วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

ชาวมายา (The Mayas)

ชาวมายา (The Mayas)

ภาพวาดนักรบชาวมายาที่มักจะมีหน้าผากแบน เป็นสัญลักษณ์ของพวกที่มีตำแหน่งหรือชาติตระกูลสูง

ตั้งแต่ปี ค.ศ.300-900 ซึ่งนับเป็นเวลานานถึง 6 ศตวรรษ ที่อารยธรรมของ ชาวมายา ได้เจริญขึ้นในดินแดนที่ปัจจุบันนี้คือส่วนหนึ่งใน ประเทศกัวเตร์มาลา (Guatemala) และเม็กซิโก (Mexico)

ชาว มายาอยู่ร่วมกันโดยจัดแบ่งเป็นรัฐอิสระ เช่น รัฐทิคอล (Tikal) ปาเลงค์ (Palengue) และ โคแปน (Copán) ในนครรัฐเหล่านี้ บรรดาผู้ปกครองก็จะโปรดให้สร้างสถาปัตยกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพีระมิด วิหาร ปราสาทราชวังที่สง่างามและทรงคุณค่าเอาไว้ตามที่ต่างๆ ภายในเมืองด้วย

นอก จากนี้อาณาจักรมายายังเจริญรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษา การศิลปะและเป็นเมืองท่าแห่งการแลกเปลี่ยนซื้อขายที่สำคัญด้วย การเป็นแหล่งความรู้และเป็นจุดเชื่อมโยงทางการค้านี่เองที่ทำให้เจ้าหน้าที่ อาลักษณ์หรือพวกเสมียนต่างๆ ได้พัฒนาระบบลายลักษณ์อักษรแบบ
ภาพแกะสลัก (glyphs) จนมีความก้าวหน้าและนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย

อารยธรรม ดังกล่าวที่ค่อยๆ หล่อหลอมขึ้นจึงส่งผลให้อาณาจักรโบราณแห่งนี้ผลิตนักดาราศาสตร์และนัก คณิตศาสตร์ที่มีทักษะและความสามารถขั้นสูงจำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากความรู้ความสามารในการทำปฏิทินและระบบตัวเลขต่างๆ



วิหารพีระมิด (Pyramid Temple)

หากเราได้มีโอกาสเดินทางไปทวีปอเมริกากลาง ก็อาจจะได้เห็น พีระมิด ได้โดยไม่ต้องไปถึงที่อียิปต์ เพราะที่นั่นมีพีระมิดหินขนาดใหญ่ของพวกอเมริกันหลายแห่งด้วยกันแทรกตัวอยู่ในเขตป่าฝนทึบ

สิ่ง ก่อสร้างเหล่านี้ส่วนมากสร้างขึ้นจากฝีมือของชาวมายาในราวปี ค.ศ.300-900 ซึ่งหนึ่งในพีระมิดที่ใหญ่ที่สุดก็คือ พีระมิดเมืองปาเลงค์ (Palenque) ทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก พีระมิดแห่งนี้มิได้สร้างขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าเหมือนกับพีระมิดแห่งอื่นๆ แต่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่สุสานฝังพระศพของ พระเจ้าปาคาล กษัตริย์ของชนเผ่ามายา ภายในสุสานแห่งนี้เราจะพบโลงศพหินโบราณที่สลักไว้ด้วยตัวอักษรของพวกเขาและ รอยจารึกจากเรื่องราวต่างๆ ในสมัยนั้น

เมื่อเรามองออกไปนอกสุสานก็จะ เห็นสภาพบ้านเมืองของชาวมายาและความเจริญรุ่งเรืองทั้งหมดที่ยังคงหลงเหลือ มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์อันควรค่าแก่การอนุรักษ์อย่างยิ่ง และก็มีนักท่องเที่ยวจากนานาประเทศเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมอยู่อย่างต่อ เนื่องๆ เช่นเดียวกับที่เราเห็นพวกเขาเดินทางมาชมอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ใน ประเทศไทยของเรานั่นเอง

พีระมิดเมืองปาเลงค์ (Pyramid Temple) ซึ่งเป็นสุสานฝังศพพระเจ้าปาคาล กษัตริย์ของชาวมายา

อักษรกลีฟของชาวมายา (Mayan Glyphs)

อักษรกลีฟที่แกะสลักเป็นรูปเทพเจ้าและสัตว์นานาชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์หมายถึงวันที่ 11 เดือนกุมภาพันธ์
ค.ศ.526 ในปฏิทินของพวกเขา

ระบบ การเขียนหนังสือของชาวมายานั้น ใช้อักษรกลีฟ (Glyphs) อันเป็นอักษรสัญลักษณ์ที่แกะสลักบนก้อนหิน ตัวอักษรเหล่านี้แม้ในปัจจุบันก็ยังไม่มีใครสามารถถอดรหัสออกมาได้อย่างถูก ต้องแน่นอน จึงทำให้เรื่องราวต่างๆ หลายอย่างในดินแดนมายาที่เคยรุ่งเรืองยังคงทิ้งปมปริศนาไว้ต่อไป

อักษร กลิฟของชาวมายาถูกแกะสลักครั้งแรกบนอนุสาวรีย์ก้อนหิน ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่กษัตริย์ผู้ทรงอำนาจหรือเพื่อระลึกถึง เหตุการณ์สำคัญที่เคยเกิดขึ้นในสมัยนั้น

ต่อมาในราวปีคริสตศักราช ที่ 890 (ค.ศ.890) นักบวชชาวมายาก็ได้เปลี่ยนจากการแกะสลักตัวอักษรบนก้อนหินมาเป็นการเขียนบน กระดาษที่ทำขึ้นจากเส้นใยเปลือกไม้และพู่กันที่ทำจากขนหมูป่า หนังสือต่างๆ ที่พวกเขาทำขึ้นมานั้นเรียกกันว่า Codex

ที่มา https://www.myfirstbrain.com/StudentHistory_Views.aspx?Id=1433

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ