วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ชีวประวัติ ของดร.โนงุจิ ฮิเดโยะ野口英世

ชีวประวัติ ของดร.โนงุจิ ฮิเดโยะ野口英世

ในตอนก่อนได้รวบ รวมชีวิตในวัยเยาว์รวมไปถึงการทำงานในญี่ปุ่น ของเด็กชายโนงุจิ เซซากุ หรือโนงุจิ ฮิเดโยะ ผู้ที่เติบโตมาจากชนชั้นชาวนา แต่ไม่สามารถทำนาได้เพราะมือซ้ายติดกัน เมื่อเขามีผลการเรียนดีเด่นแต่ก็ไม่สามารถเป็นครูสอนหนังสือได้ เขามุ่งมั่นที่จะเป็นหมอ แต่ด้วยมือซ้ายที่ไม่สมบูรณ์ ความยากจนและมาจากชนชั้นชาวนา โนงุจิจึงถูกปฏิบัติอย่างเฉยเมยเย็นชา จากนายแพทย์ชั้นหัวกระทิ

ด้วยหัวใจที่ มุ่งมั่นและมองไปข้างหน้า โนงุจิมาถึงที่อเมริกา ทวีปใหม่และชีวิตใหม่ของเขาได้เกิดขึ้นที่นี่ เขาได้รับทุนช่วยเหลือจากชาวอเมริกัน และได้ทำงานศึกษาวิจัยในด้านแบคทีเรียวิทยา แม้ว่าชีวิตใหม่ในอเมริกาในช่วงแรกจะไม่ราบรื่น เพราะโนงุจิมาอยู่ที่อเมริกานั้นแทบจะไม่มีอะไรเลย หนทางนั้นก็เต็มไปด้วยอุปสรรคนานับ ความรับผิดชอบ หน้าที่ และใครสักคนที่ยังคงรอคอยโนงุจิกลับมา ชิกะแม่อันเป็นที่รัก เธอยังคงรอคอยโนงุจิอยู่ที่ญี่ปุ่น

ภาพโนงุจิตอนอายุ ประมาณ16 ปี คนยืนขวามือ หลังได้รับการผ่าตัดมือซ้ายครั้งแรก



โน งุจิยังคงเขียนจดหมายถึงคุณแม่ชิกะ และเธอก็เขียนตอบเขา หากใครสักคนได้อ่านจดหมายของแม่ลูกคู่นี้ คงมิอาจกลั้นน้ำตาไว้ได้ ความประทับใจในตัวชิกะที่เธอสนับสนุนและให้กำลังใจแก่โนงุจิเสมอมา จนในที่สุดโนงุจิก็ได้รับการยอมรับในสังคมของอเมริกันและเขาได้ก้าวขึ้นสู่ นายแพทย์นักวิจัยด้านแบคทีเรียที่มีชื่อเสียงในระดับหนึ่งด้วย



โน งุจิได้ส่งเงินทองไปให้คุณแม่เมื่อเขาเริ่มตั้งตัวได้ จากนี้ชื่อเสียงและเงินทองมิใช่สิ่งที่เขาแสวงหาต่อไปแล้ว อะไรคือ “ความสุข” ตอนนี้เขากำลังแสวงหาความสุข ที่มิใช่ความสุขของตนเองเพียงผู้เดียว เขาได้เห็นคนยากจนและด้อยโอกาสล้มป่วย โดยที่ไม่ได้รับการรักษา โนงุจิจึงทำงานอย่างหนัก เพื่อคิดค้นหนทางในการรักษาและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์



หลัง จากนั้นผลงานของนายแพทย์โนงุจิ ฮิเดโยะ ก็ได้สร้างความน่าพิศวงใจให้กับนายแพทย์ท่านอื่น ด้วยวีธีการศึกษาวิจัยของเขาที่ไม่เหมือนใคร เพราะวิธีการทดลองวิจัยนั้นเป็นรูปแบบใหม่ที่เขาได้สร้างขึ้นเอง เขาได้ค้นพบเชื้อโลกหลายชนิดที่ทำให้เกิดโลกระบาดต่าง ๆ อย่างรวดเร็วติดต่อกัน ผลงานที่สร้างชื่อให้เขามีคุณูนับประการต่อโลกในปัจจุบัน เมื่อพ.ศ. 2454 เขาสามารถเพาะเชื้อสไปโรขีต spirochete pallida อันเป็นต้นเหตุของโรคซิฟิลิสได้เป็นผลสำเร็จ และจากนั้นในปี พ.ศ. 2456 เขาก็สามารถแยกเชื้อตัวนี้ออกจากผู้ป่วยโรคซิฟิลิสที่เป็นอัมพาตได้สำเร็จ ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญมากเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์การแพทย์ ต่อมาเขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกียวโต ในปี พ.ศ. 2454 และสาขาวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ในปี พ.ศ. 2457



เขา ทำงานในสถาบันวิจัยทางการแพทย์ร็อกกี้เฟลเลอร์ (The rockefeller institute for medical research) ได้ร่วมงานกับนักวิจัยชั้นนำทั่วโลก ซึ่งภายหลังนักวิจัยบางคนมีชื่อเสียงด้วยผลงาน เขาเดินทางไปสถานที่ต่างๆหลายประเทศ เรียนรู้ภาษานานาชาติไม่ว่าจะเป็นเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส และได้ทุ่มเทเวลาทั้งชีวิตให้กับการค้นคว้าวิจัย

โน งุจิในวัย 39 ปี ได้กลับมาประเทศญี่ปุ่นครั้งสุดท้ายเมื่อปีพ.ศ. 2458 เพื่อมารับรางวัลจากสมเด็จพระจักรพรรดิ (The Imperial Award) จากราชวิทยาลัยแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น สร้างความปลาบปลื้มให้กับชิกะ ผู้เป็นแม่ที่รอคอยการกลับมาของลูกชาย มาถึงจุดนี้ชีวิตโนงุจิน่าจะสุขสบายได้แล้ว เขาสามารถเป็นหมอชนบทมีโรงพยาบาลเล็กๆ ในบ้านเกิดของเขาได้ไม่ยาก แต่เขาไม่เลือกเช่นนั้น โนงุจิกลับไปบ้านเกิด เพื่อไปพบชิกะแล้วเขายังได้จารึกข้อความบนศิลาแผ่นหนึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า “ความอดทนมีรสขม แต่ผลของความอดทนมีรสหวาน” ประโยคนี้ภายหลังก็ได้สอนและเตือนใจใครได้หลายคนทั่วโลก เพราะชีวิตของโนงุจินั้นต้องใช้ความอดทนและพยายามจนเขาสามารถประสบความ สำเร็จได้ทุกวันนี้



ภาย ในบ้านของโนงุจิ ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่ท้อแท้และชื่นชนโนงุ จิ ยังมีข้อความสลักเป็นภาษาญี่ปุ่นไว้ที่เสาด้านในบ้านอีกประโยคหนึ่งว่า “ฉันจะไม่กลับมาที่บ้านเกิดหากว่าฉันยังไม่สำเร็จดังใจหวัง” นั่นเป็นข้อความที่เขาได้ทิ้งไว้เมื่อเขายังอายุราวๆ 19 ปี ก่อนมุ่งหน้าเดินทางไปโตเกียวเพื่อไปสอบเป็นหมอ

โน งุจิมิได้สนใจลาภยศใดๆ เขายังมุ่งมั่นที่จะค้นคว้าวิจัยต่อไปในสถาบันวิจัยที่อเมริกา จนในที่สุดในปีพ.ศ.2461 เขาก็สามารถค้นพบเชื้อต้นเหตุของไข้เหลือง(Yellow Fever)ที่เอกวาดอร์ (Ecuador) แน่นอนความสำเร็จชิ้นนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลต่างๆมากมาย ท่ามกลางความสำเร็จและความชื่นชมยินดีของคนรอบข้าง มีเพียงบุคคลเดียวที่มิอาจรอในความสำเร็จชิ้นนี้กับโนงุจิได้ เมื่อเขาก็ได้รับโทรเลขแจ้งมาว่า โนงูจิ ชิกะ ได้ลาจากเขาไปเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2461 รวมอายุ 65 ปี โนงุจิเสียใจมาก ระหว่างที่เขาโศกเศร้าเสียใจ ก็มีพัสดุจากญี่ปุ่นส่งมาที่สถานบันมาถึงเขา ภายในคือวิดีโอที่บันทึกภาพชิกะในขณะที่ยังแข็งแรงอยู่... นั่นยิ่งทำให้โนงุจิรู้สึกโศกเศร้าขึ้นไปอีกที่ไม่สามารถไปดูแลคุณแม่ของตน เองขณะมีชีวิตอยู่ได้ จนกระทั่งถึงจุดท่อนสุดท้ายของเทป... นั้นคือภาพก่อนที่คุณชิกะจะเสียชีวิต... อยู่ในสภาพนอนอยู่กับที่นอน และสภาพร่างกายย่ำแย่มากเต็มที ท่านเอ่ยประโยคหนึ่งว่า... "ข้างหน้า..." ก่อนที่จะสิ้นใจพร้อมกับส่งยิ้มให้...

ชีวิต ของชิกะนั้น สมบูรณ์ดีทุกอย่างแล้ว และรู้สึกว่านี่เป็นชีวิตที่มีคุณค่ามากทีเดียว เธอสามารถส่งให้ลูกชายได้ก้าวไปข้างหน้า และประสบความสำเร็จได้ แม้ว่าตนจะเป็นเพียงแค่ชาวนาที่ยากจน ..... นี่ล่ะ ชีวิตสมบูรณ์ของเธอ ความรักของแม่ที่มีต่อลูกนั้นมิอาจเปรียบเทียบกับอะไรไม่ได้ คำๆ หนึ่งที่แม่ได้มอบให้ สำหรับโนงุจินั้น คำนี้ช่างยิ่งใหญ่มากมาย

แต่ ความรักอีกด้านหนึ่งของโนงุจิ เขาได้แต่งงานกับสตรีชาวอเมริกัน เธอชื่อว่า “Mary” ความรักที่ปราศจากเงื่อนไขใดๆ แมรีเข้าใจในชีวิตที่การทำงานของโนงุจิดี ไม่ขัดขวางในการเดินทางค้นคว้า เธอคอยช่วยเหลือและคอยเป็นกำลังให้เขาตลอดเวลาการแต่งงานเกือบ 30 ปีของเขา โนงุจิผู้ที่ชอบทำงานหนักและเดินทาง จึงทำให้ทั้งสองไม่มีลูก




ภาย หลังจากที่เขาได้ค้นพบเชื้อต้นเหตุของไข้เหลือง(Yellow Fever) โนงุจิตัดสินใจอาสาสมัครเดินทางมาทวีปแอฟริกาค้นคว้าเชื้อโรคและโรคร้าย อื่นๆ เขาได้เดินทางมาถึงGlod Coast ของแอฟริกาตะวันตก หรือประเทศกาน่า(Accra, Ghana) กรุงอัคคร่าในปัจจุบัน ที่ๆ ฉันกำลังนั่งเรียบเรียงชีวประวัติของท่านโนงุจิอยู่ สายตาของฉันนั้นเหม่อมองไปบรรยากาศรอบๆ ในกรุงอัคคร่า บางครั้งฉันเองยังนั่งน้ำตาซึมในชีวิตของดร.โนงุจิ 80 กว่าปีก่อน ดร.โนงุจิเดินทางมาที่นี่ ตรงนั้น ตรงนี้ ฉันพูดได้คำเดียวว่า อัคคร่าสมัยก่อน เต็มไปด้วยอันตราย ชีวิตความเป็นอยู่ยากลำบากมาก ดร.โนงุจิเลือกที่จะมา...เพราะที่นี่คือ “แหล่งความรู้” ที่นี่คือ “แหล่งความสุข” ของดร.โนงุจิในวาระสุดท้ายของชีวิต

ดร. โนงุจิจบชีวิตด้วยโรคไข้เหลือง(Yellow Fever) เชื้อที่ท่านได้เป็นคนค้นพบเอง ในวัยเพียง 51 ปี วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ณ กรุงอัคคร่า ประเทศกาน่าในปัจจุบัน ซึ่งท่านได้ทำงานค้นคว้าจนวาระสุดท้าย แม้กระทั่งตอนป่วย โนงุจิยังทำการค้นคว้าและมีประโยคสุดท้ายเกี่ยวกับไข้เหลืองว่า “I don't understand”




ร่าง กายของโนงุจิถูกส่งกลับมาที่อเมริกา ณ. สุสานวู้ดลอว์น(Woodlawn Cemetery) ในนิวยอคร์ ที่ได้ชื่อว่าเป็นสุสานอันทรงเกียรติที่สุดสำหรับบุคคลผู้ประสบความสำเร็จ และที่หลุมศพของโนกุจิมีป้ายสลักว่า "สมาชิกแห่งสถาบันวิจัยทางการแพทย์ร็อกกี้เฟลเลอร์ ผู้อุทิศตนเพื่อวิทยาศาสตร์ มีชีวิตอยู่และจากไปเพื่อมวลมนุษยชาติ"

เขาผู้นั้นคือ ด๊อกเตอร์โนงุจิ ฮิเดโยะ 野口英世

แหล่ง ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=alei&month=07-2008&date=01&group=9&gblog=11

2 ความคิดเห็น:

  1. ผมเคยอ่านการ์ตูนเรื่องนี้ จนคิดว่าเป็นแค่การ์ตูน รู้สึกทราบซึ้งทีหลังว่า นี้คือเรืองจริง เป็นชีวประวัติที่ ดีมาก ๆ ครับ ทำให้สู้ชีวิต เห็นชีวิตที่ลำบาก เห็นคนอื่น ๆ ที่่รังเกียจเรา แต่ท้ายสุดกลับกลายเป็นกลุ่มเพื่อนที่รักเรามากที่สุด

    ตอบลบ
  2. ตอนราคาประมาฌ30-35บาท
    ยอมอดข้าวเพิ่อทีจะใด้อ่านไปรอที่แผงทุกวันจันทร
    รอรถมาส่งหนังสือ
    มันคุ้มมากๆผมเองอยากเป็นหมอแต่บ้านจนมาก
    และไม่มีพ่อแม่อยู่ลำพังบ้างอาศัยคนที่รู้จักบ้าง
    จึงเอาชีวิตรอดมาใด้..ที่สำคัณการ์ตูนเรื่องนี้สอนให้ผมไม่เอาเปรียบคนอื่นและเป็นคนดี
    นี่ผ่านมาเป็นสิบปีผมยังไม่ลืมเลย...ขอบคุณ...

    ตอบลบ

อารายเหรอ