วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แวะเที่ยว วัดถ้ำปลา เชียงราย


วัดถ้ำปลา

วัดถ้ำปลา

วัดถ้ำปลา

วัดถ้ำปลา

วัดถ้ำปลา

วัดถ้ำปลา

วัดถ้ำปลา

วัดถ้ำปลา

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ข่าวสด, chiangraifocus.com

เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง … ใช่แล้วค่ะ เรากำลังเอ่ยถึงคำขวัญของจังหวัดเชียงราย จังหวัดที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย อากาศเย็นสบายตลอดปี แถมยังมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายรอให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปสัมผัส ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมก็มีอีก 1 แหล่งท่องเที่ยว ที่ใครมีโอกาสผ่านไปแถวอำเภอแม่สายก็คงไม่พลาดที่จะแวะเวียนไปเยี่ยมชม นั่นก็คือ “วัดถ้ำปลา” โอะโอ…แล้ว วัดถ้ำปลา มีความพิเศษอย่างไร ทำไมใคร ๆ ต้องอยากไปท่องเที่ยว อยากรู้ตามเราเข้าไปหาคำตอบเกี่ยวกับ วัดถ้ำปลา กันเลยค่ะ…

วัดถ้ำปลา หรือ วัดพุทธสถานถ้ำปลา ตั้งอยู่ที่บ้านถ้ำปลา หมู่ที่ 14 ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดย ถ้ำปลา มีลักษณะเป็นลำธารเล็ก ๆ ไหลออกจากใต้ภูเขาหินปูน ไหลทะลุผ่านภูเขาหลายเส้นทางโดยไหลออกทางหน้าปากถ้ำด้านทิศตะวันออกสายน้ำ เหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจาก น้ำตกห้วยเนี้ย ถ้ำนี้วัดความกว้างได้ประมาณ 2.50 เมตร ความสูงวัดจากฝั่งน้ำขึ้นไป สูงประมาณ 1.50 เมตร น้ำลึกประมาณ 0.50 เมตร และภายในถ้ำยังมีพระพุทธรูปศิลปะพม่า สร้างขึ้นโดยพระภิกษุชาวพม่า ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “พระทรงเครื่อง” เป็นที่เลื่อมใสของประชาชนในแถบนี้เป็นอย่างมาก

ในอดีตถ้ำนี้นักท่อง เที่ยวสามารถเดินเข้าไปในถ้ำได้ลึกประมาณ 10 เมตร และมักจะพบเศษกระเบื้องดินเผา (ดินขอ) สมัยโบราณไหลมาตามน้ำ นอกจากนี้ บริเวณปากน้ำยังพบก้อนหินขนาดใหญ่ 3 ก้อน และลำธารที่น้ำไหลออกมานี้มีความลึก ประมาณ 3 เมตร มี “ปลาพวงเงิน” และ “ปลาไม้หีบ” แหวกว่ายไปมา สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะในตอนเช้าตรู่ พระ สามเณร และเด็กวัดมักจะให้ข้าวเป็นอาหาร ต่อมาประมาณปี พ.ศ 2526 พระสงฆ์ที่จำพรรษา ชื่อ พระสาม ซึ่งตาบอดทั้ง 2 ข้าง ได้ปรับปรุงและบูรณะปฎิสังขรณ์ โดยขุดลอกขยายบริเวณปากถ้ำและปรับก้อนหินให้เป็นบันไดทางเข้าถ้ำ บริเวณที่ต่อเนื่องกับเปลวปล่องฟ้าซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้

วัดถ้ำปลา

วัดถ้ำปลา

ตำนาน “วัดถ้ำปลา”

มีตำนานเล่าว่า … เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์และออกบิณฑบาตที่เมืองโยนกนครไชยบุรี ศรีช้างแสน ได้ดำเนินเลียบเชิงเขามายังถ้ำแห่งหนึ่ง (ถ้ำเปลวปล่องฟ้าในปัจจุบัน) ปรากฏว่ามีชาวบ้านนำปลาหนีบไม้ปิ้งมาใส่บาตร พระพุทธเจ้าได้ทรงอธิฐานให้ปลากลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง จากนั้นได้ปล่อยลงรูเหวในถ้ำ เกิดเป็นธารน้ำไหลออกมาทางหน้าผาด้านตะวันออก จากนั้นพระพุทธเจ้าทรงนำก้อนหินปิดรูเหวที่เทน้ำลงไป และนำเส้นพระเกศาไว้ในหินให้เป็นที่สักการะบูชาของคนต่อไป จนกระทั้งราวพุทธศตวรรษที่ 15 เจ้าอุชุตราช ผู้ครองโยนกนคร ได้สถาปนาพระเจดีย์และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในถ้ำ นับแต่นั้นมาจึงเรียกกันว่า “ถ้ำปลา”

ทั้งนี้ “ถ้ำปลา” มี ลักษณะเป็นโพรงหินกว้างใหญ่ลึกเข้าไปในภูเขา อยู่ระดับต่ำกว่าพื้นดิน มีน้ำใสเย็นไหลออกมาตลอดปี ในอดีตมีปลาชุกชุมตามธรรมชาติเวียนว่ายอยู่ในแอ่งบริเวณปากถ้ำ เรียกว่า “ปลาพวงหิน” หรือ “ปลาพุง” ลักษณะรูปร่างกลมยาว มีเกล็ดตามลำตัวคล้ายปลาช่อน แต่สีออกน้ำเงินเข้ม มีแถบสีน้ำเงินพาดสีข้าง ลำตัวยาวร่วมคืบ และยังมีปลาสวยงามอีกหลายชนิด ซึ่งปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแทบไม่เหลือให้เห็น ซึ่งปัจจุบันมีผู้นำปลาสวยงามมาปล่อยเป็นจำนวนมาก เช่น ปลาดุก ปปลาคาร์ฟ ปลาไหล ปลาทับทิม ปลาเงินปลาทอง ปลาไน และ เต่า ฯลฯ

วัดถ้ำปลา

วัดถ้ำปลา

บริเวณ วัดถ้ำปลา ยังมีลิงป่าฝูงใหญ่อาศัยอยู่บนยอดเขาเหนือปากถ้ำ คนท้องถิ่นจึงเรียกชื่อวัดด้วยอารมณ์ขันว่า “วัดถ้ำลิง” ที่มักจะลงมาหาอาหารจากนักท่องเที่ยว ซึ่งลิงป่าเป็นพันธุ์ไอ้เนี๊ยะ สายพันธุ์เดียวกับลิงที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีเพียงสองแห่งในประเทศไทย นับเป็นลิงที่สมควรอนุรักษ์

วัดถ้ำปลา

วัดถ้ำปลา


ภายใน “วัดถ้ำปลา” ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมาย ดังนี้…

ถ้ำเปลวปล่องฟ้า

ถ้ำนี้ตั้งอยู่บนยอดเขามีลักษณะเป็นถ้ำทะลุสู่ท้องฟ้า แสงอาทิตย์สามารถส่องผ่านพื้นถ้ำได้ ปากถ้ำเป็นหน้าผาสองข้างร่มรื่น ภายในมีเป็นลานขนาดใหญ่ ด้านบนเป็นปล่องอากาศขนาดใหญ่ ทำให้มีแสงส่องเข้าไปในถ้ำสวยงามแปลกตา มีผู้สร้างพระพุทธรูปและเจดีย์ขนาดย่อมเอาไว้ภายในถ้ำ เล่ากันว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยพระอนุชตราชแห่งแคว้นโยนก ภายในเจดีย์บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า

การขึ้นไปชมถ้ำนี้นักท่องเที่ยวจะต้องเดินบันได ซึ่งวัดระยะทางจากทางขึ้น บันไดชั้นแรกถึงปากถ้ำ ประมาณ 180 เมตร ที่ระยะความสูง ประมาณ 90 เมตร ทางแยกซ้ายมือ นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นบันไดไปยังจุดชมวิว ซึ่งมีความสูง ประมาณ 17 เมตร เมื่อเดินลงมาจากจุดชมวิวแล้วจะเป็นทางเดินเรียบ ระยะทางประมาณ 11 เมตร จะถึงบริเวณปากถ้ำช่วงแรก ซึ่งมีช่วงกว้างที่สุดวัดได้ประมาณ 4.40 เมตร ช่วงแคบที่สุดวัดได้ประมาณ 2.50 เมตร ความสูงของถ้ำช่วงนี้วัดได้ประมาณ 1.90 เมตร ด้านบนสุดเป็นช่อง (ปล่อง) ทะลุท้องฟ้า แสงอาทิตย์สามารถลอดผ่านได้ถึง 2 ช่อง ช่องที่ 1 กว้างที่สุดอยู่ทางทิศตะวันออกวัดความกว้างได้ประมาณ 8 เมตร สูงประมาณ 15 เมตร ช่องที่ 2 อยู่ทางทิศตะวันตก วัดความกว้างได้ประมาณ 3 เมตร สูงประมาณ 20 เมตร ด้วยเหตุนี้ถ้ำนี้ ชาวบ้านจึงเรียกว่า ถ้ำเปลวปล่องฟ้า

ถ้ำกู่แก้ว

อยู่ด้านขวาของพระวิหาร เป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่และลึกที่สุดของบริเวณนี้ ทางขึ้นถ้ำเป็นบันได 29 ชั้น วัดความกว้างของปากถ้ำได้ประมาณ 4.60 เมตร ความสูงประมาณ2.16 เมตร ลึกประมาณ 509 เมตร ภายในถ้ำเป็นทางเดินที่คดเคี้ยวบางแห่งเป็นโพรงขนาดใหญ่ บางแห่งเป็นทางเดินแคบ ๆ ต้องคลานไประหว่างทางเดินจะพบหินงอก หินย้อย ที่สวยงาม ละลานตา มีน้ำหยดตลอดทางเดิน ภายในถ้ำจึงชื้นและลื่น ประมาณกึ่งกลางถ้ำจะพบหลุมโพรงหินลึก 2 หลุม ซึ่งนักท่องเที่ยวควรระมัดระวังขณะเที่ยวชมเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ จะพบหินงอกที่ก่อตัวขึ้นใหม่ของชาวบ้านที่เรียกว่า “นมสาว” และมีบ่อน้ำเล็ก ๆ ภายในถ้ำเป็นระยะ ๆ บริเวณจุดลึกที่สุด จะพบห้องพระร้อยองค์ซึ่ง พระครูบาชุ่ม ได้ปั้นไว้เมื่อครั้งที่ท่านเคยปฎิบัติกรรมฐานอยู่เรียงรายอยู่อย่างสวยงาม เป็นที่ประทับใจยิ่ง และ่ด้วยความที่ถ้ำมืดและลึก จึงต้องมีผู้ชำนาญถือไฟฉายนำเข้าไป

วัดถ้ำปลา

วัดถ้ำปลา

ถ้ำฆ้อง หรือ ถ้ำก้อง

มีลักษณะป็นโพรงลึก ทางลงต้องปีนป่ายไปตามโขดหินถึงพื้นถ้ำ วัดความกว้างของถ้ำได้ ประมาณ 4.40 เมตร สูงประมาณ 2.10 เมตร ต่อจากบริเวณนี้เดินลัดเลาะตามโขดหินไปทางทิศตะวันออก จะพบบ่อน้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า “น้ำบ่อทิพย์” ซึ่งอยู่ห่างจากบริเวณแยกประมาณ 35 เมตร และภายในบริเวณนี้วัดความกว้างของถ้ำได้ ประมาณ 6.20 เมตร ยาวประมาณ 30 เมตร หลังจากนั้นจะเป็นโพรงทะลุลงสู่หน้าผาที่ สูงชันมองเห็นทิวทัศน์บริเวณใกล้เคียงได้อย่างสวยงาม เมื่อมีเสียงดังภายในน้ำนี้ เสียงจะดังก้องทะลุออกทางโพรงด้านนี้ ชาวบ้านจึงขนานนามถ้ำนี้ว่า “ถ้ำก้อง (ฆ้อง)”

ถ้ำน้อย

มีลักษณะเป็นโพรงเล็ก ๆ มีลำธารไหลทะลุผ่าน ซึ่งมี 2 จุด จุดที่ 1 ขนาดของถ้ำกว้างประมาณ 5 เมตร บริเวณที่ลำธารไหลออกจากปากถ้ำ วัดเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 0.50 เมตร จุดที่ 2 อยู่ห่างจากจุดที่ 1 ประมาณ 20 เมตร มีธารน้ำที่ไหลออกจากถ้ำ มีลักษณะเด่น คือ ด้านหน้ามีเถาวัลย์ของสะบ้าใหญ่ (มะบ้าใหญ่) ซึ่งแต่เดิมเคยมีค่างหางยาวใช้เป็นที่อยู่อาศัยและปีนป่ายเล่น

วัดถ้ำปลา

วัดถ้ำปลา

ถ้ำเงิบ

ถ้ำนี้อยู่ห่างจาก ถ้ำน้อย ประมาณ 30 เมตร อยู่ในเขตความรับผิดชอบของหมู่ที่ 3 บ้านถ้ำ-ปลา และอยู่ในบริเวณถ้ำเสาหิน มีลักษณะเป็นหน้าผายื่นออกมา วัดความกว้างของปากถ้ำได้ประมาณ 8 เมตร สูงประมาณ 3 เมตร ลึกประมาณ 5 เมตร ส่วนใหญ่ใช้เป็นที่หลบฝนและพักผ่อนหย่อนใจ

ถ้ำวอก

อยู่ถัดจากถ้ำเงิบไปทางทิศใต้ อยู่ติดกับอ่างเก็บน้ำถ้ำเสาหิน เป็นถ้ำที่อยู่บนเนินสูง ทางเดินขึ้นค่อนข้างชัน ลักษณะเอียงประมาณ 45 องศา มีระยะทางจากสันอ่างเก็บน้ำ ถึงบริเวณถ้ำยาว ประมาณ 50 เมตร เมื่อนักท่องเที่ยวขึ้นไปถึงที่นี่จะสามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามของอ่าง เก็บน้ำฝูงปลา นก หมู่บ้านที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงตลอดจนทุ่งนาอันกว้างใหญ่ไพศาลของตำบล โป่งงาม

ถ้ำเสาหินพญานาค

เป็นถ้ำที่อยู่ปลายสุดของแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ อยู่ในความรับผิดชอบของหมู่ที่ 3 บ้านถ้ำปลา การเดินทางไปถ้ำนี้สามารถไปได้ทั้งทางน้ำและทางบก โดยการเดินลัดเลาะตามขอบอ่างเก็บน้ำทางทิศใต้ ลักษณะของถ้ำเป็นโพรงสูงขึ้นในแนวดิ่งหินงอก มีลักษณะเป็นแท่ง ๆ ซ้อนกันคล้ายเสาบ้านชาวบ้านจึงเรียกถ้ำนี้ว่า ถ้ำเสาหิน ซึ่งมีลักษณะเป็น 3 ชั้น คือ

ชั้นที่ 1 ลึกจากปากถ้ำเข้าไปประมาณ 20 เมตร มีลักษณะเป็นแท่งนี้มีทางเดินทะลุเป็นช่อง (ปล่อง) เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.50 เมตร แสงอาทิตย์สามารถทะลุผ่านได้ ทำให้มองเห็นทิวทัศน์ภายในถ้ำแห่งนี้ได้อย่างสวยงามตระการตายิ่งนัก

ชั้นที่ 2 มีลักษณะ เป็นหน้าผาสูงชัน ต้องปีนป่ายขึ้นบันไดระยะทางประมาณ 10 เมตร เป็นแท่งหินสวยงามและเด่นชัดกว่าชั้นที่ 1 ด้านทิศตะวันออก มีทางเดินสามารถทะลุผ่านเป็นทางออกของถ้ำทางหนึ่ง ซึ่งมีความกว้างประมาณ 4 เมตร

ชั้นที่ 3 สามารถปีนป่ายไปตามแง่หินขึ้นไปประมาณ 15 เมตร เป็นแท่งหินสูง ต่อจากนั้นจะเป็นเหวลึกประมาณ 40 เมตร และทางขึ้นลงชันประมาณ 80 องศา การเดินทางช่วงนี้ควรใช้อุปกรณ์ช่วยจึงจะปลอดภัย ถ้ำแห่งนี้เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบผจญภัย และท้าทายให้ไปพิสูจน์ยิ่งนัก

วัดถ้ำปลา

วัดถ้ำปลา

ถ้ำตุ๊ปู่

อยู่ถัดจาก ถ้ำกู่แก้ว ทางด้านทิศเหนือประมาณ 500 เมตร ซึ่งอยู่ในบริเวณโรงเรียนวัดถ้ำปลาวิทยาคม ซึ่งมีอยู่ 2 จุด คือ จุดที่ 1 เป็นถ้ำขนาดกว้างประมาณ 4.5 เมตร สูงประมาณ 2 เมตร ลึกประมาณ 4.80 เมตร ถ้ำแห่งนี้เคยได้รับการบูรณะให้เป็นอาศรมของพระที่ธุดงค์และจำพรรษามาก่อน จุดที่ 2 เป็นถ้ำที่ทะลุผ่านภูเขาทางทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตก หน้าถ้ำทางทิศตะวันออกประดิษฐานมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ขนาดถ้ำกว้าง ประมาณ 4.40 เมตร สูงประมาณ 2.60 เมตร ภายในถ้ำเป็นทางเดินเล็กและแคบบางแห่งสูงชัน ประกอบด้วยหินงอกหินย้อยระยิบ ระยับ สวยงามตลอด ทางเดินเมื่อทะลุถ้ำทางทิศตะวันตกจะพบทางเดินสู่ สวนสุขภาพและ สวยงาม ซึ่งคนในชุมชนใช้เดินทางออกกำลังกายในตอนเช้าและตอนเย็นทุกวัน

ถ้ำปุ่ม

ถ้ำนี้อยู่ในเขตบ้านดง หมู่ที่ 2 ตำบลโป่งงาม อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นถ้ำที่มีประเพณีประจำปีในการทำบุญในวันแรม 9 ค่ำเดือน 6 ของทุกปี ชาวบ้านเรียกประเพณี ถ้ำปุ่ม – ถ้ำปลา มีลักษณะเป็นถ้ำที่อยู่บนหน้าผาสูงจากพื้นดิน ประมาณ 30 เมตร ทางขึ้นเป็นบันได 73 ขั้น ลึกประมาณ 132 เมตร ถ้ำนี้มีลักษณะเด่น คือ บริเวณเหนือทางเดินก่อนเข้าถ้ำจะปรากฎรูปปั้นสิงห์ อายุประมาณ 200 ปี ตั้งเด่นตรงหน้าหันหน้าไปทางทิศเหนือสูงขึ้นไปประมาณ 16 เมตร นอกจากนี้ ภายในถ้ำยังมีหินงอกเป็นปุ่ม (ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) เด่นชัดชาวบ้านจึงเรียกถ้ำนี้ว่า ถ้ำปุ่ม

ภายในถ้ำยังมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ให้นักท่องเที่ยวมาสักการะบูชาด้วย เมื่อเดินเข้าไประยะประมาณ 60 เมตร จะมีทางเดิน ด้านขวามือจะพบหน้าผาสูง มีลักษณะเป็นหินย้อยติดหน้าผาติดต่อกันคล้ายน้ำตกสวยงามมาก เมื่อเดินเข้าไประยะทางประมาณ 88 เมตร จะมีทางเดินแยกทางขวามือสามารถทะลุออกทางเดินเดิมอีกด้านหนึ่งได้ในลักษณะ ครึ่งวงกลม ระหว่างทางนี้จะมีบ่อน้ำซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “บ่อน้ำทิพย์” มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เมตร เดินต่อไปอีกประมาณ 110 เมตร จะพบแนวหินย้อยเป็นริ้วติดต่อกับเกาะติดผนังถ้ำเป็นทางยาวติดต่อกันเป็นสี ขาวคล้ายน้ำตกสวยงามมากและบริเวณปลายสุดของถ้ำมีพระพุทธรูปปางสมาธิหน้าตัด กว้าง 32 นิ้ว สูง 46 นิ้ว ตั้งเด่นเป็นสง่าให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชา

วัดถ้ำปลา

วัดถ้ำปลา

การเดินทางมา “วัดถ้ำปลา”

วัดถ้ำปลา ตั้ง อยู่บริเวณบ้านถ้ำ ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย ห่างจาก อำเภอแม่สาย มาทางทิศใต้ประมาณ 13 กิโลเมตร ถ้ามาจากเชียงราย วัดถ้ำปลา จะอยู่ซ้ายมือ (บริเวณจุดตรวจบ้านถ้ำ) หากมาจาก อำเภอแม่จันมุ่งหน้าไปทาง อำเภอแม่สาย ตามทางหลวงหมายเลข 10 มีทางแยกซ้ายมือที่หลักกิโลเมตร 877-878 ปากทางเข้าเป็นตลาดบ้านถ้ำ มีป้ายบอกทางไป วัดถ้ำปลา ได้อย่างชัดเจน ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร ผ่านบ้านโป่งงาม วัดถ้ำปลา อยู่สุดถนน ถ้ำปลาอยู่ทางด้านซ้ายมือ ห่างจากลานจอดรถประมาณ 100 เมตร

ส่วน ถ้ำเปลวปล่องฟ้า อยู่ถัดจาก ถ้ำปลา ประมาณ 50 เมตร มองเห็นได้ชัดเจน ส่วนถ้ำอื่น ๆ ก็อยู่บริเวณเดียวกันกับ วัดถ้ำปลา

…แหม ๆ รู้แล้วใช่มั้ยล่ะว่าทำไมต้องแวะเที่ยว “วัดถ้ำปลา” … งั้นก็อย่ารอช้า ถ้าแวะเวียนมาเชียงราย ก็อย่าลืมไปชมความสวยงามของ “วัดถ้ำปลา” นะจ๊ะ

โดย kapook.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ