วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พระเจ้า Google...ช่วยชีวิต

พระเจ้า Google...ช่วยชีวิต
โดย : บุษกร ภู่แส


ถ้าคุณเกิดอุบัติเหตุ หรือเป็นโรคร้ายอะไรสักอย่าง หมอไม่สามารถตอบคำถามคุณได้ แต่บางที google อาจจะช่วยได้ ไม่เชื่อลองไปถามผู้หญิงคนนี้...

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ชูศรี ญาติภักดี หรือ ฝน หญิงสาวผิวขาว รูปร่างผอมบาง พี่สาวและเพื่อนรวมพลจัดทริปไปดำน้ำดูปะการังที่เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล หลังดำน้ำเสร็จกลับเข้าฝั่ง พอเห็นน้ำที่หาดลด สายตาเหลือบไปเห็นเงาปะการังหาดูยาก

คล้ายๆ มันจะโบกมือเรียก เธอจึงเดินไปดูโดยไม่รู้ว่า ใต้พื้นทรายละเอียดขาวมีปลากระเบนซ่อนตัวอยู่

ฝนรู้สึกเหมือนกับมีอะไรมา แทงเข้ามาบริเวณเหนือข้อเท้าด้านซ้าย รู้แค่ว่าเจ็บมากถึงขั้นเข่าทรุดแล้วล้มตัวลงไปนอนกับพื้นทราย ปากร้องเรียกพี่สาวและเพื่อนๆมาช่วยพยุงตัวขึ้นฝั่ง

"ตอนนั้นเดินไม่ได้ เลย คือมันเจ็บเหมือนโดนอะไรมาปักที่หัวใจ... มันเจ็บมากๆ ในชีวิตไม่เคยเจ็บแบบนี้ เรารู้เลยว่า มันต้องเป็นอะไรที่มีพิษมาก " เธอเล่าด้วยน้ำเสียงตื่นเต้น

เสียงโอดโอยของฝน และเสียงเอ็ดตะโรของพี่สาวและเพื่อนได้ผล ชาวประมงแถวนั้นมาช่วยดูบาดแผล พร้อมกับวินิจฉัยให้เสร็จสรรพว่าเป็นแผลที่เกิดจากเงี่ยงปลากระเบน

บอกจบพรรคพวกไปหยิบพาราเซ็ต ตามอล ยาแก้ปวดระงับอาการปวดไปพลางๆ ก่อนงัดตำราลูกน้ำเค็มมาช่วยกันหาทางระงับความปวดทรมานของนักท่องเที่ยวสาว พวกเขาช่วยกันขุดหลุมทรายแล้วตัดยางล้อรถจักรยานมาจุดไฟเผาให้เกิดควันจนได้ ที่ แล้วดึงขาข้างที่เป็นแผลมารมควันราวครึ่งชั่วโมง ชาวบ้านบอกว่า วิธีนี้เป็นการรีดพิษปลากระเบนทำให้ไม่ปวด ถ้าไม่ทำแบบนี้จะปวดมาก

"ขอบอกว่า ร้อนมากๆ ถึงไม่ได้โดนไฟก็ตาม ช่วงที่รักษาแบบพื้นบ้านก็กังวลเหมือนกันนะว่า มันจะเป็นอันตรายหรือเปล่า แต่ตอนนั้นไม่รู้ว่าจะทำยังไงแล้วเพราะไม่มีความรู้ " ฝนเล่าถึงช่วงพิธีกรรมย่างขารีดพิษปลากระเบนที่เธอหวังเป็นที่พึ่ง

หลังจากเอาแผลอังควันไฟ ชาวบ้านเล่าอีกว่า ก่อนหน้านี้มีคนโดนปลากระเบน เขาก็เอาขาไปจุ่มในน้ำร้อนที่แช่ใบมะขาม บอกเสร็จหันมาถามว่า เธอว่าสนใจลองดูไหม ในความคิดของฝนตอนนั้น คิดว่าทำ 2 อย่างมันคงดีเลยตัดสินใจเอาขาที่เป็นแผลไปแช่น้ำร้อนอีกไม่ต่ำกว่า 20 นาทีพอแช่เสร็จเธอรู้สึกว่า หายปวด

"ไม่รู้ว่าชาหรือเปล่านะ (หัวเราะ) ส่วนแผลมันเริ่มแดงๆ ตอนแรกบาดแผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลเท่านั้น พอเช้าตื่นขึ้นมา ขาเริ่มบวม ก็เลยถามคนแถวนั้นต่อว่าทำไงต่อดี เขาบอกว่า แถวนี้มีสถานีอนามัย อ้าว! ทำไมเพิ่งมาบอก" ฝนเล่าด้วยน้ำเสียงเซ็งๆ

พอไปถึงที่สถานีอนามัย หมอถามประวัติการรักษาเป็นอันดับแรก หลังจากฝนเล่าให้ฟัง หมอทำหน้าตกใจรีบให้กินยาแก้อักเสบ เพราะเธอยังต้องนั่งเรือต่อไปที่เกาะเหลาเหลียง จังหวัดตรัง ระหว่างนั้นเธอทายา พันแผลเอาไว้พร้อมกับกินยาแก้อักเสบ หลังจบโปรแกรมทัวร์เธอนั่งเครื่องกลับกรุงเทพฯ หลังลงจากเครื่อง ก็รีบมาหาหมอโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง

"หมอที่แผนกศัลยกรรมฉีด บาดทะยักเข็มหนึ่งแล้วให้ทานยาแก้อักเสบที่มีอยู่ให้หมดก่อน อีก 2 วันค่อยมาดูแผลแล้วเปลี่ยนยาแก้อักเสบตัวใหม่ที่แรงขึ้น"


กูเกิล หาอะไรก็เจอ!

พอวันรุ่งขึ้นตื่นขึ้นมา คนที่บ้านเห็นขาเธอบวมผิดปกติ ด้วยความกังวลเพราะไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ เลยเปิดคอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตด้วยความอยากรู้ว่า พิษของปลากระเบนเป็นอย่างไร ต้องรักษาอย่างไร มีอันตรายขนาดไหน จึงเข้าไปคีย์คำว่า "ปลากระเบน" ในกูเกิล หลังจากกดเอ็นเทอร์ รายการค้นหาพิษปลากระเบนเรียงออกมาเป็นห่างว่าว


สายตาเธอไล่ดูไปเห็นเว็บหนึ่งรายงานข่าวว่า สตีฟ เออร์วิน พิธีกรโทรทัศน์ชื่อดังของ ออสเตรเลีย ในชื่อ “นักล่าจรเข้” (Crocodile Hunter) เสียชีวิตแล้ว จากอุบัติเหตุถูกปลากระเบนแทงด้วยเงี่ยงพิษ

พออ่านแล้วยิ่งเกิดความกลัว เลยรีบคลิกเข้าไปดูรายละเอียด พบว่า ดร.ธรณ์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางทะเลให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาไว้มากมายว่า เมื่อโดนกระเบนฟาดหางต้องทำอย่างไร เธอตัดสินใจโทรไปหาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่พอดีช่วงนั้น ดร.ธรณ์ ไปสัมนาต่างประเทศยังไม่กลับ ปลายสายบอกว่าจะกลับวันพรุ่งนี้

วันรุ่งขึ้นเธอโทรไปอีก เสียงตอบกลับมากว่า ดร.ธรณ์จะเข้ามาช่วงเย็นๆ โชคดีที่คนที่รับสาย เป็นอาจารย์ภาควิชาทางทะเลเหมือนกันเธอจึงเล่าให้ฟังว่า ขาบวมมาก เพราะโดนปลากระเบนแทง ขอให้ช่วยแนะนำว่าควรไปรักษาที่ไหนดี อาจารย์จึงแนะนำให้โทรไปที่กระทรวงสาธารณสุข ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ท่านหนึ่ง พร้อมกับให้เบอร์

"โชคดีจริงๆ คนที่รับสายเขามีความเต็มใจที่จะช่วยเหลือด้วย เขาให้เจ้าหน้าที่ที่กองระบาดวิทยาชื่อ แสงโฉม ช่วยติดต่อหมอให้แล้วโทรกลับมาบอกว่า ให้โทรไปหานาวาเอกธนษวัฒน์ ชัยกุล หัวหน้ากองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน เป็นหมอที่โรงพยาบาลทหารเรือ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสัตว์ทะเลใต้น้ำ"

หลังจากที่เธอได้โทรคุยกับหมอ และขอให้เธอมาพบที่โรงพยาบาลดูแผล พร้อมกับเอายาที่กำลังรับประทานอยู่มาให้ดูด้วย

"ตอนนั้นขา บวมมากเหมือนกับว่าจะเป็นหนอง เหมือนไม่ใช่ขาคน พอหมอเห็นยาเขาบอกว่า คุณทานยานี้ไม่ได้หรอกต้องกินยาฆ่าเชื้อที่แรงกว่านี้ เพราะยาที่กินอยู่เป็นยารักษาอาการอักเสบทั่วไป ไม่ใช่ ยาฆ่าเชื้อที่เกิดจากพิษสัตว์ทะเล "

หมอผู้เชี่ยวชาญจึงเปลี่ยนยาใหม่ หลังกินได้ 2 วัน อาการบวมลดลง ต่อจากนั้นฝนก็หิ้วยาที่หมอทหารเรือไปให้หมอที่โรงพยาบาลเอกชนดู เพราะอยู่ใกล้บ้านเธอ หมอไม่ได้ว่าอะไร เพียงแต่บอกว่า ยามันแรง ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่ทำให้หมอที่โรงพยาบาลเอกชนไม่กล้าให้เพราะไม่มี ประสบการณ์จึงไม่กล้าให้ยาแรงแบบนี้

อะไรอยู่ในขา

ความทรมานของฝนไม่ได้จบลงเพียงเท่านี้ จากนั้นไม่นานแผลเริ่มอักเสบเหมือนจะมีหนองภายใน หมอที่รักษาตัดสินใจระเบิดแผลเพื่อดูว่ามีเงี่ยงปลากระเบนอยู่หรือเปล่า ด้วยการฉีดยาชาแล้วผ่าตัด แต่ไม่พบเงี่ยงปลากระเบน มีแต่หนองกับเนื้อตาย ซึ่งเกิดจากวิธีการรักษาแบบชาวบ้านที่อยู่บนเกาะ

หมอทหารเรือบอกว่า อาจเกิดจากการไปอังไฟ ไม่ใช่เกิดจากการเอาขาไปแช่น้ำร้อน เพราะถ้าเกิดจากการแช่น้ำร้อนเนื้อตายต้องเป็นทั้งขา แต่นี่เป็นเฉพาะบางส่วน จากนั้นส่งตัวให้หมอที่โรงพยาบาลเอกชนผ่าตัดเนื้อตายออกถึง 2 ครั้งทำให้บาดแผลมีขนาดใหญ่ขึ้นจากเดิมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 มิลลิเมตร กลายเป็นบาดแผลยาว 5 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว ลึกครึ่งนิ้ว

จากประสบการณ์ ฝนแนะว่า สำหรับคนโดนปลากระเบนแทงวิธีการปฐมพยาบาลที่ดีที่สุดก็คือ ควรเอาขาไปแช่ที่น้ำอุ่น โดยก่อนแช่ควรเอาขาข้างที่ปกติทดสอบดูก่อนว่าเรารับอุณหภูมิและสภาพได้ไหม แล้วค่อยเอาขาที่มีปัญหาแช่ไว้ประมาณ 30 นาที

"ขอย้ำนะว่า ไม่ใช่น้ำร้อนเป็นน้ำ อุ่น พอแช่เสร็จควรที่ไปหาหมอ ไม่ใช่เอาขาไปอังควันไฟเพราะทำให้เกิดเนื้อตาย และเชื้อโรคเข้าไปด้วย ยิ่งทำแบบทูอินวันเหมือนฝนจะหายยาก (หัวเราะอีก) หรืออีกวิธีหนึ่งที่หมอแนะนำก็คือให้เอาไดร์เป่าผมไปด้วย ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ให้ใช้ไดร์เป่าผมเป่าเพื่อให้ความร้อนมันละลายโปรตีน ที่เป็นพิษของปลากระเบนออกมา "

อีกเรื่องหนึ่งที่เธอบอกคือ ถ้าเกิดปัญหาอะไรที่หาทางแก้ไม่ได้ อินเทอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลมากมาย ยิ่งถ้าเป็นเคสที่ไม่ใช่โรคปกติ ทั่วไป หมอบางคนที่ไม่มีความชำนาญหรือประสบการณ์โดยตรง คงเป็นเรื่องปกติที่จะไม่รู้ และรักษาไปตามอาการเท่านั้น

"เราไม่ได้ โทษคุณหมอ แต่ตัวเราเองก็ต้องพยายามขนขวายช่วยตัวเองด้วย กรณีที่เป็นเคสอะไรที่ผิดปกติก็ลองโทรไปที่กระทรวงสาธารณสุข น่าจะโอเค เพราะเป็นแหล่งที่เขาจะให้ข้อมูลอะไรที่ช่วยเหลือเราได้ " หญิงสาวกล่าวก่อนขอตัวไปรักษาแผลเป็นต่อ

Google คือ ช่องทางนำไปสู่การรักษาก็จริง แต่ถ้าขาดตัวหล่อลื่นระหว่างทางอย่าง "น้ำใจ" กระบวนการรักษาก็อาจจะไม่ลุล่วง

รวมมิตร ปลามีพิษ

อันตรายจากปลา กระเบน


ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลพิษ วิทยา กระทรวงสาธารณสุขระบุถึง ปลากระเบน ว่าเป็นปลาทะเลที่มีพิษชนิดหนึ่งพบได้ในน่านน้ำไทย โดยธรรมชาติปลากระเบนไม่มี พฤติกรรมก้าวร้าว อันตรายที่มักเกิดจากการเหยียบปลากระเบนที่ฝังตัวอยู่ตามพื้นทราย หรือทรายปนโคลน



รูปร่างของหนามปลากระเบนแบบต่าง ๆ

ภาพตัดขวางของหนวดปลากระเบน แสดงเซลล์สร้างพิษหรือต่อมพิษ

ผู้ที่ถูกหนามหรือเงี่ยงปลากระเบน แผลมีลักษณะคล้ายแผลมีดบาด การที่เงี่ยงปลากระเบนมีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย เมื่อชักเงี่ยงออกจากบาดแผลทำให้แผลฉีกมากขึ้น หลังถูกตำจะมีอาการปวดเป็น ระยะๆ ต่อมาแผลจะอักเสบ บวม




นอกจากปลากระเบนแล้ว ปักเป้า เป็นปลาอีกชนิดที่มีพิษ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้จากการรับประทานเนื้อปักเป้า มักอาศัยอยู่ตามท้องทะเลที่เป็นทรายหรือทรายปนโคลน ชาวประมงจับติดมา กับอวนลากเป็นประจำ ปลาปักเป้าชนิดที่มีรายงานว่าเป็นพิษต่อผู้บริโภคและพบในน่านน้ำไทย ได้แก่ ปลาปักเป้าลาย ปักเป้าดำ เป็นต้น


ปลาปักเป้า (Family Tetrodontidae) (ก).
และ ปลาปักเป้าหนามทุเรียน (Family Diodontidae (ข))

พิษปักเป้า มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อไม่ทำงาน เกิดอาการอัมพาต ในกรณีที่ได้รับพิษจำนวนมากทำให้ระบบประสาทส่วนกลางไม่สามารถควบคุมการหายใจ และการเต้นของหัวใจจนเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้



ปลากดทะเล (Family Tachysuridae)




ปลาดุกทะเล (Family Plotosidae)

ยังมี ปลากด ทะเล เป็น ปลามีพิษคล้ายกระเบน ลำตัวมีเมือกลื่น ไม่มีเกล็ด อันตรายจากปลากลุ่มนี้เกิดจากไปสัมผัสโดนก้านครีบแข็งบริเวณครีบหลังและครีบ อก โดยเฉพาะขณะจับปลาเพื่อปลดออกจากเครื่องมือประมง เช่น เบ็ด แห หรืออวน, หรืออาจเกิดจากการไปเหยียบถูก เนื่องจากทั้งปลาดุกและปลา กดทะเลเป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามหน้าดิน และอาจมาหากินตามที่น้ำตื้นหรือปากแม่น้ำ


ลักษณะก้านครีบแข็งและต่อมพิษของปลากด ทะเล

พิษของปลา กลุ่มนี้มีผลคล้ายกับพิษของปลากระเบน เมื่อถูกตำจะเจ็บปวดทันที ปลาขนาดเล็กมีผลทำให้เจ็บปวดนานประมาณ 30 - 60 นาที ส่วนปลาขนาดใหญ่อาจมีผลทำให้เจ็บปวดนานถึง 48 ชั่วโมง และบาดแผลบวมอักเสบ

http://www.bangkokbiznews.com /home/detail/life-style/lifestyle/20100706/341426/พระเจ้า-Google...ช่วย ชีวิต.html
http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=103

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ