วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พระราชพิธิโสกัณ โบราณราชประเพณีที่ไม่มีวันหวนกลับ

พระราชพิธิโสกัณ โบราณราชประเพณีที่ไม่มีวันหวนกลับ


เมื่อสมันก่อนนั้น ชาวไทยนิยมให้บุตรธิดาไว้ผมจุกตามแบบแผนโบราณ เป็นคติความเชื่ออย่างหนึ่ง เริ่มตั้งแต่เมื่อเด็กอายุราว 5 ปี จนโดเป็นวัยรุ่นอายุประมาณ 11-13 ปี ก็จะกระทำพิธีตัดจุก หรือโกนจุก (ผมแกละ หรือผมเปียนี่ เขาทำพิธีตัดกันด้วยรึเปล่าไม่ทราบ ไม่เห็นกล่าวถึง) พิธีโกนจุกนั้นถือเป็นพิธีมงคล มีการทำพิธีมงคล ทำมิ่งชิงขวัญต่างๆ หลากหลายอย่าง โดยเฉพาะพิธีตัดจุกของพระราชโอรส และพระราชธิดาซึ่งเรียกว่า พระราชพิธีโสกัณฑ์ จะจัดกันอย่างยิ่งใหญ่ มีพิธีและการละเล่นประกอบพิธียิ่งใหญ่มโหฬารมากเจ้าค่ะ เราสามารถลำดับเหตุการณ์ได้จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ คือพระราชพิธีโสกัณฑ์ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา เมื่อปีพ.ศ.๒๔๗๔ ซึ่งนับเป็นพระองค์สุดท้ายที่ได้มีจัดพิธีกันขึ้น ในประเทศไทย ถ้าผู้เข้าพิธีมีฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้า ก็จะเรียกพิธีว่า พระราชพิธีเกศากัณฑ์ แต่ก็เป็นพิธีหลวงเช่นเดียวกัน จะต่างกันที่ขนาด การแต่งองค์ทรงเครื่องและกระบวนแห่ จะลดลงตามลำดับเกียรติยศของเจ้านายผู้จะเข้าพิธีเจ้าค่ะ


พิธีการโกนจุกนั้น พระมหากษัตริย์ทรงให้ความสำคัญตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา ถ้าบรรดาขุนนางหรือราษฎร จะโกนจุกลูกหลาน ก็โปรดให้มีหมายบอกเข้ามา ทรงพระราชทานเงินช่วยเสมอ
ในพระราชพิธีโสกัณฑ์นี้ จะมีการประกอบพระราชพิธีทางศาสนาอยู่ด้วย มีทั้งทางพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ โดยทางพระพุทธศาสนาจัดพระราชพิธีสงฆ์บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ส่วนพระราชพิธีพราหมณ์นั้น ตั้ง ณ หอเวทวิทยาคม ในพระบรมมหาราชวัง การสรงน้ำนั้นจะมี 2 แบบคือ ทำพิธีสรงน้ำบนเขาไกรลาสจำลองที่สร้างขึ้น หรือสร้างพระแท่นสรงน้ำบนลานมุมพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท โดยพิธีสรงน้ำบนเขาไกรลาสนั้น จะประกอบพิธีขึ้นเฉพาะกับพระเจ้าลูกเธอที่ดำรงพระยศ “เจ้าฟ้า” เท่านั้นเจ้าค่ะ
หลังจากโสกัณฑ์แล้ว ก็จะเสด็จไปถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ ถวายสบงและเครื่องไทยทาน แล้วจึงเสด็จไปสรงน้ำที่เขาไกรลาส มีเสนาบดี 4 คน ที่รับสมมติเป็นท้าวจตุโลกบาล เดินเคียงพระเสลี่ยงไปสรงน้ำ ณ พระแท่นสรง เชิงเขาไกรลาส เชิงเขาทำเป็นสระอโนดาตน้อยๆ พราหมณ์ถวายน้ำกลศ น้ำสังข์ แล้วจึงเสด็จเข้าไปในพลับพลาเปลื้องเครื่องทรง ผลัดพระภูษา แล้วเสด็จขึ้นบนยอดเขา เฝ้าพระอิศวร พระอิศวรจะเสด็จลงมารับถึงกลางบันใดนาคขึ้นไปถึงชั้นพระแท่น เมื่อพระอิศวรประทานพรแล้ว พระเจ้าลูกเธอฯ เสด็จกลับลงไปด้านทิศตะวันออก แล้วเวียนรอบเขาไกรลาสจากซ้ายไปขวา 3 รอบ แล้วเสด็จกลับเข้าในพระราชวังตามทางที่แห่มา ในตอนบ่ายจะประกอบพิธีเวียนเทียนสมโภช ซึ่งส่วนมากจะสมโภช ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน แต่บางครั้งก็สมโภช ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมื่อสมโภชเสร็จ ก็เป็นอันเสร็จพิธี วันรุ่งขึ้นก็อัญเชิญพระเกศาไปลอยแม่น้ำ เป็นอันเสร็จพิธีโสกัณฑ์อย่างใหญ่ เจ้าค่ะ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
ในเครื่องทรงในพระราชพิธีโสกันต์

สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์
ในเครื่องทรงในพระราชพิธีโสกันต์

ผู้ใหญ่ช่วยแต่งกายให้เด็กที่เข้าพิธีโกนจุก
ในภาพเป็นเกศากันต์ของพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า

สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงฯ


"สี่แผ่นดิน" เล่าถึงงานโกนจุกของพลอย
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์บรรยายการแต่งกายในงานโกนจุกไว้ว่า
"เกี้ยวทำด้วยทองคำประดับเพชรพลอยแวววาม ผ้ายกทองสีสด
มีนวมสวมรอบคอ ตรึงเครื่องเพชรต่างๆเข้ากับนวม
มีแหวน สายสร้อย จี้ และของอื่นๆอีกเป็นอันมาก"
ภาพที่นำมาลงนี้เป็นเด็กหญิงในชุดโกนจุก
ถ่ายเมื่อพ.ศ. 2339 ประมาณ 3-4 ปีหลังจากพลอย
เป็นเครื่องแต่งกายแบบเดียวกัน


พิธีโกนจุก

เป็น ประเพณีเก่าแก่ที่ยังมีจัดกันอยู่ในปัจจุบัน และเด็กหญิงจะไว้จุกเด็กชายจะไว้เปียอยู่ ถือเป็นลักษณะเด่นของชุมชนนั้นได้ เมื่อเด็กมีอายุย่างเข้าเขตวัยหนุ่มและสาว ( ชาย ๑๓ ปี หญิง ๑๑ ปี ) ตามความนิยมของอินเดียจึงมีพิธีการเพื่อบอกกล่าวแก่ญาติและเพื่อนฝูงอีก ครั้งหนึ่ง คือ การโกนจุก

ขั้นตอนทั่วไปของพิธีโกนจุก
การโกนจุกนี้ มักจะหาโอกาสทำรวมกับพิธีมงคล เช่น
ขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญวันเกิด หรืองานมงคลอื่น ๆ เพราะนับเป็นงานมงคลเช่นเดียวกัน มีสวดมนต์เย็นวัน ๑ รุ่งขึ้นเลี้ยงพระแล้วก็ตัดจุกเด็กตามเวลาฤกษ์ ตอนบ่ายมีเวียนเทียนสมโภชทำขวัญเด็กนั้นตามพิธีพราหมณ์

ถึง วันสวดมนต์เย็น ก็อาบน้ำแต่งตัวให้เด็ก ก็พาเด็กไปนั่งยังที่ทำพิธีมีโต๊ะตั้งหน้า ๑ ตัว สำหรับวางพานมงคล คือ ด้ายสายสิญจน์ที่ทำเป็นวงพอดีหัวเด็ก เมื่อผู้เป็นประธานในพิธีจุดเทียนหน้าพระ รับศีลพระสวดมนต์แล้วก็ใส่มงคลนั้นให้แก่เด็ก จนสวดมนต์จบแล้วจึงปลดสายสิญจน์จากมงคลเด็กที่โยงไปสู่ที่บูชาพระนั้นออก แล้วพาเด็กกลับจากพิธีได้

รุ่งขึ้นเวลาเช้านุ่งผ้าเด็กด้วยผ้านุ่ง ขาวและห่มขาว พาไปนั่งยังที่พิธี มีพานล้างหน้าและพานร้องเกี้ยววางไว้บนโต๊ะตรงหน้าแท่นมงคล ผู้ที่จะโกนผมจัดการแบ่งผมจุกเด็กออกเป็น ๓ ปอย เอาสายสิญจน์ผูกปลายผมกับแหวนนพเก้า และใบมะตูมทั้งสามปอย ครั้นถึงเวลาฤกษ์โหรลั่นฆ้องชัย

พระสวดชยันโตฯ ผู้เป็นประธานในพิธีตัดจุกปอยที่ ๑
แล้ว ผู้ใหญ่ในตระกูลตัดผมปอยที่ ๒ พ่อเด็กตัด
ปอยที่ ๓ ผู้ตัดไม่จำกัดบุคคลว่าเป็นผู้ใดแล้วแต่เจ้าของงานจะ
เชิญเจาะจงด้วยความนับถือ

เมื่อ ตัดจุกเรียบร้อยแล้วนำเด็กไปนั่งยังเบญจาที่รดน้ำอันตั้งไว้ในชานชาลาแห่ง หนึ่ง พร้อมด้วยน้ำพระพุทธมนต์ที่ใส่ในคนโทแก้ว เงิน ทอง ตามที่มีตั้งไว้บนม้าหมู่หนึ่ง ผู้ที่มาในงานนั้นก็เขาไปรดน้ำพระพุทธมนต์นั้นให้แก่เด็ก เสร็จแล้วนำเด็กไปแต่งตัวใหม่นำออกไปถวายของพระที่ฉันแล้วด้วยตัวเด็กเอง เมื่อพระสวดถาสัพพีให้พรแล้วกลับมาพักถอดเครื่องแต่งตัวได้ จนถึงเวลา ๔ - ๕ โมง ก็แต่งตัวเด็กชุดถวายของพระออกไปทำขวัญ ตามพิธีพราหมณ์อีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้ไม่มีพระสงฆ์ มีแต่พวกพราหมณ์และพิณพาทย์มโหรีสำหรับประโคมเวลาเวียนเทียนให้เด็กนั่งโต๊ะ บายศรี แล้วพราหมณ์ก็ทำขวัญให้ตามพิธีคือ ผูกมือเจิมแป้ง น้ำมันจันทน์ให้กินน้ำมะพร้าวกับไข่ขวัญ 3ครั้งแล้วเวียนเทียน ๓ รอบ แล้วปิดบายศรีตีฆ้องและโห่ร้องเอาชัย พิณพาทย์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์มหาชัย เมื่อมีการอวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุขแล้วก็เสร็จพิธี ส่วนจุกนั้นให้ใส่กระทงบายศรีลอยไปในแม่น้ำเสีย


สิ่งที่ต้องเตรียม
การทำขวัญจุกต้องจัดเตรียมข้างของ ดังนี้

เครื่องบายศรี
มะพร้าวอ่อน 1 ผล
กล้วยน้ำว้า 1 หวี
ขนมแดง
ขนมขาว
ขันใส่ข้าวสารสำหรับปักแว่นเทียน

ช่วงเวลาที่จัด
ตอน เล็ก ๆ จะไว้จุกหรือเปีย เมื่อครบอายุ ๗ ขวบ หรือ ๙ ขวบ หรือ ๑๑ ขวบ ก็จะทำการโกนจุกหรือเปีย ซึ่งมีความหมายว่าเด็กที่มีผมจุกนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ ไร้เดียงสา ก็จะได้รับความเมตตากรุณาตามสภาวะที่เป็นเด็ก

สถานที่จัดงาน
ใช้สถานที่บ้านเด็กเอง และบ้านญาติที่เด็กต้องไปแต่งตัวเพื่อแห่เดินทางมายังบ้านตนเอง

ผู้ประกอบพิธี
ประกอบด้วย ตัวเด็ก ผู้ปกครอง พระ หมอทำขวัญ และชาวบ้านที่มาร่วมพิธี

ค่าใช้จ่าย
ตามแต่ฐานะของเจ้าของงาน ถ้ามีฐานะดีสมัยก่อนค่าใช้จ่ายราว ๖ - ๗ พันบาท ปัจจุบันประมาณ ๔ - ๕ หมื่นบาท

เหตุผลที่จัดประเพณีนี้
เนื่องจากมีความเชื่อว่า เด็กที่เลี้ยงยาก ดื้อ หรือเด็กที่มักเจ็บไข้ได้ป่วยบ่อย ๆ ถ้าให้ไว้จุกหรือเปียแล้วก็จะหายจากเจ็บไข้เหล่านั้น และมีสุขภาพดี พอครบอายุแล้วก็จะต้องโกนจุกหรือเปีย ถ้าไม่โกนจะไม่เป็นผลดีกับเด็ก ถ้าโกนแล้วเด็กจะอยู่เย็นเป็นสุข

การสืบทอด
ประเพณี โกนจุกโกนเปียนี้ ยังทำกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่พิธีกรรมต่าง ๆ ยังเหมือนเดิม มีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปบ้างคือ ค่าใช้จ่ายการจัดงานค่อนข้างสูง และอาหารการกินแต่เดิมชาวบ้านจะช่วยกันทำเอง แต่ปัจจุบันมักจัดเลี้ยงเป็นแบบโต๊ะจีนเพื่อความสะดวกการถือหอก ดาบ ร่วมในขบวนแห่ ปัจจุบันมีการยิงปืนและจุดประทัดเพิ่มเติมขึ้นจากเดิม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ไทยแลนด์เซ็นทรัลดอทคอม
เครดิต: www.travelaround.bloggang.com เขียนโดย travelaround
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=162.60
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/
http://www.design.in.th/children/thai13.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ