วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ชาวจีนโพ้นทะเลผู้ไม่ชอบ คำว่า "จ่าย"



ชาวจีนโพ้นทะเลผู้ไม่ชอบคำว่า "จ่าย"




นอกเหนือจากญี่ปุ่นแล้ว ชาวเอเชียผู้กุมความมั่งมีไว้ในมือส่วนใหญ่จะได้แก่ "ชาวจีนโพ้นทะเล" ซึ่งกระจายกันเป็นเจ้าของธุรกิจตั้งแต่ในอินโดนีเซียไปจนถึงไต้หวัน ขณะที่พวกเขามีธุรกิจต่างประเภทกันและอยู่กันคนละประเทศ แต่จุดเด่นและความคล้ายคลึงของพวกเขาอยู่ที่ความเชื่อในการทำงานหนัก การลงทุนสมทบเข้าไปใหม่เสมอ และการศึกษา ซึ่งหากไม่ใช่เพื่อตัวเองก็เพื่อลูกๆ ต่อไป พวกเขาต่างก็เกลียดความฟุ่มเฟือยชอบที่จะรับหรือเก็บเข้ามามากกว่าจะจ่ายออก ไป นายธนาคารชาวตะวันตกที่เป็นที่ปรึกษาการลงทุนให้อภิมหาเศรษฐีชาวจีนโพ้นทะเล เหล่านี้เล่าว่า


"พวกเขามีความสุขกับการทำเงินก้อนมหึมาเอามากๆ

ดูเหมือนมันจะเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่สุดในชีวิตเอาเลยทีเดียว"

พวก เขาได้ชื่อว่าเป็นคนใจบุญสุนทานก็จริงแต่ถ้าเป็นเรื่องใช้จ่ายเพื่อตัวเอง แล้วก็จะกลายเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียวที่สุดในโลกก็ว่าได้ เห็นได้จากการที่ วาย.ซี หวังผู้ก่อตั้งและ CHAIRMAN ของฟอร์โมซ่า พลาสติคส์ กรุพ ที่บริจาคเงินให้โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง 250 ล้านดอลลาร์อย่างไม่เสียดาย แต่เมื่อไม่นานมานี้ที่พนักงานคนหนึ่งซื้อพรมผืนใหม่มาใช้ในราคา 1,000 ดอลลาร์เท่านั้นเขากลับโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ

เป่า จูภรรยาของหวังเล่าว่า เขาเกลียดการซื้อเสื้อผ้าที่สุด "ฉันต้องแอบซื้อมาแล้วแขวนไว้ในตู้เสื้อผ้าให้เขา" และเพราะเธออีกเช่นกันที่ยืนกรานให้เขาขึ้นเครื่องบินชั้น "เฟิร์สต์คลาส" ข้ามหาสมุทรแปชิฟิกสหรัฐอเมริกาที่มหาเศรษฐีวัย 70 ผู้นี้มีโรงงานอยู่ทั้งหมด 15 แห่งด้วยกัน…ความฟุ่มเฟือยอย่างเดียวที่หวังรู้จัก คือดื่มเบียร์ 5 แก้วหลังอาหารเย็นก่อนจะเข้านอนตอน 3 ทุ่มตรง



ลี กา-ชิง เจ้าของมูลค่าความมั่งคั่ง 2.5 พันล้านดอลลาร์จกาธุรกิจเรียลเอสเตทในฮ่องกงก็ไม่ผิดกับวาย.ซี. หวังเท่าไหร่นัก ปีที่แล้วเขาจ่ายเงิน 348 ล้านดอลลาร์เป็นค่าซื้อหุ้นในบริษัทฮัสกี้ ออยล์แห่งแคนาดาแบบไม่กระพริบตา แต่ตัวราชาเรียลเอสเตทวัย 59 เองกลับผูกนาฬิกาข้อมือราคาถูกๆ ของไซโก้ และยังอยู่บ้านหลังสองชั้นโทรมๆ ซึ่งทั้งนาฬิกากับบ้านนั้นเขาซื้อไว้กว่า 20 ปีแล้ว ลีเล่าว่า


"มาตรบานการใช้ชีวิตของผมเมื่อปี 1962 อาจจะดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็ได้

ผมว่ายิ่งมีชีวิตเรียบง่ายเท่าไรก็จะ ยิ่งสุขสบายเท่านั้น"


เขาไม่เคยซื้อคฤหาสน์ทิ้งไว้ในต่างแดนเลยสักที เดียว ทุกครั้งที่ไปติดต่อธุรกิจในต่างประเทศลี กา-ชิง ก็ยังขึ้นแท็กซี่ไปไหนมาไหนอยู่ เขาเคยสะสมหยกเป็นงานอดิเรกแต่หลังจากทำเครื่องหยกชิ้นโปรดตกแตกแล้วลี กา-ชิงก็ตัดสินใจเลิกงานอดิเรกนี้ทันที

ลี เซ็งวีแห่งสิงคโปร์ดูเหมือนจะเป็นอภิมหาเศรษฐีคนเดียวในภูมิภาคนี้ที่เป็น ทายาทรับมรดกความมั่งคั่งจากพ่อ แต่เขาเก็บตัวเงียบไม่พยายามทำตัวเป็นข่าว จนเมื่อไปเดินตามถนนแล้วคงจะมีน้อยคนนักที่จะรู้จักและจำได้ "ผมคิดว่าชอบชีวิตเงียบๆ ไม่ฟู่ฟ่ามากกว่า" เซ็งวีผู้มีอายุ 57 ปีแล้วสรุปรสนิยมของตัวเองให้ฟัง เขาเป็นทายาทเจ้าของกิจการสวนยาง ไร่สับปะรด ธนาคาร และการค้าทั้งในมาเลย์และสิงคโปร์ เมื่อจบ MBA จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ออนตาริโอในแคนาดาแล้ว ลี เซ็งวี เข้าร่วมคณะบริหารธนาคารโอเวอร์ซวี-ไชนีส แบงกิ้งคอร์ป ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว ตัวเขาเองให้การสนับสนุนการศึกษาและการแพทย์อย่างจริงจังด้วยการบริจาคเงิร ผ่านมูลนิธิของครอบครัวเพื่อเป็นทุนการศึกษาและด้านแพทย์

วาย.เค. เปา นักธุรกิจฮ่องกงวัย 68 ร่ำรวยขึ้นมาจาการเดินเรือซึ่งประมาณปี 1979 เขาได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของกองเรือบรรทุกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง คือมีเรือในครอบครอง 202 ลำและระวางบรรทุกรวม 20.5 ล้านตัน หลังจากนั้นเขาเบนเข็มไปทำธุรกิจธนาคารและเรียลเอสเตทด้วยเหตุผลว่า "เรามีไข่รวมเป็นกระจุกอยู่ในตะกร้าใบเดียวกันมากไป ครอบครัวของผมจึงอยากให้เอาเงินไปลงทุนในกิจการอื่นๆ บ้าง" และเขาโชคดีที่เลือกจังหวะได้ถูกเหมาะเหม็งที่สุด เพราะในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ที่อุตสาหกรรมเดินเรือย่ำแย่ทรุดหนักลงอย่างมากนั้น เปาก็ถอนตัวออกมาได้จนแทบไม่เดือดร้อนอะไรแล้ว

เพราะไม่มีลูกชายไว้ สืบสกุลและสืบทอดกิจการตามประเพณีชาวจีนทั่วไป วาย.เค. เปา จึงต้องหันไปพึ่งบรรดาลูกเขยหลายชาติของเขาแทน คนหนึ่งคือ ปีเตอร์ วู อดีตนายธนาคารวัย 41 ซึ่งเข้าดูแลกิจการด้านการค้าและทรัพย์สินของตระกูล ส่วนกิจการเดินเรือและสายการบินดรากอนแอร์อยู่ในความรับผิดชอบของเฮลเมท โซห์เมนทนายความชาวออสเตรเลียวัย 47 ซิน วาตะริ ลูกเขยชาวญี่ปุ่นวัย 40 ช่วยเป็นหูเป็นตาในกิจการการค้าที่โตเกียว…โซห์เมนเคยเล่าว่าการอยู่ในสภาพ ของ "ลูกเขย" ดีกว่าเป็น "ลูกชาย" เสียอีก เพราะความกดดันของการต้องทำหน้าที่ลูกชายที่ดีที่พึงมีต่อพ่อแม่นั้นน้อย กว่า

วาย.เค. เปา ลงทุนด้วยการเข้าซื้อหุ้นร่วม 15% ของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดในอังกฤษจึงได้เป็น VICE CHAIRMAN ของธนาคารแห่งนี้ เขายังมีบทบาทในการตัดสินใจครั้งสำคัญของครอบครัวอยู่ และชอบใช้เวลาอาหารเย็นที่อยู่กันพร้อมหน้าทั้งครอบครัวเป็นช่วงกำหนด ยุทธวิธีต่างๆ ซึ่งโซห์เมนให้ความเห็นว่า "เมื่อคุณทำงานให้ครอบครัวแล้วจะไม่มีคำว่าวันหยุดสุดสัปดาห์อีกต่อไป"


….เลียม ซิวเหลียง นักธุรกิจอินโดนีเซียผู้ได้ชื่อว่ามั่งคั่งที่สุดในประเทศ ให้ความสำคัญว่าการผูกมิตรถูกคนไม่เคยให้ผลเสียกับเขาเลย เลียมซึ่งขณะนี้อายุล่วงเลยมา 70 ปีแล้วเริ่มต้นชีวิตด้วยการอพยพจากฮกเกี้ยนในจีนเพื่อทำงานในบริษัทค้า มะพร้าวของลุงที่เกาะชวาตอนกลางตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิด แต่พอสงครามสงบแล้วและเลียมมองเห็นเงินญี่ปุ่นมหาศาลที่ค้าขายมาได้แต่ เหมือนเศษกระดาษหาค่าไม่ได้ในฐานะของเงินของประเทศผู้แพ้สงคราม ทำให้เขาสาบานกับตัวเองว่าต่อไปในอนาคตหากจะมีกิจการอะไรเป็นของตัวเองจะทำ ในรูปของการค้าพืชผลไม่ใช่เงินสดเด็ดขาด

เหตุการณ์สำคัญในชีวิตของ เลียม ซิวเหลียง เริ่มเมื่อเขาเป็นเพื่อนกับนายทหารชื่อ "ซูฮาร์โต้" ซึ่งเป็นผู้นำขบวนการต่อสู้เพื่อให้อินโดนีเซียเป็นเอกราชพ้นจากการเป็น เมืองขึ้นของเนเธอร์แลนด์ เลียมช่วยซูฮาร์โต้ด้วยการช่วยส่งเสบียงทั้งอาหารและยาให้กับกองทัพปลดแอก เมื่อซูฮาร์โต้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีอินโดนีเซียในเวลาต่อมา เขาตอบสนองพระคุณเพื่อนอย่างเลียม ซิวเหลียง ด้วยการให้สัมปทานสิทธิพิเศษในการทำกิจการต่างๆ มากมาย รวมทั้งการผูกขาดกิจการผลิตแป้งและซิเมนต์ นอกจากนี้เครือญาติของซูฮาร์โต้ก็เข้าไปมีผลประโยชน์ในบริษัทต่างๆ ของเลียม รวมทั้งกิจการธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศและบริษัทเฟิร์สต์ แปซิฟิค กรุพ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของธนาคารไฮเบอร์เนียในแคลิฟอร์เนีย

ในบรรดา อภิมหาเศรษฐีชาวจีนโพ้นทะเลที่เอ่ยมาทั้งหมด วาย.ซี.หวังโดดเด่นกว่าทุกคนในแง่สะสมความมั่งคั่งจากอุตสาหกรรมการผลิตขั้น พื้นฐานแทนที่จะเป็นการค้าหรือเก็งกำไรจากธุรกิจเรียลเอสเตท นอกจากนี้เขาไม่เคยมีพรรคพวกคนสนิทที่เป็นผู้มีอิทธิพลทางการเมืองเลยสกคน

ปี ที่แล้ว บริษัทพลาสติคส์ ฟอร์โมซ่า กรุพ ของเขาทำยอดขายได้กว่า 4 พันล้านดอลลาร์ และมีผลตอบแทนก่อนหักภาษีต่อเงินทุนถึง 37.5% แต่ตัวหวังเองกลับบอกว่า เขาไม่เคยคิดคำนวณความมั่งมีส่วนตัวเลย "คิดว่ามันคงไม่มากมายอะไรนัก" เขาสรุปง่าย ๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อประเมินผลประโยชน์ของครอบครัวที่มีในบริษัทผู้ผลิตพลาสติกขนาดใหญั้ง 3 แห่งในไต้หวันแล้ว ปรากฏว่า ราคาหุ้นทั้งหมดมีมูลค่าการตลาดรวมแล้วถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ วาย.ซี. หวังยังมีหุ้นในธุรกิจเรียลเอสเตท รวมทั้งคฤหาสน์ในชอร์ทฮิลส์, รัฐนิวเจอร์ซี่ด้วย…แต่คนสนิทของเขาพูดแก้ตัวให้เจ้านายว่า "ความมั่งคั่งร่ำรวยไม่ได้มีความหมายกับเขาเลย มันเป็นเพียงแค่ตัวเลขเท่านั้น"

กับวัย 70 ปีที่นักอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเริ่มถอนตัวออกจากงานเพื่อพักผ่อนหาความสุข สบายให้ชีวิตนั้น หวังยังทำหน้าที่ผู้จัดการผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยไฟและความกระตือรือร้นในการทำ งาน ทุกเช้าตรู่เขาจะตื่นขึ้นมาวิ่งจ๊อกกิ้งออกกำลังรอบ ๆ ดาดฟ้าของอพาร์ทเมนท์ที่อยู่ชั้นบนสุดของอาคารสำนักงานใหญ่ของบริษัทฟอร์โม ซ่า พลาสติคส์ ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงไทเปนครหลวงของไต้หวัน จากนั้นเขาจะใช้เวลาอีกครึ่งชั่วโมงหรือกว่านั้นเพื่อว่ายน้ำในสระ พอขึ้นจากสระก็เข้าไปนั่งคุยกับแม่ซึ่งอายุยืนถึง 100 ปีแล้ว จึงกินอาหารเช้า หลังจากนั้นก็วุ่นอยู่กับงานเอกสารบนโต๊ะ ก่อนจะลงลิฟต์มาเข้าที่ทำงานของตัวเอง

ช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับ วาย.ซี. หวัง คือ ตอนเที่ยงของทุกวัน ซึ่งไม่เคยเว้นแม้แต่วันอาทิตย์ โดยเขาจะนั่งกินอาหารเที่ยงกับบรรดาผู้จัดการของแต่ละฝ่าย ซึ่งมีทั้งหมดกว่า 100 ฝ่ายหมุนเวียนกันไป อาหารที่กินกันก็ไม่มีอะไรพิเศษเป็นอาหารกล่องธรรมดา ๆ นี่เอง แต่รสชาติดูเหมือนจะเปลี่ยนไปทุกวัน เพราะเรื่องราวที่สนทนากันบนโต๊ะอาหารเที่ยงมากกว่า ในเมื่อหวังไม่เคยเหนื่อยหน่ายกับการพูดคุยซักไซ้และตั้งคำถามเอากับบรรดา ผู้จัดการฝ่าย "เขาจะเป็นคนที่รู้ทันทีว่า เรื่องนั้นเรื่องนี้ถูกหรือผิดอย่างไร" แฮร์รี่ เอ็ม.ดี. ฮวง VICE PRESIDENT ของฝ่ายการเงินเล่า ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปอย่างราบรื่นอาหารมื้อนั้นก็จะเสร็จลงในเวลาอัน สั้น แต่ถ้าผู้จัดการฝ่ายไหนมีปัญหาก็จะถูกหวังกักตัวไว้ฝึกอบรมให้คำแนะนำครั้ง ละหลายชั่วโมงทีเดียว

วาย.ซี. หวัง ไม่เคยลืมชีวิตลำเค็ญในวัยเด็กเมื่อครั้งอยู่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ทางตอนเหนือของไต้หวันที่มีชาวบ้านไม่กี่คนเท่านั้นที่อ่านออกเขียนได้ และตัวเขาเองก็มีโอกาสเรียนจบแค่ชั้นประถมต้น แต่เขาไม่เคยลืมภาษิตจีนที่สอนว่า หากทำงานหนักและมีความเพียรพยายามอย่างสม่ำเสมอย่อมไม่มีความยากลำบากใดใน โลกนี้ที่จะเอาชนะไม่ได้ เมื่ออายุ 15 หวังเริ่มต่อสู้ชีวิตด้วยการเป็นลูกจ้างในร้านพ่อค้าขายข้าวสารกินเงินเดือน 10 ดอลลาร์ แต่หลังจากนั้นปีเดียวพ่อของเขาซึ่งเป็นพ่อค้าชาลงทุนบากหน้าเที่ยวกู้หนี้ ยืมสินทุกคนที่รู้จักรวบรวมเงินได้ 200 ดอลลาร์มาให้หนุ่มน้อยหวังทำทุนเปิดร้านขายข้าวสารของตัวเอง

จุดหัก เหของชีวิตเริ่มต้นเมื่อตอนตีสองของคืนฝนตกหนักอย่างไม่ลืมหูลืมตา เมื่อเจ้าของโรงงานแห่งหนึ่งมาตบประตูเรียกหวังเพื่อซื้อข้าวสารกระสอบหนึ่ง แล้วให้ไปส่งเดี๋ยวนั้น ซึ่งหวังต้องกัดฟันกรำฝนตัวเปียกโชกไปส่งข้าวสารเพราะเขาไม่มีเสื้อฝนใส่ เมื่อกลับถึงบ้านเขาต้องทนนอนลง ทั้ง ๆ ที่เสื้อผ้าเปียกโชกเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน มันทำให้เขาตัดสินใจว่าจะต้องหาอาชีพอื่นที่ลำบากลำบนน้อยกว่านี้ทำ

หลัง จากนั้นไม่นาน หวังหันไปเป็นเจ้าของโรงสีข้าว แต่สมัยนั้นไต้หวันยังเป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่นและหวังก็ต้องแข่งกับเจ้าของ โรงสีชาวญี่ปุ่นที่อยู่ติด ๆ กันอย่างหนัก เขาใช้วิธียืดเวลาเปิดร้านนานกว่าคู่แข่งถึง 4 ชั่วโมง คือ ปิดร้านเอาเมื่อเวลา 4 ทุ่มครึ่ง…แต่สงครามกลับเป็นตัวทำลายทุกสิ่งทุกอย่างลงสิ้น…เมื่ออเมริกัน ทิ้งระเบิด บี-29 ลงกลางเมืองทำให้อาคารเรือนไม้ทั้งเมืองถล่มพินาศ รวมทั้งโรงสีข้าวของหวังก็มอดไหม้เป็นจุณไปด้วย หลังจากนั้นเขาก็สร้างขึ้นใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม

ปี 1957 หวังก่อตั้งโรงงานผลิตพลาสติก "ฟอร์โมซ่า พลาสติคส์" ขึ้นด้วยทุนประกอบการ 500,000 ดอลลาร์ ซึ่งหากไม่มองว่าเขาทำไปเพราะความมุทะลุบ้าดีเดือดก็ต้องถือว่ากล้าบ้าบิ่น สิ้นดี เพราะสมัยนั้นมีตลาดรองรับสินค้าของเขาน้อยมาก เพราะโรงงานในไต้หวันที่มีอยู่ไม่กี่แห่งล้วนได้ซัพพลายพีวีซีจากญี่ปุ่น ซึ่งราคาถูกและมีมากพออยู่แล้ว แต่หวังจะหยุดกลางคันไม่ได้เช่นกัน "มันเหมือนคุณกำลังขี่หลังเสือ ถ้าลงมาคุณก็ถูกเสือกัดตาย คุณต้องขี่มันต่อไปเรื่อย ๆ " เขาจึงเพิ่มกำลังผลิตขึ้นอีก 6 เท่าแล้วกลายเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของตัวเองด้วยการตั้งโรงงานแห่งที่อสง คือ "นันยา พลาสติคส์" เพื่อนำสารพีวีซีจากโรงงานแรกมาผลิตเป็นท่อพลาสติก และสินค้าอื่น ๆ

ปี 1964 ที่นันยาเริ่มผลิตหนังเทียมที่จำเป็นต้องใช้ผ้าอัดประกบทางด้านหลังให้เป็น เนื้อเดียวกัน หวังรู้สึกรังเกียจไม่อยากเสียเงินนำเข้าฝ้ายราคาแพงเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุ ดิบสำคัญ เขาจึงขยายกิจการด้วยการตั้งโรงงานแห่งที่สามสำหรับผลิตเส้นใยพลาสติกของตัว เองขึ้นมา

ผลคือ หวังได้ชื่อว่า เป็นเจ้าของกิจการผู้ผลิตพีวีซีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และอาจเป็นผู้ผลิตสินค้าประเภทเส้นใยพลาสติกเพื่อการส่งออกรายใหญ่ที่สุดใน โลกด้วย ตอนนี้เขากำลังวุ่นอยู่กับการพลิกฟื้นฐานะการเงินของโรงงานที่ซื้อ จากบริษัทอเมริกันอีกต่อหนึ่ง เช่น โรงงานผลิตท่อพลาสติกที่จอห์นสแมนวิลล์ "ผมคิดว่าคนงานอเมริกันเก่งและขยันมาก จะมีปัญหาอยู่ที่การจัดการเท่านั้น"

วาย.ซี. หวัง ยืนยันหนักแน่นว่า เขาไม่เคยมีงานอดิเรก (แต่ภรรยาของเขาแทรกขึ้นมาว่า "ก็ดื่มเหล้าไง") เพราะ "ผมไม่อาจทำใจให้ปล่อยวางได้" และคำว่าปลดเกษียณก็ไม่เคยอยู่ในความคิดของเขาด้วย แม้ว่ารอบตัวของเขาจะมีแต่ทายาทผู้มีศักยภาพสูงพร้อมจะรัช่วงกิจการต่อจาก เขาไม่ว่าจะเป็นน้องชาย หรือหลานชายซึ่งเรียนจบจากอังกฤษ หรือวินสตัน ลูกชายวัย 36 ที่จบปริญญาเอกสาขาวิชาวิศวกรรมเคมีจาก IMPERIAL COLLEGE OF SCIENCE AND TECHNOLOGY ประเทศอังกฤษ เพราะหวังยังเชื่อมั่นในภาษิตชาวจีนที่กล่าวว่า ความมั่งคั่งของตระกูลจะยืนยงอยู่แค่ 3 ชั่วอายุคนเท่านั้น "เพราะคนรุ่นที่สองยังมีโอกาสได้เรียนรู้และได้รับอิทธิพลจากคนรุ่นแรงอย่าง ใกล้ชิดจึงยังรู้วิธีทำงานหนักอยู่" ไม่ต้องสงสัยเลยว่า คนรุ่นที่สองของตระกูลหวังคือรุ่นลูกของเขาเองจะทำงานหามรุ่งหามค่ำแทบไม่มี วันหยุดเหมือนพ่อ


ลี กา-ชิง




Source
:http://www.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=8152

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ