วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

The Science of Love ความลับของความรัก

The Science of Love ความลับของความรัก





ความรัก Love

The Science of Love ความลับของความรัก (Health&cuisine)

นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยจำนวนไม่น้อย ต่างพยายามค้นคว้าหาคำอธิบายปรากฎการณ์สามัญที่เรียกว่า "ความรัก" โดยเฉพาะความรักแบบหนุ่มสาว และผลงานคิดค้นซึ่งเป็นที่ยอมรับมากที่สุดเห็นจะเป็นของ ศาสตร์ตราจารย์เฮเลน ฟิชเชอร์ นักมนุฟษยวิทยาชีวภาพ แห่งมหาวิทยาลัยรัทเกอร์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา

จากการค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง ศาสตราจารย์ฟิชเชอร์ ได้สรุปว่า ความรู้สึกที่เรียกว่า "ความรัก" แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ หลง รัก และผูกพัน แต่ก่อนที่จะทำความรู้จักกับ 3 ลำดับขั้นของความรัก คุณควรจะรู้จักกับสารเคมีตัวหนึ่งที่ดึงดูดมนุษย์ทุกผู้ทุกคนให้เข้าสู่ วังวนแห่งรัก และสารเคมีที่ว่านั้นก็คือ ฟีโรโมน (pheromones)

ฟีโรโมน มีอิทธิพลต่อเราอย่างไรนั้น ลองนึกง่าย ๆ ว่าในแต่ละวันเราต้องเจอกับผู้คนมากมาย ทำไมเราไม่ตกหลุมรักชายหนุ่มสุดเซอร์ที่เจอเมื่อวานนี้ หรือทำไมเราถึงไม่เดินเข้าไปจีบสาวเจ้าสเน่ห์ที่สวนทางกันในลิฟท์ ฯลฯ คำตอบง่าย ๆ ก็เพราะฟีโรโมนไม่ตรงกันจึงไม่เกิดอาการปิ๊งนั่นเอง

ฟีโรโมน หรือ กลิ่นเรียกรัก เป็นกลิ่นเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล เหมือนกับลายมือ แต่ฟีโรโมนเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่น คือไม่สามารถสัมผัสได้โดยการสูดดมทางจมูก ผู้ที่มีฟีโรโมนตรงกับเราเท่านั้นที่จะรับกลิ่นนี้ได้ ผ่านทางอวัยวะรับสัมผัสในสมองที่เรียกว่า Olfactory

นอกจากมนุษย์แล้วสิ่งมีชีวิตที่มีฟีโรโมน คือ สัตว์บก โดยฟีโรโมนของสัตว์เหล่านี้จะค่อย ๆ ระเหยมาจากต่อมอะโปไครน์ (apocrine gland) ที่อยู่บริเวณรักแร้และอวัยวะเพศ ช่วงไข่ตกจะเป็นเวลาที่สัตว์เพศเมียมีปริมาณฟีโรโมนมากที่สุด หากสังเกตจะพบว่าสัตว์เหล่านี้มักไปยืนเหนือลม เพื่อล่อให้ตัวผู้ตามกลิ่นมาจนเกิดการผสมพันธุ์ ส่วนในมนุษย์นั้น บางประเทศจะมีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ ที่ผู้หญิงไม่นิยมโกนขนรักแร้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเก็บกลิ่นฟีโรโมนไว้นาน ๆ นั่นเอง



ความรัก Love

บันได 3 ขั้นของความรัก

หลง (Lust)

ปฐมบทแห่งรักที่ถูกขับเคลื่อนโดยฮอร์โมนเพศ คือเอสโตรเจนและเทสโทสเตอโรน โดยทั่วไปมนุษย์ทั้งเพศหญิงและเพศชายล้วนมีฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้อยู่ในร่างกายตามธรรมชาติ ผู้หญิงจะมีปริมาณอีสโตรเจนมากกว่าเทสโทสเตอโรน ส่วนผู้ชายจะมีปริมาณเทสโทสเตอโรนมากกว่าเอสโตรเจน เมื่อผู้หญิงได้รับความรัก ความเอาใจใส่จากผู้ชายที่เธอถูกใจ ปริมาณเอสโตรเจนในร่างกายของผู้หญิงจะค่อย ๆ ลดระดับลง เหลือเพียงเทสโทสเตอโรน

ส่วนผู้ชายที่มีความสุขกับคนที่เขารัก ปริมาณเทสโทสเตอโรนจะค่อย ๆ ลดลงจนเหลือแต่เอสโตรเจน และปริมาณฮอร์โมนที่ไม่สัมพันธ์กันนี้เอง ที่ทำให้เกิดความรักขั้นแรกที่เรียกว่า "ความหลง" ความรักระดับนี้ทำให้รู้สึกใจเต้นตึกตัก มือไม้สั่น เขินอายเมื่อเจอคนรัก

รัก (Attraction)

ขั้นที่ 2 ของความรัก เป็นช่วงที่โลกทั้งใบกลายเป็นสีชมพู ดังคำกล่าวว่าความรักทำให้คนตาบอด ความรักในขั้นนี้เกิดจากการทำงานของสารสื่อประสาท 3 ตัว ได้แก่ อะดรีนาลีน โดปามีน และเซโรโทนิน

อะดรีนาลีน ทำให้คุณตื่นเต้น หัวใจเต้นแรง แม้เพียงนึกถึงคนรัก โดปามีนและเซโรโทนิน สารแห่งความสุขที่ถูกผลิตจากต่อมพิทูอิตารีและต่อมไพเนียลที่อยู่ในสมอง เมื่อมีความรัก สารทั้งสองตัวนี้จะผสานพลังกระตุ้นความปรารถนา ทำให้คุณนอนไม่หลับ ไม่อยากอาหาร รู้สึกกระชุ่มกระชวยตลอดเวลา ราวกับได้รับสารเสพติด ซึ่งเป็นผลมาจากสารประกอบที่เรียกว่า PEA (phenylethylamine) ที่พบในสารแห่งความสุขทั้งสองชนิดนั้นเอง นอกจากนี้เรายังพบ PEA ได้ในช็อกโกแลตและสตรอเบอร์รี่อีกด้วย

ผูกพัน (Attachment)

ขั้นสูงสุดของความรัก ความผูกพันคือสายใยเชื่อมคนสองคนไว้ด้วยกัน เป็นความรู้สึกรักที่ถูกพัฒนาโดยวันเวลา สารเคมีสำคัญในสมองที่ออกฤทธิ์ในขั้นนี้ ได้แก่ ออกซิโทซิน (oxytosin) และวาโซเพรสซิน (vasopressin)

ออกซิโทซิน หรือสารแห่งความผูกพัน (Cuddling chemical) จะถูกหลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองส่วนหลังเพื่อโยงใยความรักให้แน่นแฟ้น ตามปกติออกซิโทซินจะหลั่งออกมาอัติโนมัติเมื่อถึงจุดสุดยอดและภายหลังการ คลอดบุตร เพื่อกระตุ้นให้เต้านมคัดและพร้อมให้น้ำนมไหลออกมาเป็นอาหารมื้อแรกแก่ทารก น้อย และในขณะที่ออกซิโทซินหลั่ง ผู้เป็นแม่จะบังเกิดความรัก ตื้นตันและผูกพันกับทารกอันเป็นกลไกตามธรรมชาติ

นักวิทยาศาสตร์เคยทดลองฉีดออกซิโทซินสังเคราะห์ให้แก่สตรีที่หมดความต้องการ ทางเพศ และพบว่าภายหลังที่สารตัวนี้ออกฤทธิ์ ผู้หญิงในกลุ่มทดลองดังกล่าวกลับมามีความรักกับผู้ชายได้อีกครั้ง และพร้อมที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งอีกด้วย ส่วนวาโซเพรสซิน ซึ่งตามปกติแล้วจะทำหน้าที่ควบคุมความกระหาย ก็เป็นอีกหนึ่งสารสำคัญที่ช่วยยึดโยงความผูกพันให้มั่นคง ในกระบวนการของความรัก สารนี้จะถูกหลั่งออกมาภายหลังมีเพศสัมพันธ์

และ นี่คือ "ความรัก" ในแง่มุมของวิทยาศาสตร์ ที่อธิบายผ่านทางกลไกการทำงานของสมอง แต่เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ความรักของมนุษย์จึงซับซ้อนและเกินขอบคำจำกัดความทางด้านกายภาพ การจะเข้าใจความรักอย่างลึกซึ้งได้จึงต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์เข้ามา เป็นตัวช่วย



ศาสตร์และศิลป์ของความรัก

คุณผู้หญิงทั้งหลายเคยสงสัยไหมคะว่าทำไมผู้ชายถึงต้องเจ้าชู้ คำตอบ คือ ธรรมชาติ เพราะในเกมความรักแล้ว ธรรมชาติสร้างสิ่งมีชีวิตออกมา 2 รูปแบบ คือ แบบมีคู่ครองคนเดียว (Monogamy) และแบบมีคู่ครองหลายคน (Polygamy) กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของสัตว์ปีกดำรงชีพแบบมีคู่ครองเดียว เช่น นกเงือก ส่วนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้นมีเพียง 3-5 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นที่ดำรงชีพแบบผัวเดียวเมียเดียว เช่น หนูนา หรือตัวบีเวอร์ และโชคไม่ดีนักที่ธรรมชาติกำหนดให้มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีพแบบมีคู่ ครองได้หลายคน โดยเฉพาะมนุษย์เพศชาย

แต่ทุกสิ่งย่อมมีเหตุผลในตัวของมัน สาเหตุที่ผู้ชายมีคู่ครองได้หลายคนก็เพราะผู้ชายมีอายุสั้น แม้จะมีพละกำลังมากแต่ก็ไม่อดทน ต่างกับผู้หญิงที่อายุยืน แม้จะอ่อนแอแต่ก็มีความอดทนสูง เพราะเหตุนี้หน้าที่ของผู้ชายตามธรรมชาติจึงเป็นการสืบพันธุ์ ตรรกะนี้เห็นได้ชัดเจนในสัตว์โลกชนิดอื่น ๆ นอกเหนือจากมนุษย์ ที่ตัวผู้มักจะมีรูปร่างหน้าตาสวยงามดึงดูดใจ เพื่อล่อให้เพศเมียเข้ามาผสมพันธุ์ เรียกได้ว่าตัวผู้เพียงหนึ่งตัวแต่รายล้อมด้วยตัวเมียเป็นฝูง ไม่ว่าจะเป็นเสือ สิงโต นกยูงหรือกวาง เป็นต้น

นอกจากนี้ ธรรมชาติยังให้บทเรียนแก่ผู้ชายว่าหากหลั่งสเปิร์มแล้วจะมีความสุข การได้ปลดปล่อยเทสโทสเตอโรนจะก่อให้เกิดความรัก ผู้ชายจึงไม่มีทางหยุดสัญชาตญาณนี้ได้แม้จะมีอายุมากแล้วก็ตาม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ