วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

count down และดูปรากฏการณ์พระจันทร์สีน้ำเงิน (Blue moon) กัน

count down และดูปรากฏการณ์พระจันทร์สีน้ำเงิน (Blue moon) กัน

พระจันทร์สีน้ำเงิน - blue moon



ใน คืนวันส่งท้ายปีเก่า 2552 ต้อนรับปีใหม่ 2553 ปีนี้ เราจะได้พบกับ “ปรากฏการณ์พระจันทร์สีน้ำเงิน” (Blue moon) หลังจาก count down กันด้วย แหม…ฟังชื่อแล้วโรแมนติคจัง ^^



ไม่ แน่ใจว่าตัวเองเคยได้ยินชื่อ Blue moon หรือเปล่า แต่ถึงจะเคยได้ยินก็ไม่มีข้อมูลอะไรอยู่ในหัวแล้วล่ะ ก็เลยต้องไปหาข้อมูลมาประดับความสงสัยกันซะหน่อย ฮ่า :P ค้นไปค้นมาก็เลยถือโอกาสเรียบเรียงและบันทึกเก็บเอาไว้ซะด้วยเลย ^^



อะไรคือปรากฏการณ์พระจันทร์สีน้ำเงิน (Blue moon)



เรา รู้ๆ กันอยู่แล้วว่าพระจันทร์นั้นมีข้างขึ้น-ข้างแรม (The Moon’s Phases) ข้างขึ้นก็คือพระจันทร์จากมืดสุดจะค่อยๆ สว่างขึ้นจนเต็มดวงที่สุดในวันขึ้น 15 ค่ำ และจะค่อยๆ เว้าแหว่งมืดลงในข้างแรม จนดับมืดสุดในวันแรม 15 ค่ำ



ดัง นั้นในแต่ละเดือน เราจะเห็นพระจันทร์เต็มดวงเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้นเอง (เลยทำให้มนูษย์หมาป่า มีเวลาได้แปลงร่างออกมาเดินเพ่นพ่านได้เดือนละหน :P)



ปรากฏการณ์ ข้างขึ้น-ข้างแรมนั้นเกิดจากพระจันทร์หมุนโคจรรอบโลก เนื่องจากพระจันทร์นั้นไม่มีแสงในตัวเอง การที่เราเห็นแสงจันทร์นั้นเพราะพระจันทร์สะท้อนแสงของพระอาทิตย์มาเข้าตา ของเรา ดังนั้นในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์เคลื่อนไปอยู่กลางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ เราจึงมองไม่เห็นแสงสะท้อนนั้น ทำให้เห็นเป็นเดือนดับ และเมื่อดวงจันทร์โคจรไปอยู่ด้านหลังของโลก จะได้รับแสงสะท้อนจากพระอาทิตย์เต็มๆ ดวง เลยทำให้เห็นเป็นจันทร์เพ็ญพระจันทร์เต็มดวงนั่นเอง



อาจจะงงๆ ว่ามันเหมือนกับการเกิดสุริยคราสและจันทรคราสนะ ไปหาอ่านเพิ่มเติมกันเอาเองละกัน เรื่องข้างขึ้นข้างแรม :P



ที นี้การที่พระจันทร์หมุนโคจรรอบโลก 1 รอบที่เรานับเป็น 1 เดือนนั้น ที่จริงแล้วพระจันทร์ใช้เวลาประมาณ 29.53 วันต่อรอบ ดังนั้นเมื่อเราใช้ปฏิทินแบบสุริยคติ ที่เดือนหนึ่งมี 30-31 วัน จึงเกิดการเหลื่อมของเวลาขึ้น โดยเฉลี่ยอยู่ที่ราวๆ สองปีครึ่งเราก็จะพบกับเดือนที่มีจันทร์เพ็ญ 2 ครั้งคือช่วงต้นเดือนกับช่วงปลายเดือน เราเรียกจันทร์เพ็ญครั้งที่ 2 ในรอบเดือนนั้นว่า “ปรากฏการณ์พระจันทร์สีน้ำเงิน” (Blue moon) นั่นเอง



และ รู้ไหมว่าในทุกๆ 19 ปี จะมีปรากฏการณ์พระจันทร์สีน้ำเงิน 2 ครั้งซ้อนใน 1 ปี ครั้งที่ผ่านมาคือ ค.ศ.1999 (พ.ศ.2542) รอบต่อไปก็คือปี ค.ศ.2018 (พ.ศ.2561) รอไปอีก 9 ปีแน่ะ ^^'



แถมอีกนิดว่าทุกๆ 20 ปี ปรากฏการณ์พระจันทร์สีน้ำเงิน จะตรงกับวันส่งท้ายปีเก่า (New Year’s Eve) ซึ่งตรงกับปีนี้พอดี :)



พระจันทร์สีน้ำเงิน - blue moon



ทำไมถึงเรียกว่า พระจันทร์สีน้ำเงิน (Blue moon)



หลายๆ คนก็อาจจะแปลกใจว่าการที่เห็นพระจันทร์ครั้งที่สองในรอบเดือนนั้น มันจะทำให้พระจันทร์เป็นสีนำ้เงินได้ยังไง ที่จริงแล้วปรากฏการณ์พระจันทร์สีน้ำเงิน (Blue moon) ไม่ได้หมายถึงว่าเรามองเห็นพระจันทร์เป็นสีน้ำเงินหรอกนะ ยังคงมองเห็นเป็นสีเหลืองนวลเหมือนเดิมนั่นแหละ สาเหตุที่เรียกว่า blue moon นั้นพอคุ้ยหาข้อมูลไปเรื่อยๆ กลายเป็นว่ายิ่งอ่านก็ยิ่งมึน ^^' เอาเป็นว่าไปหาอ่านกันเอาเองละกัน :P



แล้วจะ เป็นไปได้ไหมที่จะมองเห็นพระจันทร์เป็นสีน้ำเงิน? ก็เหมือนกับการที่เราเห็นพระอาทิตย์เป็นสีแดง ส้ม แสด ขาว นั่นแหละ เราอาจเห็นพระจันทร์เป็นสีน้ำเงินได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น มุมมองของชั้นบรรยากาศในแต่ละช่วงเวลา, ฝุ่นควันในชั้นอากาศ จากเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดหรือไฟไหม้ป่า เป็นต้น



พระจันทร์สีน้ำเงิน - blue moon



Count down ส่งท้ายปี 2552 แล้วมาชมพระจันทร์สีน้ำเงินกัน



ประเทศ ทางแถบสหรัฐและยุโรปจะเห็นจันทร์เพ็ญพร้อมๆ กับปรากฏการณ์ “จันทรุปราคาเงามัว” ดวงจันทร์จะเริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก ตั้งแต่เวลา 00.15 น. ของวันที่ 1 มกราคม 2553 และจะเข้าสู่เงามืดในเวลา 1.51 น. และจะถูกบังมากที่สุดเมื่อเวลา 2.22 น. จากนั้นอีกราว 2 ชั่วโมงก็จะออกจากเงามัวของโลก และลับหายไปในเวลา 6.57 น. แต่ว่าจันทรคราสรอบนี้ จะเงาโลกจะบังดวงจันทร์เพียงแค่ราวๆ 7-8% ซึ่งจะเห็นพระจันทร์แหว่งไปเล็กน้อยเท่านั้นเอง



เนื่อง จากเวลาไทยเร็วกว่าทางนั้น วันสิ้นปีของเราพระจันทร์เลยยังไม่เต็มดวงทีเดียวนัก แต่พอกล้อมแกล้มไปได้ล่ะน่า :P ไป count down แล้วชมพระจันทร์ไปด้วยก็โรแมนติคดีออก (แต่อย่าไปแถวๆ ยุงบินชุมหรือมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ละกัน :P)



พระจันทร์



ข้อมูลเพิ่มเติม





ที่มาของภาพ




  • http://tales-details.blogspot.com/2009/06/lovers-moom-blue-moon-love-story.html

  • http://www.nasa.gov/multimedia/imagegallery/imagefeature290_prt.htm

  • http://apod.nasa.gov/apod/ap040731.html

  • http://homertribune.com/2009/12/lunar-event-happens-‘once in a blue moon’



บันทึกแถมพก

- ตอนนี้เรากำลังมองพระจันทร์ดวงเดียวกันอยู่ใช่ไหมคะ? « ใช่แล้วล่ะ เรากำลังมองพระจันทร์ดวงเดียวกันอยู่

- ทำไมเวลาผ่านไปตั้งนานแล้ว เราก็ยังมองเห็นรูปกระต่ายบนดวงจันทร์อยู่ล่ะคะ « เอ่อ อันนี้พี่ก็ไม่ทราบ พี่มองไม่ค่อยเห็นอ่ะ พี่สายตาสั้น



พระจันทร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ