ปรับชีวิตให้สมดุล 20-29 วัยแห่งการบั่นทอนสุขภาพ | |
หากพูดถึงอายุ เมื่อขึ้นเลข 3 หลายคนรู้สึกเขินหรือบ่ายเบี่ยงที่จะตอบทุกครั้งที่มีคนถาม อย่างไรก็ตามลักษณะภายนอกที่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาถือเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพหรือการดำเนินชีวิตเท่าไรนักหากเปรียบกับ ความแข็งแรงของร่างกาย ช่วงอายุนี้จึงควรเน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้นและ ออกกำลังกาย เพื่อฟื้นฟูอวัยวะ ต้านความเสื่อมจากภายในสู่ภายนอก • ป้องกันโรคกระดูกพรุนก่อนวัย ภาวะมวลกระดูกสูงสุด (peakbone mass) จะหยุดอยู่ช่วงอายุ 30-35 ปี หลังจากนั้นร่างกายจะรักษาระดับมวลกระดูกไว้คงที่ จนกระทั่งอายุมากขึ้น ร่างกายจะดึงเอาแคลเซียมจากกระดูกไปใช้ ทำให้กระดูกบาง และแตกง่าย เป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุนในอนาคต ดังนั้นช่วงอายุดังกล่าวจึงควร รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก เช่น เต้าหู้ นม โยเกิร์ต ผักใบเขียวปลากระป๋องหรือปลาซาร์ดีนที่รับประทานได้ทั้งกระดูกและผลไม้ต่างๆ • เพิ่มพลังเมตาโบลิซึม เคย มีรายงานกล่าวว่าทุก 10 ปีที่อายุมากขึ้นน้ำหนักจะเพิ่มประมาณ 5 กิโลกรัม ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบเผาผลาญพลังงานของร่างกายลดประสิทธิภาพการ ทำงานลง ประกอบกับยังรับประทานอาหารปริมาณเท่าเดิมและมีวิถีชีวิตเหมือนเดิม ซึ่งหากยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ก็อาจเป็นสาเหตุของโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ดังนั้นวิธีพื้นฐานในการเพิ่มประสิทธิภาพการเผา-ผลาญพลังงานคือ รับประทานคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนอย่างพอเหมาะ ลดปริมาณไขมันลง เพิ่มผักหรือผลไม้ ในแต่ละมื้อให้มากขึ้น บางคนอาจลองรับประทานอาหารปริมาณครั้งละน้อยๆ แต่รับประทานวันละหลายๆ มื้อ เพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร และป้องกันไม่ให้รับประทานอาหารจุบจิบระหว่างมื้อใหญ่ๆ • เพิ่มพลังให้ผิวสวย ไร้ริ้วรอย ผู้หญิงวัยนี้สามารถฟื้นฟูผิวให้ดูสดใส ไร้ริ้วรอยก่อนวัยด้วยการนอนหลับให้ได้วันละ 7-8 ชั่วโมง ประกอบกับรับประทานผลไม้และผักมากๆ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินอีมาก เช่น นม ไข่ ถั่ว ผักโขม มะเขือเทศ เป็นต้น รวมถึงการ รับประทานน้ำให้ได้วัน 7-8 แก้ว เพื่อเร่งกระบวนการสร้างเซลล์ใหม่ผลัดเซลล์เก่าภายในร่างกายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ รวมถึงการทาครีมบำรุงและครีมกันแดด ควรหลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดดจ้า เพราะจะทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื่น แห้งกร้าน เป็นสาเหตุทำให้มีริ้วรอยก่อนวัย | |
ช่วง นี้ถือวัยที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการทำงานภายในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะหมดประจำเดือน (menopause) ซึ่งไม่ได้เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเท่านั้นแต่ยังมีผลกระทบ ต่ออารมณ์และจิตใจอีกด้วย • การรับมือจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เนื่อง จากเมื่อเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะหยุดการทำงาน ทำให้มีผลต่อการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆ เช่น ผิวแห้งและแพ้ง่าย เกิดอาการร้อน วูบวาบ ความดันโลหิตสูง ปวดหัวไมเกรนบ่อยๆ ช่องคลอดแห้งมีอาการคันและแสบ ภาวะนอนไม่หลับและโรคกระดูกพรุน ทั้งนี้เราสามารถรับมือกับโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วยการปรึกษาแพทย์ ขอคำแนะนำในการรับประทานฮอร์โมนทดแทนเพื่อบรรเทาอาการ ข้างต้น นอกจากนี้ยังต้องหมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ แต่ต้องมี ใยอาหาร แคลเซียมมากๆ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้กระดูกเสื่อมมากยิ่งขึ้น โดยการ รับประทานอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งประกอบด้วยเอสโตรเจนจากธรรมชาติ เช่น ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ธัญพืชและผักผลไม้ต่างๆ เป็นต้น • รับมือกับภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง เชื่อ ว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำตำหนิเมื่อเจอผู้หญิงสูงวัยที่หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวนว่า "อยู่ในภาวะหมดประจำเดือน" ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ถูกต้อง (ไม่นับนิสัยส่วนตัว) ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนต้องเผชิญเมื่อถึงวัย แต่เราสามารถควบคุมและจัดการกับอารมณ์แปรปรวนหรือความเครียดนี้ได้ โดยการหากิจกรรมที่ผ่อนคลายจิตใจ เช่น ฟังเพลงเบาๆ ท่องเที่ยวกับครอบครัว พูดคุยปรึกษากับเพื่อน เป็นต้น และที่สำคัญควรงดสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องระวังโรคร้ายอื่นๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำทุกปี | |
หลาย คนในช่วงวัยนี้ประสบภาวะโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ฯลฯ ทั้งนี้แม้ว่าจะรู้อาการของโรคและวิธีการรักษา แต่ก็ยังต้องการความดูแลเอาใจใส่ต่อสุขภาพและการควบคุมไม่ให้โรคร้ายแรงขึ้น โดยไม่ประมาท พื้นฐานของการดูแลรักษาไม่ให้โรคกำเริบหรือเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ คือ การทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด การรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะต่อโรคนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น • โรคเบาหวาน หลีก เลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง ควรเน้นผักและผลไม้ที่ไม่มีน้ำตาลมากและให้ใยอาหารสูง ไม่สวมเสื้อผ้าหรือใส่รองเท้าบีบรัดมากเกินไปและดูแลร่างกายไม่ให้เกิดบาด แผล โดยเฉพาะบริเวณเท้า หลังอาบน้ำตอนเย็นทุกวันให้ใช้กระจกส่องฝ่าเท้าเพื่อเช็คว่ามีแผลหรือไม่ หากตรวจพบว่ามีแผลให้รีบทำความสะอาดและเฝ้าระวังไม่ให้แผลรุกราม หรือให้รีบไปพบแพทย์ทันที • คอเลสตอรอลสูง หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ส่วนหนังและไขมันสัตว์ รวมถึงอาหารทะเลต่างๆ ทั้งนี้สำหรับบางคนที่ต้องรับประทานยาที่แพทย์แนะนำก็ต้องหลีกเลี่ยงอาหาร เหล่านี้ และหมั่นออกกำลังกายเพื่อช่วยการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดให้ดียิ่งขึ้น • โรคไขข้อ พยายาม ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน เพราะจะทำให้กระดูกและข้อแบกรับน้ำหนักมาก ทำให้อาการปวดยิ่งรุนแรงมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน การลุกนั่ง นอกจากนี้ควรออกกำลังกายเป็นประจำ เน้นประเภทที่ไม่กระเทือนข้อเข่า เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ รำไทเก๊ก ชิกง ฯลฯ | |
ที่มา communities.gmember.com/variety/variety_detail.php?content_id=492 ดังนั้นผู้หญิงควรเอาใจใส่ดูแลความสวยงาม และสุขภาพร่างกายไปพร้อมๆ กันโดยเริ่มตั้งแต่ยังอายุน้อยๆ ทั้งนี้หากอายุมากคิดจะกลับไปสุขภาพดีเหมือนเดิม ย่อมเป็นไปไม่ได้ เป็นสัจธรรมของธรรมชาติ อย่างไรก็ตามการดูแลตามสภาพ ของวัยอย่างเหมาะสม สามารถช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้นและมีความสุข | |
ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today |
วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ปรับชีวิตให้สมดุล ทุก 10 ปี
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ