วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

อินเดียทำถนนจากพลาสติกรีไซเคิลกันแล้ว



นักวิจัยมหาวิทยาลัยฮินดู พาราณสี พบวิธีกำจัดถุงพลาสติก ที่กำลังเป็นขยะเกลื่อนกลาดอยู่ตามหลายชาติในขณะนี้ ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ด้วยการนำไปใช้ทำถนนที่ทนแดดทนน้ำและคงทนถาวร

ศาสตราจารย์ วิชาเคมีของมหาวิทยาลัย อาจารย์ราม อัดหาร์ สิงห์ กล่าวว่า เราสังเกตพบในการวิจัยว่า ถุงพลาสติกจะช่วยสร้างความคงทนให้กับถนนได้อย่างมหาศาล โดยกำลังจะไปขอจดสิทธิบัตรไว้อยู่

“ในการวิจัย เรานำเอาถุงพลาสติกคลุกกับน้ำมันดินแล้วไปทำให้ร้อนด้วยเครื่อง แล้วจึงนำไปผสมกับเศษหินและวัสดุอื่น สำหรับการสร้างถนน ปรากฏว่าได้ผลดี”

เท่า ที่เคยก่อสร้างกันมา ถนนที่สร้างด้วยน้ำมันดินและหินจะทรุดลงเร็วเมื่อโดนน้ำเข้าไปขัง เนื่องจากน้ำมันดินเป็นอินทรีย์สาร ไม่อาจจะเข้ากับหินซึ่งเป็นอนินทรีย์สารได้ดี พอถูกน้ำขังก็จะแตกร้าวและเกิดเป็นหลุมเป็นบ่อ

อาจารย์สิงห์อธิบาย ว่า “เมื่อถุงพลาสติกอันเป็นอินทรีย์สารตามธรรมชาติโดนความร้อน ก็จะกลายเป็นชั้นเคลือบหินเอาไว้ หินซึ่งเป็นอนินทรีย์สาร เมื่อถูกอินทรีย์สารหุ้มห่อเอาไว้ ก็จะคลุกกับน้ำมันดินเข้ากันได้ดี”

นัก วิจัยช่วยอธิบายวิธีการเสริมว่า การนำเอาถุงพลาสติก น้ำมันดินกับเศษหินมาคลุกเข้าด้วยกันนั้น จะต้องมีสัดส่วนเฉพาะ และเมื่อไปทำให้มันร้อนอุณหภูมิสูงระหว่าง 120-130 องศาเซลเซียส ถุงพลาสติกบางๆ ก็จะก่อตัวเป็นชั้นเหนือเศษหิน และจะ ป้องกันถนนไม่ให้น้ำซึมลงไป ไม่ทำให้เกิดเป็นร่องให้น้ำลงไปขังได้.

............................................................................................


ข้าง บนเป็นข่าว แนวคิดง่ายๆพลาสติกชนิดเทอโมพลาสติกจะละลายได้เมื่อโดนความร้อนระดับหนึ่ง
แต่พลาสติกที่เอามาทำได้ก็จะเป็นเฉพาะพลาสติกชนิดเทอโม เท่านั้น (thermoplastic)

ส่วนพลาสติกแบบเทอร์โมเซ็ทติ้ง (thermosetting plastic) พลาสติกชนิดนี้เมื่อหลอมตัวเป็นรูปแบบใดจะเป็นรูปแบบนั้นอย่างถาวร จะเอามาหลอมใช้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่ได้ คือหลังจากพลาสติกเย็นจนแข็งตัวแล้ว จะไม่สามารถทำให้อ่อนได้อีกโดยใช้ความร้อน หากแต่จะสลายตัวทันทีที่อุณหภูมิสูงถึงระดับ แบบพวกเมลามีนพวกนั้นแหละ



พอดีเห็นข่าว นี้ก็เลยคิดว่าพวกเศษพลาสติกหรือเศษไม้ต่างๆ หรือแม้กระทั่งโฟม ที่ร้านของเก่าไม่ยอมรับซื้อ พลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้ เอามาบดให้เป็นชิ้นเล้กๆแล้วนำมาผสมปูนร่วมกับทราย หรือใช้ผสมดินทำบ้านดินก็น่าจะดี จะเอาอะไรไปผสมก็คงแล้วแต่การใช้งาน อย่างผนังต้องการความเป็นฉนวน ก็คงผสมเศษโฟม



ข้าง บนคือเครื่องบดพลาสติก

ข้างล่างคือเครื่องย่อยไม้



เศษฟางข้าว เศษอินทรีย์สารต่างๆที่แห้งแล้ว ก็น่าจะนำมาผสมปูน ทำเป็นอิธบล็อค แบบอิธ รพช.อะไรแบบนั้นได้ที่ใช้ซีเมนต์ผสมดินแดงอัดออกมา อาจเป็นแผ่นปูพื้น อะไรแบบนี้ที่ต้องโดนแดดโดนฝน หรือพวกไม้เทียมก็ได้

อยากให้เอาไป ใช้ ดีกว่าทิ้งหรือเผา

ไปค้นๆดูปี2008 เด็ก ม.ปัตตานีก็ทำกระเบื้องยาง จากยางรถยนต์เก่า ทำให้เป็นผงแล้วผสมกับน้ำยางครับ แล้วฉีดทำเป็นกระเบื้องมุงหลังคา คล้ายๆแป้นเกล็ดทางภาคเหนือ



ถนน ในโครงการไทยเข้มแข็งก็มีการเอายางมะตอยเก่ามาบดผสมกับคอนกรีต อันนี้เข้าท่าดี ดีกว่าทิ้งเปล่าๆ

อยากให้มองขยะแล้วเอากลับมาใช้แบบที่ไม่ต้องใช้พลังงาน มาก เอาคุณสมบัติย่อยสลายยากของเค้ามาใช้

เช่นเก้าอี้สนาม หินเทียม ปะการังเทียม สะพาน ฯลฯ

ช่วยกันคิดหน่อยเน้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ