วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เปิดกรุคลังแผ่นเสียงใหญ่ที่สุดในโลก (3 ล้านแผ่น)


สำหรับเซียนแผ่นเสียงทั้งหลาย คงจะชาชินกับคำว่า "โอ้โห เปิดร้านขายได้เลยน่ะเนี่ย" แต่สำหรับนาย "พอล มาวินนีย์" เขาไปไกลกว่าความหมายนั้นหลายหมื่นโยชน์ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าการจะนำสมบัติที่เป็นของสะสมชั่วชีวิตของเขาออกขาย การหาผู้ซื้อกลับไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด แม้จะลดลงจากมูลค่าจริงกว่า 10 เท่าแล้วก็ตาม

ย้อนกลับไปเมื่อปี 1951 สมัยที่ พอล มาวินนีย์ อายุได้ 12 ขวบ กับแผ่นเสียงแผ่นแรกผลงานของ แฟรงกี เลน ชุด Jezebel ที่เขาได้มาครอบครอง นับแต่วันนั้นงานสะสมแผ่นเสียงก็ได้กลายเป็นทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตของเขา ผลงานแผ่นเสียงทั้งหมดที่จำหน่ายในสหรัฐฯ ได้กลายเป็นสมบัติของเขาเกือบทั้งหมด จนมาเป็นงานสะสมแผ่นเสียงจำนวน 3 ล้านแผ่นที่ถูกจัดเรียงลำดับอักษรเอาไว้อย่างดีที่โกดังในพิตสเบิร์กของเขา ที่ได้ชื่อว่าเป็นคลังเสียงเพลงที่อลังการที่สุดในโลก และยังเติบโตขึ้นทุกๆ วัน

มาวินนีย์ที่ยังเป็นเจ้าของร้านแผ่นเสียง RecordRama มากว่า 40 ปีและปิดตัวลงไปเมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ได้ตัดสินใจขายผลงานสะสมมูลค่ากว่า 50 ล้านเหรียญของเขาในการประมูลราคาเพียง 3 ล้านเหรียญ (แต่สุดท้ายผู้ชนะประมูลได้ก็ไม่ได้มาซื้อ) เนื่องจากความต้องการเงินในสภาพเศรษฐกิจในช่วงปีที่ผ่านมานี้

"ทั้งปัญหาเรื่องสุขภาพและโรคเบาหวาน และยังมีลูกๆ อีก 3 คน แต่เหตุผลสำคัญที่ผมต้องการขายมันก็คือต้องการหาบ้านที่คู่ควรให้กับประวัติ ศาสตร์แห่งดนตรีชิ้นนี้" นายพอล มาวินนีย์วัย 69 เปิดใจ

RecordRama Archive คือชื่อเรียกโกดักเก็บแผ่นเสียงจำนวนนับล้านของเขา บนเนื้อที่กว่า 16,400 ตารางฟุต ที่ถูกสร้างขึ้นในปี 1968 ในตอนที่เขาเป็นเจ้าของแผ่นไปได้ 160,000 แล้ว จนเข้าสู่กลางยุค 70 ที่เขาเริ่มจัดหมวดหมู่งานสะสมชิ้นโตของเขาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้เขาเปลี่ยนตัวเองจากนักสะสมธรรมดากลายเป็นผู้บุกเบิกในงานด้านการจัด เก็บแผ่นเสียงโดยเฉพาะ

"ผมได้สร้างฐานข้อมูลที่เรียกว่า Music Master ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่มหึมาที่สุดสำหรับดนตรีร่วมสมัย" รวมไปถึงงานออกแบบชั้นสำหรับวางแผ่นเสียงโดยเฉพาะ ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้กับที่อยู่ของเพลงกว่า 6 ล้านเพลง ที่ชื่อเพลงถูกจัดเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพียงแค่ใส่ชื่อเพลงที่ต้องการมันจะพาไปยังแผ่นเสียงที่อยู่บนชั้นต่างๆ อย่างชัดเจน

จากผลวิจัยของหอสมุดแห่งชาติของสหรัฐฯ ได้ประมาณการณ์ว่า 87% ของบทเพลงในครอบครองของมาวินนีย์ไม่สามารถหาได้ทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งเพชรน้ำเอกในงานสะสมตลอดชีวิตของเขามีทั้งผลงานหายากของวง Rolling Stones ที่ไม่เคยวางจำหน่ายมาก่อน ที่ผลิตออกมาเพียง 300 ชุดโดยค่ายเพลง London Records เพื่อการโปรโมทเท่านั้น และมีมูลค่าในปัจจุบันถึง 8,000 เหรียญ

เขายังเป็นเจ้าของงานบันทึกเสียงของอดีตประธานาธิบดี ธี โอดอร์ รูสเวลต์ ในปี 1881 ซึ่งแผ่นเสียงแผ่นเรียบที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเจ้าของ Joshua แผ่นเสียง 15 ผลงานเพื่อการโปรโมทของ เอลวิส เพรสลีย์ ที่ไม่มีวางจำหน่าย และซิงเกิลหายากอีกนับร้อยของ บ็อบ ดีแลน และ Beatles

ในช่วงหลายปีของงานสะสม มาวินนีย์มีส่วนช่วยในการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของวงการเพลงร็อก เขาเป็นคนชุบชีวิตอาชีพนักดนตรีให้กับ เดวิด โบวี ด้วยการกดดันค่ายเพลง RCA ให้ส่งผลงานอัลบั้มที่มีเพลงที่ต่อมาจะเป็นตำนานอย่าง Space Oddity

"พวกผู้ผลิตก็ยังไม่เข้าใจสิ่งที่ผมทำอยู่ดี หลายครั้งที่พวกเขาไม่มีแม้แต่แผ่นเสียงศิลปินที่อยู่ในค่ายของตัวเอง ทั้ง RCA, Columbia, Rhino และพอเขาต้องการจะนำแผ่นมาปั้มใหม่เป็นซีดี พวกเขาก็วิ่งมาหาผมเพื่อขอทำมาสเตอร์ ไม่มีใครที่สะสมอย่างที่ผมทำ"

รวมทั้งความเห็นส่วนตัวในการเป็นปรปักษ์ต่อบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เข้ามา เป็นพี่เบิ้มในตลาดค้าปลีกของวงการเพลงในสหรัฐฯขณะนี้ ซึ่งในความเห็นของเขาคิดว่าการที่ค่ายเพลงผู้จัดจำหน่ายร่วมมือกับบรรดา ยักษ์ใหญ่อย่างร้านประเภท Best Buy และ Wal-Mart

คอลเล็กชั่นของมาวินนีย์ถือเป็นสมบัติในฝันเกินเอื้อมสำหรับแฟนเพลง ทั้งหลาย แต่อาจจะไม่ใช่กับแฟนเพลงรุ่นใหม่ เพราะในงานสะสมของเขาไม่มีผลงานเพลงร็อกในช่วงหลังจากปี 2002 เป็นต้นมา ที่เขาเห็นว่าดนตรียุคหลังจากนั้นย่ำแย่ลงเรื่อยๆ

ส่วนฟอร์เม็ตที่เป็นมาตรฐานของวงการเพลงทุกวันนี้อย่าง CD และ MP3 กลับเป็นสิ่งที่เขาไม่แม้แต่จะแล จึงเป็นเหตุผลหลักที่เขามีความแน่วแน่ในการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ดนตรีเฉพาะ บนแผ่นเสียงเท่านั้น

"เมื่อคุณนำเพลงที่อยู่ในแผ่นไวนีลไปลงในซีดีหรือเทป คุณจะต้องบีบอัดทุกๆ อย่างให้เหลือเล็กกระจิ๋ว ตัดพวกเสียงสูงเสียงต่ำออกหมด ที่พวกคุณฟังมันแค่ครึ่งเดียวของที่มีอยู่จริง เชื่อผมเถอะ คุณไม่มีวันได้ฟังเพลงเหมือนกับที่ฟังจากแผ่นไวนิลกับหัวเข็มดีๆ หรอก"

มีบรรดาแฟนเพลงและผู้ซื้อที่สนใจเข้ามาเยี่ยมชมที่ RecordRama Archive แทบจะทุกวัน มาวินนีย์ได้รับข้อเสนอจากพิพิธภัณฑ์จากทั่วโลกอยู่เสมอๆ ในการออกประมูลที่ผ่านมาก็มีผู้สนใจจะเข้ามาสานต่องานสะสมอยู่จำนวนหนึ่ง รวมไปถึงหอสมุดแห่งชาติของสหรัฐฯ

"หัวหน้าผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ทุกคนจ้องจะเป็นเจ้าของคอลเล็กชั่นของผม มากว่า 25 ปีแล้ว แต่พวกเขาไม่คิดที่จะยอมจ่ายเพื่อมันซักครั้ง"

นอกจากงานสะสมแผ่นเสียงแล้ว งานของมาวินนีย์ยังรวมไปถึงค่ายเพลง 7 บริษัท, สำนักพิมพ์ และบริษัททำความสะอาดแผ่นเสียงที่เขาอ้างว่าดีที่สุดในโลก

"แต่คลังแผ่นเสียงนี้คืองานที่แท้จริงในชีวิตของผม ผมคิดว่าการเก็บรักษางานสะสมของผมเอาไว้จะกลายเป็นสิ่งที่วิเศษสุดในอีก 20 ถึง 30 ปีข้างหน้า แต่ถ้ามันถูกทำให้เสียหายและขายออกไปอย่างไร้คุณค่า มันจะเป็นการสูญเสียของแฟนเพลงทุกๆ คน"

ไปยังสถานีวิทยุหลังจากที่มันถูกเก็บตายไม่ได้ใช้งานอยู่ในบริษัทมานานถึง 3 ปี ในการตัดราคา ทำให้ร้านเพลงเล็กๆ ทั่วไปหมดโอกาสในการแข่งขัน






ที่มาของข่าว : http://manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9510000142705

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ