วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

ข้างหลังภาพ.....กับความจริงหลังตัวอักษร

ข้างหลังภาพ.....กับความจริงหลังตัวอักษร


วันนี้เอานวนิยายเรื่อง ข้างหลังภาพ มาปัดฝุ่น อีกครั้งค่ะ อีกแง่มุมหนึ่ง ที่คุณอาจยังไม่รู้ ...กับความจริงหลังตัวอักษร

"เธอเชื่อหรือว่า สมาคมมนุษย์จะรับรองกฎธรรมชาติ ที่เธอยกขึ้นกล่าวแก้ นพพร โปรดเชื่อฉัน เธอต้องเพียรเผชิญกับความจริง ของจริงเท่านั้นที่เป็นคำพิพากษาโชคชะตาในชีวิตเรา กฎเกณฑ์และอุดมทัศนีย์อาจงามกว่า แต่ก็มักไร้ค่าในทางปฏิบัติ"
ข้างหลังภาพ 2480- ศรีบูรพา
_______________________________________________


ผู้หญิงทุกคน (ที่ได้รับการศึกษาและการอบรมมาอย่างเหมาะสม) ย่อมรู้จักที่จะเก็บและสะกดความต้องการของตัวเองเอาไว้ภายใต้กิริยามารยาท และการวางตัวเยี่ยงสุภาพสตรี
คำพูดข้างต้นนี้อาจเรียกได้ว่า "ถูก" ในยุคสมัยหนึ่ง
แต่สำหรับผู้คนในยุคนี้ ยุคที่โลกหมุนไว ชายหญิงเท่าเทียม
เซ็กซ์ฟอร์ฟรี เซ็กซ์ฟอร์ฟัน หรือวันไนท์แสตนด์ ไม่ใช่เรื่องผิดบาป
ความรัก ไม่ได้มีมนต์ศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไป
แล้วคำพูดที่ว่ามา จะสำคัญตรงไหนกัน

แล้วสำหรับผู้หญิงบางคนที่ยืนอยู่บนรอยต่อระหว่างสังคมแบบเก่าและใหม่ล่ะ เธอควรหันหน้าไปทางไหน

มีคำกล่าววิพากษ์เอาไว้หลายแง่มุม เกี่ยวกับเรื่องราวความรักในนวนิยายเรื่องข้างหลังภาพของศรีบูรพา
บ้างก็ว่าความเป็นจุดสุดยอดของนวนิยายเล่มนี้คือ ภาษา ที่ยาก...จะหาเรื่องไหนเหมือน
บ้างก็ว่าเพราะเป็นเรื่องราวอมตะของความรักต้องห้าม ห้ามด้วยเรื่องของอายุ สถานภาพทางสังคม และฐานันดรศักดิ์
ในขณะที่กระแสวิจารณ์ในแง่มุมทางการเมืองบอกว่า ข้างหลังภาพ เป็นเรื่องที่แสดงถึงการเสื่อมสลายของสังคมชนชั้นสูง แบบที่เรียกว่าเป็น decline of aristocracy ในภาวะหนึ่ง ที่ชนชั้น "เจ้า" เป็นสถานะที่ต้องห้าม แยกตัวอยู่ในโลกของตัวเองต่างหาก ต่อมาเมื่อสังคมเปลี่ยนไป เหล่านายทุนและระบบทุนนิยมได้ครองอำนาจ ความเป็นเจ้าจึงได้ถูกลดทอนบทบาทลงไป
(หากไม่มีมูลอยู่เลย ทำไมศรีบูรพาจะต้องเขียนบทให้นพพรเป็นแค่คนชนชั้นกลางธรรมดา เป็นนักเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ เพื่อจบออกมาทำงานธนาคารและมีตำแหน่งการงานก้าวหน้าในระบบทุนนิยมด้วยเล่า)

แต่แง่มุมที่ตีความออกมาแลดูว่าสวยงามตามแต่ที่วรรณกรรมควรจะเป็น และถูกถกอย่างกว้างขวางที่สุด ก็คือเรื่องความเป็น "กุลสตรี" ในยุคสมัยนั้น
เหมือนที่บทวิจารณ์หนึ่งได้บอกเอาไว้

หม่อมราชวงศ์กีรติเป็นแบบหนึ่งของสุภาพสตรีไทยสมัยสังคมของเรา ยังอยู่ในหัวเลี้ยวระหว่าง เก่า กับ ใหม่ คือ การอบรมแบบไทย แต่การศึกษาเป็นแบบตะวันตก การศึกษาได้ปลุกใจ หม่อมราชวงศ์กีรติให้ตื่นจากความสงบแห่งความปรารถนาของมนุษย์ตามประเพณีเก่า ของเรา แต่อาศัยด้วยได้รับความอบรมศีลธรรมแบบเก่าของเราเป็นรากฐานในจิตใจ หม่อมราชวงศ์กีรติจึงเป็นสุภาพสตรีที่จริยาไม่ปล่อยให้ความปรารถนาเป็นใหญ่ ในใจในเมื่อมีโอกาสจะทำได้ (น.ประภาสถิต -- ที่มาโดยรื่นฤทัย สัจจพันธุ์)

การ เลี้ยงดูอบรมแบบเก่า สั่งสอนให้เราไม่กล้า สอนว่าเรื่องของความต้องการทางด้านร่างกายและจิตใจเป็นสิ่งน่าละอาย (เหมือนที่ผู้หญิงในประเทศหนึ่งถูกเย็บอวัยวะเพศตั้งแต่เด็กด้วยความเชื่อ ที่ว่า ความสุขในการมีกิจกรรมทางเพศนั้นเป็นสิ่งสงวนสำหรับผู้ชายเท่านั้น!)
แต่การศึกษาเปิดประตู เปิดหูเปิดตาเราออกไปสู่โลกกว้าง ให้เรามองโลกในแง่มุมแบบที่พ่อแม่เราอาจไม่เคยคิด
แต่จะมี "เรา" ซักกี่คน ที่หลุดออกมาจากยุคสมัยของคุณหญิงกีรติได้จริงๆ


มีคำถามว่า ศรีบูรพาสร้างตัวละครตัวนี้ให้เป็นตัวแทนของหญิงสาวจากชนชั้นสูงในสมัยนั้นอย่าง "จงใจ"
หรือทั้งหมดนี้เป็นเพียงปฏิกิริยาโดยธรรมชาติของศรีบูรพา ที่ลึกๆ แล้วก็เห็นด้วยเช่นกันว่าผู้หญิงที่ดีควรเป็นอย่างไร
"อุดมคติ" ของหญิงสาวที่ถูกสร้างขึ้นจึงอธิบายได้ยาก ว่าเป็นกระจกสะท้อนที่ศรีบูรพาเองก็ต้องการปลุกเร้าให้สตรีเพศกล้าทำตามความ ปรารถนาของตัวเอง หรือว่าศรีบูรพาเองก็ "บูชา" อุดมคตินี้ไปด้วยเช่นกัน

จากบท วิจารณ์ข้างต้น ระบุไว้ว่า ศรีบูรพา ได้รับแรงบันดาลใจจากการได้พบเห็นชีวิตของสตรีสูงศักดิ์แต่ยังไม่ได้แต่งงาน ท่านหนึ่ง เมื่อเห็นแล้วก็ให้รู้สึก "เห็นใจ" ถึงกับต้องเก็บเอามาเขียนเป็นนิยาย
คำว่าแต่งงาน สำหรับสาวยุคใหม่สมัยนี้ อาจไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงส่ง
แต่สำหรับคนในยุคสมัยนั้น มันคือประตูสู่อิสรภาพ ที่จะนำพาไปเจอโลกใหม่ โลกกว้าง ออกไปจากชีวิตแบบเดิมๆ "หายนะ" ของคุณหญิงกีรติจึงมาถึง เมื่อชีวิตไร้ซึ่งการแต่งงาน

อย่างไรก็ตาม จากประโยคที่ว่า "ข้าพเจ้ารู้สึกเห็นใจ" ของศรีบูรพา จึงไม่อาจพูดได้เต็มปากนักว่าตัวผู้เขียนเองสนับสนุนความคิดที่จะให้การ กระทำเตลิดเปิดเปิงไปตามใจอยาก หากแต่หยิบยกเอาตัวอย่างชีวิตลูกผู้หญิงคนหนึ่งมาเชิดชูแกมเวทนา ผ่านภาษาวิจิตรที่ทำให้การกระทำเชิงสมเพชในครั้งนี้ดูสูงส่ง และสวยงาม
เพราะต่อให้จะไม่เห็นด้วยอย่างไร ก็คงลุกขึ้นมาปฏิวัติสังคมในพริบตาเดียวไม่ได้...จึงได้แต่แสดงความเห็นใจ ผ่านตัวอักษร แต่เพียงเท่านี้

แต่ในขณะเดียวกัน ทัศนวิสัยตามประสาคนได้ไปศึกษาโลกในต่างแดนอย่างศรีบูรพา ก็ไม่ถึงกับปิดตายอยู่กับโลกเก่าเสียทีเดียว บทพูดหลายตอนของคุณหญิงกีรติจึงเน้นย้ำถึงความที่ต้องถูกกดอยู่กับจารีต ประเพณี ราวกับว่าจะ "เหน็บ" ความเป็นไปของสังคมอยู่กลายๆ ด้วยเช่นกัน

"ฉันไม่ใคร่จะได้คิดอะไรในเวลานั้น เพราะว่าเราไม่ได้ถูกอบรมให้เป็นคนช่างคิด เรามีทางที่เขากำหนดไว้ให้เดิน เราต้องเดินอยู่ในทางแคบ ๆ ตามจารีตประเพณีขนบธรรมเนียม"

______________________________________________



คุณหญิงกีรติปรารถนา "ความรัก" แต่เหนืออื่นใด เธอปรารถนาอิสรภาพที่จะทำตามใจตน ตามความต้องการของตน และความรักเท่านั้น ที่จะนำพาสิ่งเหล่านั้นมาได้

"ความรักเป็นพรอันประเสริฐ เป็นยอดปรารถนาของชีวิต ฉันก็เหมือนกับคนทั้งหลาย ย่อมปรารถนาใฝ่ฝันถึงความรักและการแต่งงาน ฉันปรารถนาที่จะพูดถึง และรู้สึกด้วยตนเองในเรื่องราวของชีวิตในโลกใหม่ ดังที่น้องสาวสองคนได้มีโอกาสเช่นนั้น ฉันปรารถนาที่จะมีบ้านของฉันเอง ที่จะติดต่อสมาคมกับโลกภายนอก ปรารถนาที่จะมีบุตรน้อย ๆ เพื่อที่ฉันจะได้หลั่งความเมตตาปรานีจากดวงใจของฉันให้แก่เขา ฉันปรารถนาที่จะให้ตัก ให้แขนของฉันเป็นประโยชน์แก่คนอื่น ยังมีความปรารถนาที่งดงามอีกหลายอย่างที่ฉันย่อมจะบรรลุได้ ถ้าเพียงแต่ฉันจะได้พบความรัก"

"ฉัน ต้องการติดต่อคุ้นเคยกับโลกภายนอก ต้องการความเปลี่ยนแปลงในชีวิต ต้องการประกอบกิจวัตรที่ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ฉันได้ทำมาแล้วตลอดเวลา ๓๔ ปีบ้าง ไม่มีอะไรจะช่วยให้ฉันบรรลุความต้องการเหล่านี้ได้ นอกจากการแต่งงาน"

หรือที่จริงแล้ว ความรัก และการแต่งงานสำหรับเธอแล้ว ไม่ใช่ทั้งหมดทั้งมวลของชีวิต ไม่ใช่สาระสำคัญ หากแต่มันคือ "ทางผ่าน" และ "ใบเบิกทาง" ที่จะนำพาเธอไปพบกับความผาสุก (เท่าที่จะมีได้ในยุคสมัยนั้น)

พูดให้เข้าใจง่ายๆ กว่าว่า ผู้หญิงสมัยนั้น หากต้องการท่องเที่ยวในต่างแดน ย่อมต้องไปกับครอบครัวและสามี ไม่สามารถเดินทางไปคนเดียวได้ และหากพวกเธอต้องการความสุขทางเพศ ก็ต้องขอความร่วมมือจาก "คนรัก" แต่เพียงเท่านั้น....

หรือที่จริงแล้ว นพพร เป็นเพียงอุดมคติทางความรัก ความปรารถนาที่คุณหญิงกีรติเพียงแต่โหยหามานาน
หาใช่ตัวตนของนพพรไม่....
แต่การวิจารณ์ในลักษณะนี้ อาจทำลายความงดงามของความรักของเธอ แบบที่ศรีบูรพาเพียรบรรจงสร้างสรรค์ขึ้นมาก็ได้ และฉันก็ไม่อยากให้มันดำเนินไปในทิศทางนั้น
ขอให้ความรักมั่นคงที่เธอสู้อุตส่าห์เก็บกดเอาไว้ภายใต้มารยาทงามและบทสนทนาอันเลี้ยวลดคดเคี้ยวคงอยู่อย่างไร้ตำหนิต่อไปเถอะ
_______________________________________________

เชื่อหรือไม่ว่าเรื่องราวเก่าคร่ำคร่า นวนิยายสุดแสนโบราณ แท้ที่จริงแล้วมันไม่ได้จางหายหรือตกยุคสมัยไปไหนเลย เพราะไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไหร่ มันก็ยังวนเวียนอยู่ในตัวของ "เรา" ทุกผู้ทุกคน


ข้อมูลจาก nyanta.exteen.com/
ที่มา

กุหลาบ สายประดิษฐ์ เขียนเรื่องนี้โดยอาศัยประสบการณ์จริงที่เคยไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2479 และจากความคุ้นเคยกับเจ้านายในราชสกุลวรวรรณ หลายพระองค์ที่เป็นพี่น้องกับ หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ เจ้าของหนังสือพิมพ์ประชาชาติรายวัน โดยเป็นที่คาดหมายกันว่าตัวละคร หม่อมราชวงศ์กีรติ น่าจะถอดแบบมาจากหม่อมเจ้าบรรเจิดวรรณวรางค์ วรวรรณ บางคนคาดว่าถอดแบบมาจากพระนางเธอลักษมีลาวัณ แต่ชนิด สายประดิษฐ์ ภริยาของผู้แต่งระบุว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

ข้าง หลังภาพ ตีพิมพ์ตอนแรกในหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ฉบับวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2479 ต่อเนื่องจนจบบทที่ 12 ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2480 ถึงตอนที่ ม.ร.ว.กีรติ ลาจากนพพรที่ท่าเรือโกเบ โดยเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ต่อมาเมื่อรวมพิมพ์ครั้งแรกโดย สำนักงานนายเทพปรีชา ศรีบูรพาได้แต่งเพิ่มอีก 7 บท รวมเป็น 19 บท โดยตอนที่แต่งขึ้นใหม่เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2486 ศรีบูรพาได้เขียนเรื่องสั้นชื่อ "นพพร-กีรติ" เป็นจดหมายรัก ที่เขียนถึงระหว่างกัน ตีพิมพ์ในหน้า 255 ถึง 273 ของหนังสือรวมเรื่องสั้น "ผาสุก" ของสำนักพิมพ์อุดม และได้นำไปรวมเล่มใน ข้างหลังภาพ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 ในเวลาต่อมา

ข้างหลังภาพ คือ นวนิยายประพันธ์โดยศรีบูรพา (หรือชื่อจริงว่า กุหลาบ สายประดิษฐ์) เริ่มตีพิมพ์เป็นตอนๆ ลงในหนังสือพิมพ์ประชาชาติรายวัน เมื่อ พ.ศ. 2479 เป็นเรื่องราวของความรักต่างวัย ต่างสถานะ นอกจากเรื่องราวที่ กินใจแล้ว ภาษาที่ใช้ในเรื่องเป็นภาษาที่งดงาม มีวลีที่เป็นที่ชื่นชอบมากมาย นวนิยายเรื่องนี้เมื่อรวมเล่มได้รับการตีพิมพ์ซ้ำถึง 39 ครั้ง ยังได้รับการยกย่องด้วย ความงามในเชิงวรรณศิลป์ และถูกนำไปแสดงเป็นละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ รวมถึงละครเวที ในรูปแบบละครเพลงอีกด้วย

วลีจากหนังสือ
  • ฉันตายโดยปราศจากคนที่รักฉัน แต่ฉันก็อิ่มใจว่า ฉันมีคนที่ฉันรัก
  • จะเป็นอะไรก็ตาม จงเป็นเสียอย่างหนึ่ง จะเป็นอะไรมิใช่ปัญหา สำคัญอยู่ที่ว่าจงเป็นอย่างดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม

ข้อมูล th.wikipedia.org

เรื่องย่อ

หม่อมราชวงศ์กีรติดำรงความเป็นสาวอยู่จนเข้าขีดความสาวทึมทึก ก็ยังไม่พบรักหรือชายที่สมควรแก่ความรักของเธอมาสู่ขอในขณะที่อายุย่างเข้าปีที่ 35 จึงมีข้าราชการชั้นพระยาอายุ 50 ปี ซึ่งเป็นพ่อหม้ายมีลูกติด 2 คนมาสู่ขอ ด้วยความหมดหวังที่จะได้พบชายที่ดีกว่านั้น และนิสัยนักศิลปะของเธอทำให้มีความต้องการจะรู้จักความเป็นไปของโลกให้กว้างกว่าที่ได้พบเห็นอยู่ในวงแคบเป็นเวลาถึง 35 ปี หม่อมราชวงศ์กีรติจึงได้ยอมแต่งงานกับเจ้าคุณผู้นั้น และแล้วก็ได้พบเห็นโลกภายนอกบ้านของเธอสมความปรารถนา เจ้าคุณสามี ( พระยาอธิการบดี ) พาเธอไปเที่ยวญี่ปุ่น ณ ที่นั้นเอง หม่อมราชวงศ์กีรติก็ได้พบกับนพพร นิสิตหนุ่มแห่งมหาวิทยาลัยริคเคียว ซึ่งเป็นบุตรชายของเพื่อนสามี และซึ่งสามีของเธอขอร้องให้ช่วยจัดหาบ้านพักและนำเที่ยวด้วยเป็นครั้งแรก

หม่อมราชวงศ์กีรติยังสาวและสวยสดชื่นอยู่ เช่นเดียวกับสุภาพสตรีสมัยใหม่ที่รู้จักบำรุงรักษาความงามแลวัยไว้ได้ ด้วยเหตุนี้ เธอจึงเป็นที่สะดุดตาสะดุดใจของนพพร เด็กหนุ่มผู้ห่างการสมาคมกับสุภาพสตรีไทยถึง 3 ปี เศษแล้วอย่างมากมาย และโดยที่ได้ติดต่อกันอยู่ตลอดเวลาที่หม่อมราชวงศ์กีรติกับสามีพักอยู่ที่ ประเทศนั้นจึงทำให้นพพรกับหม่อมราชวงศ์กีรติคุ้นกันจนถึงขีดสนิทสนม ประกอบกับได้อยู่ด้วยกันท่ามกลางภูมิภาพอันสวยงามของประเทศญี่ปุ่น และความงามความเปล่งปลั่งของหม่อมราชวงศ์กีรติเป็นสื่อชักจูงใจด้วยในที่สุด นพพรเด็กหนุ่มผู้ไม่เดียงสาในเรื่องรัก ก็เกิดความรักในหม่อมราชวงศ์กีรติขึ้น

ความ รักอันบริสุทธิ์และร้อนแรงของผู้ที่เพิ่งมีความรักเป็นครั้งแรกนี้ดูเหมือน จะทำให้หม่อมราชวงศ์กีรตินักศิลปะซึ่งไม่เคยได้พบความรักเลยรู้สึกลำบากใจ ที่จะข่มใจไว้อยู่มากเหมือนหัน แต่หม่อมราชวงศ์กีรติมีอายุมากแล้ว และทั้งได้รับการอบรมศึกษาในทางดีงามในชีวิตเบื้องต้นมาแล้ว ก็ข่มใจไว้อย่างดี จนนพพรไม่สามารถจะทราบได้ว่า หม่อมราชวงศ์กีรติรักตนหรือไม่ ครั้นแล้วทั้งสองก็จากกัน เมื่อกำหนดการเที่ยวญี่ปุ่นของพระยาอธิการบดียุติลง ความ รักของนพพรคงรบเร้าจิตใจให้กระสับกระส่ายจนถึงขีดสุด เมื่อตอนที่จากกันไปใหม่ๆครั้นแล้วก็ค่อยๆอ่อนลงตามธรรมชาติของคนที่มีภาระ ที่จะต้องใส่ใจมากกว่าความรู้สึกนี้ จนในที่สุดเมื่อสองปีล่วงไปแล้ว นพพรก็รู้สึกในกีรติอย่างมิตรคนหนึ่งเท่านั้น

6 ปี ล่วงไป นพพรสำเร็จการศึกษาและฝึกหัดงานที่ญี่ปุ่นพอสมควรแก่การแล้วก็กลับสยาม ในขณะนี้หม่อมราชวงศ์กีรติเป็นหม้ายแล้ว และบำเพ็ญชีวิตอยู่อย่างสงบเสงี่ยม เขาทั้งสองคนได้พบกันอีกครั้งหนึ่ง แต่เป็นการพบที่นพพรรู้สึกเหมือนพบพี่สาวที่ดีคนหนึ่งเท่านั้น เวลา 6 ปี ในญี่ปุ่นได้เปลี่ยนจิตใจของนพพรเด็กหนุ่มผู้อ่อนแก่ความรักให้เป็นชายหนุ่ม ญี่ปุ่นที่ไม่ใคร่จะคิดถึงใครจะคิดถึงอะไรนอกจากงานและการตั้งตัวเท่านั้น ครั้นแล้วนพพรก็แต่งงานกับคู่หมั้นที่บิดาหาไว้ไห้เมื่อครั้งยังศึกษาอยู่ใน ญี่ปุ่น เมื่อแต่งงานแล้วได้สองเดือน นพพรได้ทราบว่าหม่อมราชวงศ์กีรติได้เจ็บหนักด้วยโรควัณโรค และอยากพบเขา จนแพทย์และพยาบาลรู้สึกว่าควรจะมาตามเขาให้ไปพบ เพื่อให้คนไข้ได้สงบจิตใจในวาระสุดท้าย นพพรก็ไปเยี่ยมและหม่อมราชวงศ์กีรติก็ให้ภาพเขียนที่ระลึกถึงสถานที่ให้ กำเนิดความรักแก่เขาทั้งสอง ซึ่งเป็นภาพวาดโดยฝีมือ ของเธอเอง พร้อมด้วยคำตัดพ้อบางประโยคเป็นที่สะกิดใจนพพรให้ระลึกถึงความหลังและหวนคิด เสียดายอาลัยคนรักคนแรกของตน ครั้นแล้วหม่อมราชวงศ์กีรติสตรีผู้อาภัพในเรื่องรักก็ถึงแก่กรรมใน 7 วันต่อมา และเรื่องก็จบลงเพียงเท่านี้

ข้อคิดที่ได้จากเรื่องข้างหลังภาพ

1.ชีวิตของคนเราที่สมบูรณ์หรือดีพร้อมก็พบกับความเศร้าได้ เช่น

ชีวิตของท่านหญิงกีรติที่ดูเหมือนจะสมบูรณืหรืองามพร้อมก็พบกับความเศร้าได้ เพราะสิ่งที่เป็นจริงแท้ก็คือ สิ่งที่มีชีวิตจะต้องรู้จักเจ็บปวดเหมือนกันหมด ไม่เลือกเชื้อชาติ วรรณะ เพศ สัตว์ มนุษย์

2.ความแตกต่างระหว่างความรักที่มีสตินำ ได้แก่ความรักของคุณหญิง กับความรักที่มีอารมณ์นำ ซึ่งก็คือนพพร เช่นคำพูดที่นพพรพูดไว้ว่า ความรักมีอำนาจเหนือผม ความรักตรึงใจผม ทำให้ผมหมดสติ

3.รู้จักสถานะแห่งตนเอง เมื่อครั้นเจ้าคุณตายไป คุณหญิงก็ไม่เคยปริปากพูดตรงๆอีกเรื่องความรัก แต่จะใช้คำพูดที่มีความหมายล้ำลึกภายใน เช่น ฉันก็อิ่มใจว่าฉันมีคนที่ฉันรัก

4.หม่อมราชวงศ์กีรติเป็นแบบหนึ่งของสุภาพสตรีไทยสมัยสังคมของเรา คือไม่ปล่อยให้ความปรารถนาเป็นใหญ่ในใจเมื่อมีโอกาสจะทำได้

5.ความรักของสตรีและบุรุษนั้นต่างกัน เช่น เมื่อเวลาผ่านไป 6 ปี ความรักของนพพรก็จืดจางลงกลับกลายเป็นความรักแบบมิตร แต่คุณหญิงยังรอความรักจากนพพรตลอดมาจนสิ้นชีวิตก็ยังรัก ดังนั้นเวลารักใครจึงไม่ควรทุ่มเทให้ทั้งชีวิต ควรเผื่อใจไว้ให้ตัวเองบ้าง

6.ความ คิดค่านิยมที่ผิดๆของสังคมชั้นสูงที่วิจารณ์สถานะนักเรียนนอกที่ทุกคนพากัน คิดว่า จบจากนอกแล้วต้องเก่งกว่า ดีกว่าซึ่งเป็นความคิดที่ผิดๆ ถึงเป็นนักเรียนนอกถ้าไม่รู้จักแสวงหาโอกาสทำคุณประโยชน์ให้กับบ้านเมืองก็จะกลายเป็นคนไร้ค่า เช่น

เราจะมีวุฒิพิเศษอะไรเล่า สิทธิพิเศษอะไรที่จะไปเดินเชิดหน้าทำทีว่าเรามีวุฒิพิเศษกว่าใครๆในวงสมาคมเมืองไทย

7.การแบ่งเพศทางสังคม สังคมที่ผู้ชายเป็นผู้นำ และผู้หญิงเป็นเครื่องรองรับอารมณ์ตน ดังตอนที่คุณหญิงกล่าวเธอ จงเห็นใจฉันเถิด เราเกิดมาโดยเขากำหนดให้เป็นเครื่องประดับโลก ประโลมโลก มันเป็นหน้าที่ของเรา ยิ่งกว่านั้น บางทีคุณงามความดีของสตรีก็ถูกมองข้ามไปเลย ถ้ามิได้อยู่ในความงาม

8.ความ รับผิดชอบต่อหน้าที่ ดังเช่นการกระทำของนพพรตัดสินใจอยู่เรียนที่ญี่ปุ่นจนจบ โดยไม่ได้ตามคุณหญิงกลับมาเมืองไทยแล้วละทิ้งการเรียนที่ญี่ปุ่น

ที่มา เด็กดีดอทคอม





เพลงข้างหลังภาพ -หนู มิเตอร์ ขับร้อง

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ13 เมษายน 2561 เวลา 07:39

    สวัสดีฉัน aM clinton nancy หลังจากที่ได้มีความสัมพันธ์กับแอนเดอร์สันมานานหลายปีแล้วเขาเลิกกับฉันฉันทำทุกอย่างเพื่อให้เขากลับมาได้ แต่ทั้งหมดก็ไร้ผลฉันต้องการให้เขากลับมามากเพราะความรักที่ฉันมีต่อเขา, ฉันขอร้องเขาด้วยทุกสิ่งทุกอย่างฉันทำสัญญา แต่เขาปฏิเสธ ฉันอธิบายปัญหาของฉันกับเพื่อนของฉันและเธอบอกว่าฉันควรจะติดต่อล้อสะกดที่สามารถช่วยฉันโยนคาถาเพื่อนำเขากลับมา แต่ฉันเป็นประเภทที่ไม่เคยเชื่อในการสะกดฉันไม่มีทางเลือกกว่าที่จะลองฉัน ส่งคาถลลวงและเขาบอกผมว่าไม่มีปัญหาใด ๆ ที่ทุกอย่างจะเรียบร้อยก่อนสามวันที่อดีตของฉันจะกลับมาหาฉันก่อนสามวันเขาได้ให้การสะกดและในวันที่สองก็แปลกใจคือประมาณ 4 โมงเย็น อดีตของฉันเรียกฉันว่าฉันประหลาดใจมากฉันตอบสายและสิ่งที่เขาพูดก็คือเขาเสียใจมากสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาต้องการให้ฉันกลับไปเขาว่าเขารักฉันมาก ฉันมีความสุขมาก ๆ และไปหาเขานั่นคือสิ่งที่เราเริ่มใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขอีกครั้ง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาฉันได้สัญญาว่าใครที่ฉันรู้ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ฉันก็จะช่วยคนดังกล่าวโดยการแนะนำให้เขาเป็นครูผู้ชำเถียงในการสะกดเฉพาะที่แท้จริงและทรงพลังที่ช่วยฉันด้วยปัญหาของตัวเอง อีเมล์: drogunduspellcaster@gmail.com คุณสามารถส่งอีเมลถึงเขาได้หากคุณต้องการความช่วยเหลือในความสัมพันธ์หรือกรณีอื่น ๆ

    1) รักคาถา
    2) Lost Love Spells
    3) การหย่าร้าง
    4) เวทมนตร์สมรส
    5) มัดสะกด
    6) คาถา Breakup
    7) ขับไล่คนที่ผ่านมา
    8. ) คุณต้องการได้รับการเลื่อนตำแหน่งในการสะกดของสำนักงาน / สลากกินแบ่งของคุณ
    9) ต้องการที่จะตอบสนองความรักของคุณ
    ติดต่อคนที่ยิ่งใหญ่นี้หากคุณมีปัญหาใด ๆ สำหรับโซลูชันที่ยั่งยืน
    ผ่าน DR ODOGBO34@GMAIL.COM

    ตอบลบ

อารายเหรอ