นไวน์หวานที่มีแอลกอฮอล์สูง ใช้ดื่มหลังอาหาร

– เช่น เชอรี่ (sherry) พอร์ต (port)

.

แบ่งตามปริมาณน้ำตาล

• ไวน์ไม่หวาน (dry wine)

• ไวน์หวานเล็กน้อย (semi-dry wine)

• ไวน์หวาน (dry wine)

แบ่งตามปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

• ไวน์ไม่มีฟอง (still wine)

• ไวน์มีฟอง (sparkling wine) เช่นแชมเปญ

– เกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในขวด

แบ่งตามพันธุ์องุ่น

• แบ่งตามพันธุ์องุ่น > 100 พันธุ์

– Cabernet Sauvignon

– Shiraz

– Chardonnay

องุ่น Vitis vinifera

• มีกว่า 100 พันธุ์ แต่มี 9 พันธุ์ทำไวน์ได้ดีมาก

• องุ่นแดง

– Cabernet Sauvignon, Pinot Noir, Merlot, Syrah (Shiraz)

• องุ่นขาว

– Riesling, Chardonnay, Semillon, Sauvignon Blanc, Chenin Blanc



การจำแนกประเภทของสุราพื้นบ้าน


สุราแช่และผลิตภัณฑ์

หมาย ความว่า สุราแช่ชนิดสุราผลไม้ สุราแช่พื้นเมือง และผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตรที่มีแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรีซึ่งไม่รวมถึงสุราแช่ชนิดเบียร์

สุรากลั่น

ซึ่งนำวัตถุดิบจำพวกข้าวหรือแป้ง / ผลไม้ / ผลผลิตทางเกษตรอื่น ๆ ไปหมัก กับเชื้อ สุรา เพื่อเกิดแอลกอฮอล์และมีแอลกอฮอล์เกินกว่า 15 ดีกรี แต่ไม่เกิน 40 ดีกรี

สุราพื้นบ้าน

สุราพื้นบ้าน คือเครื่องดื่มที่เกิดจากภูมิปัญญาไทยแต่โบราณ มีหลายชนิด เรียกชื่อต่างๆ กัน เช่น อุ กระแช่ สาโท น้ำขาว น้ำแดง น้ำตาลเมา เป็นต้น

ประเภทของสุราพื้นบ้าน

1. สาโท หรือน้ำขาว

2. อุ

3. น้ำตาลเมา

4. สุรา หรือเหล้ากลั่น

สาโท

สาโท ( ชื่อพ้อง น้ำขาว เหล้าโท กระแช่ ) เป็นสุราแช่มี ความแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรี ตามพระราชบัญญัติสุรา พ . ศ .2493 หมายถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พื้นเมืองของไทยทำจากการหมักข้าวเหนียวนึ่งหมักด้วยลูกแป้ง ( เป็นแหล่งของจุลินทรีย์ หลายชนิด ทั้งที่จำเป็นมีประโยชน์ต่อการหมักและชนิดที่ไม่จำเป็น)

ตัวอย่างสาโท






อุ

• ชื่อเรียกอื่น “ ช้างงาเดียว ” หรือ เหล่าขี้แกลบ (ของเฉพาะ ท้องถิ่นของชนชาติลาวเผ่า “ ผู้ไท ” พบมากใน ภาคอิสาน

• กรรมวิธีการผลิต คล้ายสาโท แต่จะใส่แกลบผสม กับข้าวเหนียวและลูกแป้ง

• ลักษณะผลิตภัณฑ์ เป็นของเหลว สีชา หรือน้ำตาลอ่อน รสหวาน เฝื่อนเล็กน้อย รสหวานอร่อยกว่าสาโท

• นิยมดื่มในงานฉลองหรือมีแขกมาเยี่ยมเยือน โดยใช้ก้านมะละกอ หรือหลอดไม้ซาง ยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร เจาะรูที่ทาง ปลาย

ตัวอย่างอุ






น้ำตาลเมา

• มีชื่อเรียกแตกต่างกัน แต่ละท้องที่ เช่น “ กะแช่ ” “ ไอ้เป้ ” ภาคใต้เรียกว่า “ ตะหวาก ” หรือ “ หวาก ”

• ลักษณะของผลิตภัณฑ์ เป็นของเหลวขุ่น มีฟองดื่มแล้วซ่าลิ้น รส หอมหวาน มีรสเฝื่อนเล็กน้อย นิยมดื่มสด

• วัตถุดิบที่ใช้ ได้แก่ น้ำตาลจากจั่นมะพร้าว น้ำตาลโตนด หรือ น้ำตาลปึกหรือน้ำตาลปี๊บ

( จากน้ำตาลโตนด เรียก “ น้ำเมาลูก ยอด ” จากน้ำตาลปี๊บเรียก “ มหาละลาย ”)





สุราหรือเหล้ากลั่น

• ได้จากการนำสาโทมากลั่น หรือเหล้าอื่นที่ได้จากการหมักผลผลิต ทางการเกษตรเกือบทุกชนิด เช่น ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ข้าวโพด ผลไม้หรือ น้ำอ้อย น้ำตาลสด กากน้ำตาล

• ลักษณะของผลิตภัณฑ์ ใสคล้ายน้ำดื่ม น้ำกรอง หรือ น้ำกลั่น มี รสร้อนแต่ออกหวานเล็กน้อย มีกลิ่นของวัตถุดิบ เช่น ข้าว ผลไม้ ปกติมีแรงแอลกอฮอล์ 35- 4 0 ดีกรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ