วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิถีแห่งโนบิตะ ชัยชนะของคนไม่เอาถ่าน

วิถีแห่งโนบิตะ ชัยชนะของคนไม่เอาถ่าน



หลัง จากที่ญี่ปุ่นประกาศให้โดราเอมอนกลายเป็นวรรณกรรมเอกประจำชาติเรื่องหนึ่ง ทั้งยังเพิ่มเนื้อหาว่าด้วยโดราเอมอนและ อ.ฟูจิโกะลงในหนังสือเรียน กระแสความคลั่งไคล้การ์ตูนเรื่องนี้ก็เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ (จากที่ปกติก็มากจนไม่รู้จะอธิบายยังไงดีแล้ว) และผู้อ่านโดราเอมอนก็พัฒนาระดับการอ่านจากอ่านเพื่อความบันเทิงหรือเพื่อ จรรโลงใจเป็นอ่านในเชิงวิเคราะห์เจาะลึกประเด็นต่างๆ เกิดเป็นศาสตร์ที่เรียกว่า "โดราเอมอนศึกษา" ขึ้นมา (เป็นเรื่องปกติในวงวิชาการวรรณกรรม ผลงานระดับปรมาจารย์ของนักเขียนเอกหลายท่านมักมีวิชาที่ตั้งขึ้นมาสำหรับ ศึกษางานเขียนของนักเขียนท่านนั้นโดยเฉพาะ เช่น Tolkienology ในอังกฤษที่ศึกษางานของ เจ อาร์ อาร์ โทลคีน อย่าง ลอร์ดออฟเดอะริง ซิลมาริลลิออน ส่วนของไทย ที่เคยเห็นในจุฬาฯ ก็มีวิชาที่ศึกษางานของกรมพระปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่ เสฐียรโกเศศและนาคะประทีป ฯลฯ)



โดราเอมอนศึกษา มีขอบข่ายการศึกษาที่ค่อนข้างหลากหลาย ตั้งแต่เรื่องว่าด้วยจิตวิทยาเด็ก จิตวิทยาครอบครัว จิตวิทยาชุมชน สัญลักษณ์วิทยา ฯลฯ แต่ส่วนใหญ่ก็มีเป้าหมายหลักคือ หาเหตุผลสำคัญที่ทำให้โดราเอมอนกลายเป็นการ์ตูนอมตะในหัวใจของนักอ่านเกือบ ทั่วโลกได้ ผลจากการวิจัยในด้านต่างๆ ทำให้ได้รู้กันว่าภายใต้มังก้าลายเส้นเรียบง่ายนี้ 'ลึก' กว่าที่คิด มีอะไรๆ แฝงอยู่มากพอๆ กับจำนวนของวิเศษในกระเป๋าสี่มิติทีเดียว



นศ.ปริญญาเอก ม.ฟุคุยาม่า ชื่อ โยโกยาม่า ยาสุยุกิ ได้ทำวิทยานิพนธ์สาขาโดราเอม่อนศึกษาขึ้นมาฉบับหนึ่งหลังจากอ่านโดราเอม่อน ทุกตอนจบประมาณห้าสิบรอบและเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น Database อีกพักหนึ่ง เป็นวิทยานิพนธ์ที่เจาะลึกเกี่ยวกับโนบิตะซึ่งเป็นตัวละครเอกที่แท้จริงของ เรื่อง มีการวิเคราะห์ลักษณะนิสัยของโนบิตะเพื่อนำไปตอบข้อสงสัยของผู้อ่านหลายท่าน ที่ว่า ทำไมคนอย่างโนบิตะจึงประสบความสำเร็จในอนาคต แถมยังได้แต่งงานกับชิซุกะที่ออกจะเลิศเลอเพอร์เฟ็กต์ ห่างจากตนอยู่หลายขุมได้ ฤาว่าจะเป็นอานิสงส์จากของวิเศษของโดราเอม่อนล้วนๆ

ศึกษาไปศึกษามา โยโกยาม่าจึงพบว่าแท้จริงแล้ว อ.ฟูจิโกะได้แฝงแนวคิดว่าด้วยการใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาดผ่านทางตัวโนบิตะเอา ไว้ สิ่งนี้เองที่ทำให้โนบิตะประสบความสำเร็จได้ ส่วนของวิเศษของโดราเอม่อนนั้นเป็นเหมือน 'ทางผ่าน' ที่ทำให้โนบิตะค่อยๆ เรียนรู้หนทางสู่ความสำเร็จที่แท้จริงโดยไม่ต้องพึ่งของวิเศษ นอกจากนั้น โนบิตะก็เป็นเสมือนตัวแทนของปุถุชนอย่างผู้อ่านที่ต่างก็หวังจะมีชีวิตที่ดี ขึ้น ในระหว่างที่หัวร่องอหายไปกับความเปิ่นของโนบิตะ บ่อยครั้งที่หลายคนฉุกคิดสะท้อนใจถึงตัวเอง จึงกล่าวได้ว่าโดราเอม่อนไม่ได้เป็นเพียงการ์ตูนจบในตอนสำหรับเด็กอ่านสนุกๆ เท่านั้น แต่เป็นวรรณกรรมสะท้อนสังคมที่ตอบสนองคนได้ทุกเพศทุกวัย ด้วยเหตุนี้โดราเอม่อนจึงยังครองความนิยมจนทุกวันนี้

วิทยานิพนธ์ว่าด้วยแนวทางการดำเนินชีวิตแบบโนบิตะฉบับนี้ได้สรุปเอาข้อ คิดเกี่ยวกับหนทางสู่ความสำเร็จในชีวิตที่ อ.ฟูจิโกะสอดแทรกไว้ในการ์ตูนแต่ละตอนมารวมกัน หลังจากนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าวก็ได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือแนวฮาวทู สำหรับพัฒนาตนเองเล่มหนึ่ง ซึ่งอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ทุกท่านที่ฉลาดกว่าโนบิตะก็น่าจะรู้ว่าผมหมายถึงหนังสือ "วิถีแห่งโนบิตะ" นี่เอง



มาชำแหละสารบัญอย่างคร่าวๆ กันนะครับ

บทนำ: หากโดราเอมอนไม่อยู่ละก็... เปิดเรื่องด้วยเรื่องย่อของโดราเอม่อนตอนแรก ซึ่งมีทั้งสาเหตุที่ทำให้โดราเอม่อนมาอยู่กับโนบิตะ และชีวิตบัดซบของโนบิตะในวัยกลางคน จากนั้นก็แนะนำโนบิตะพอสังเขปทั้งข้อดีข้อเสีย และแนวคิดโดยรวมของการ์ตูนโดราเอม่อน

บทที่ 1 เหตุการณ์ในเรื่องโดราเอม่อน เป็นภาพสะท้อนของสังคม กล่าวถึงปมปัญหาต่างๆ ในเรื่องโดราเอม่อนว่าเป็นปัญหาที่มักประสบพบเจอกันในโลกแห่งความเป็นจริง

บทที่ 2 ฟ้าหลังฝน วิเคราะห์ความล้มเหลวผิดพลาดของโนบิตะที่มีสาเหตุมาจากนิสัยเสียส่วนตัว และนำมาเปรียบเทียบกับชีวิตจริงของคนเรา

บทที่ 3 โนบิตะซะอย่างไม่มีคอตกอยู่แล้ว ว่าด้วยอุปนิสัยของโนบิตะที่ทำให้ตัวเองเป็นที่รักของคนอื่น

บทที่ 4 วิถีทำฝันให้เป็นจริงอย่างโนบิตะ ว่าด้วยอุปนิสัยเฉพาะตัวของโนบิตะที่มีส่วนช่วยให้ประสบความสำเร็จได้

บทที่ 5 กฎเกณฑ์แห่งฝัน พูดถึงสัจธรรมเกี่ยวกับความฝัน ฝันบางอย่างทำให้เป็นจริงได้ ในขณะที่บางฝันก็แค่ฝันเฟื่อง และคำอธิบายสำคัญว่าทำไมในบางตอน โดราเอม่อนถึงให้โนบิตะยืมของวิเศษอย่างง่ายดาย ในขณะที่บางตอนง้อแทบตายก็ไม่ยอม

บทที่ 6 พยายาม "แบบโนบิตะ" ก็เพียงพอแล้ว คล้ายกับบทที่ 4 แต่บทนี้จะเน้นหนักไปในแนวทางปฏิบัติเพื่อทำความฝันให้เป็นจริงมากกว่า ในขณะที่บทที่ 4 จะพูดถึงลักษณะนิสัยอันพึงประสงค์

บทที่ 7 โดราเอม่อนก็อยู่ข้างตัวคุณเช่นเดียวกัน แนะแนวทางการปฏิบัติเมื่อพบกับความทุกข์ความล้มเหลว

ตอนจบ สารที่ อ.ฟูจิโกะ ผู้แต่งโดราเอม่อนต้องการสื่อถึงผู้เขียนมาโดยตลอดคืออะไรบ้าง

เล่มนี้เป็นสารคดีแนวพัฒนาตนเองหรือหนังสือฮาวทู ดังนั้นผู้อ่านสามารถนำข้อคิดที่ได้จากเล่มนี้ไปปฏิบัติได้ จะสำเร็จหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ส่วนตัวผมเองนั้นคงไม่จำเป็นนัก เพราะชีวิตก็ไม่ต่างจากโนบิตะเท่าไหร่ เหอๆ

หนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับนิสิตนักศึกษาที่มีโครงการจะทำธีสิ สเกี่ยวกับวรรณกรรมหรือการ์ตูนบางเรื่อง เพราะผู้เขียนสามารถเรียบเรียงประเด็นได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน อ่านแล้วเข้าใจง่าย และมีการยกตัวอย่างจากการ์ตูนบางตอนเพื่อเสริมแนวคิดของผู้เขียน อันเป็นการแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่าแนวคิดดังกล่าวมีอยู่จริง ซึ่งผู้เขียนได้กลั่นกรองมาอย่างลึกซึ้งแล้ว มิได้นั่งเทียนเอาเอง ผู้เขียนวิเคราะห์โนบิตะ โดราเอม่อน และตัวละครอื่นๆ ได้ละเอียดจนน่ากลัว น่ากลัวว่าบางประเด็นเข้าข่ายการ "แถ" รึเปล่า แต่อ่านแล้วเพลินดีก็ไม่ว่ากัน

ที่ประทับใจคือ มีหลายแนวคิดในเล่มที่ตรงใจผมเป๊ะๆ ประมาณว่าความคิดบางอย่างที่ผมเคยเก็บเกี่ยวได้จากโดราเอมอนบางตอนมันเหมือน กับเนื้อหาในวิถีแห่งโนบิตะเสียนี่กระไร เช่น ผมเคยตั้งข้อสังเกตกับเพื่อนว่า โดราเอม่อนแต่ละตอนมักจะเริ่มด้วยปัญหาของโนบิตะ แล้วโนบิตะก็มาขอความช่วยเหลือจากโดราเอม่อน โดราเอม่อนก็มักใจอ่อนให้ของวิเศษไปใช้ แต่สุดท้ายแล้ว ของวิเศษที่ขอไปก็มักไม่ได้ใช้ หรือใช้ไม่ได้ผล โนบิตะเลยต้องแก้ปัญหาด้วยตัวเอง และกลายเป็นว่าได้ผลดีกว่าใช้ของวิเศษเสียอีก Theme หลักของโดราเอม่อนจึงเหมือนกับพุทธภาษิต "อตฺตาหิ อตฺตาโน นาโถ - ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" หรือการที่โนบิตะชนะใจใครต่อใครได้ รวมทั้งคนอ่านหลายคนและผมด้วย เพราะแม้จะมีไอคิวต่ำ แต่อีคิวดีเยี่ยม ในขณะที่เด็กเลิศอย่างเดคิซุงิกลับชวนให้รู้สึกหมั่นไส้ เพราะเป็นคนที่ไอคิวดี แต่อีคิวต่ำ (ต่ำยังไง ลองอ่านหน้า 55 - 58 ประกอบ) ตรงกันข้ามกับโนบิตะ ซึ่งอาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ชิซุกะเลือกแต่งงานกับโนบิตะแทนเดคิซุงิก็ได้ เป็นต้น

จะว่าไป สาเหตุหนึ่งที่การ์ตูนสำหรับเด็กอย่างโดราเอม่อนกลายเป็นการ์ตูนอมตะที่ครอง ใจคนอ่านมาหลายทศวรรษนี่ก็เพราะมีพระเอกอย่างโนบิตะนี่ล่ะเนอะ ด้วยความ imperfect สุดๆ ของโนบิตะ เขาจึงมักโดนใช้เป็นตัวแทนแสดงความอ่อนแอของมนุษย์ แม้บางทีจะดูน่าสมเพชเวทนา แต่ก็เป็นตัวละครที่ได้รับคะแนนสงสารจากแม่ยกเสมอ มีการวิเคราะห์ว่าคนอ่านมักเอาใจช่วยโนบิตะเพราะเห็นภาพสะท้อนของตัวเองจาก ตัวโนบิตะ อะไรที่โนบิตะอยากมี อยากได้ อยากทำ ก็มักเป็นสิ่งที่คนเราอยากมี อยากได้ อยากทำกันทั้งนั้น ดังนี้ ตัวเอกที่ขาดๆ เกินๆ อย่างโนบิตะจึงอยู่ในความทรงจำของหลายคนได้ไม่แพ้โดราเอม่อนเลยทีเดียว

กลับกัน ถ้าให้โนบิตะสมบูรณ์พร้อมทุกอย่างแบบเดคิซุงิ หรือให้เจ้าเดคิซุงิเป็นตัวเอก คนจะจำเรื่องโดราเอม่อนได้นานถึงขณะนี้มั้ย ถ้าถามผม ผมเชื่อว่าไม่ เพราะถ้าเป็นงั้นจริง เรื่องจะไม่มีอะไรให้ลุ้นเลย การเรียนดี กีฬาดี หน้าตาดี โอ้โห...ชีวิตจะดีไปกว่านี้ได้อีกมั้ยเนี่ย ในเมื่อทุกอย่างหายห่วง แล้วคนอ่านจะเอาอะไรไปลุ้น ไปเอาใจช่วยเขาล่ะครับ เพราะพอเกิดปัญหาอะไรขึ้น เดี๋ยวมันก็แก้ได้ ก็เก่งนี่ เพราะงี้แหละ เรื่องไหนที่มีตัวเอกเลิศเลอเพอร์เฟ็กต์ หน้าตาดี สมองดี จึงมักหายไปจากความทรงจำอย่างรวดเร็วไง หรือถ้ามีแฟนด้อมมากๆ ก็อาจจะยืดเวลาไปได้หน่อย แต่ก็ไม่มีวันอยู่ได้นานเท่าเรื่องที่มีตัวเอกเหมือนคนธรรมดาเดินดินอย่าง เราหรอก ข้อนี้เป็นกฎทางวรรณกรรมข้อหนึ่งที่นักอยากเขียนในศตวรรษที่ 21 สมควรรับไว้พิจารณานะครับ

จุดที่น่าติติงเกี่ยวกับภาษาในเล่ม คือบางตอนมันอ่านแล้วไม่ค่อยรู้เรื่องอะ ต้องอ่านทวนซ้ำถึงจะเข้าใจได้ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะสำนวนคนเขียนหรือคนแปล ไม่รู้ว่ามีตรงไหนที่แปลผิดหรือแปลมั่วบ้าง เพราะ จขบ. ไม่มีหนังสือต้นฉบับที่เป็นภาษาญี่ปุ่น อีกทั้งความรู้ภาษาญี่ปุ่นมีเท่าหางซาลาแมนเดอร์ แต่ที่เห็นว่าแปลผิดจะจะและจำได้ขึ้นใจนี่มีหนึ่งจุด คือในหน้า 136 คำว่า "โนบิตะ" กลายเป็น "ฝน" ทุกคำเลย (อ่านแล้วก็ขำ นึกถึงรุ่นน้องที่คณะคนนึงที่ชื่อฝน ชอบเรียกแทนตัวเองด้วยชื่อเล่น) ไม่รู้ว่า บ.ก. ปล่อยผ่านมาได้อย่างไร แต่ก็พอเข้าใจครับ หนังสือร้อยกว่าหน้า พิมพ์ผิดเล็กๆ น้อยๆ คงไม่ทันสังเกต คนเขียนบล็อกหลายคนพิมพ์ข้อความผิดๆ ถูกๆ มีเยอะไป นี่ก็คนนึง ฮี่ๆ

นอกจากนี้ ผมยังมีเรื่องจะบ่นให้คนเขียน (โยโกยาม่า) ฟัง แต่ด้วยความที่อยู่กันคนละประเทศ เว้ากันคนละภาษา จึงขอเก็บมาบ่นลงบล็อกตัวเองแทน คือผมว่าการที่เขาเล่าเรื่องย่อของการ์ตูนโดราเอม่อนบางตอนประกอบประเด็น บางอย่างนี่ก็เป็นสิ่งที่ดี พึงกระทำสำหรับรายงาน แต่จะดีกว่านี้ถ้าเขาจะเอาการ์ตูนตอนนั้นๆ ทั้งตอนมาลงประกอบแทน เพราะอะไร ผมมีคำตอบให้ตามความคิดของตัวเอง

1. เคยได้ยินมั้ยที่ว่าภาพภาพเดียวแทนคำพูดได้ร้อยคำ การ์ตูนจัดเป็นวรรณกรรมที่ภาพเป็นเอก ถ้อยคำเป็นรอง บางทีการนำการ์ตูนมา relate ต่อเป็นคำพูดก็ไม่ได้อรรถรสเท่าเดิมหรอกครับ อีกอย่าง sense ในการรับรู้ของคนเราไม่เหมือนกัน เกิดคนเขียนอ่านการ์ตูนไปแล้วเข้าใจเรื่องไปอย่างหนึ่งแล้วเอาไปเขียนเป็นตุ เป็นตะ ผิดจากเนื้อเรื่องจริง คนที่รู้เข้าจะหาว่ามั่วได้น่ะสิครับ

2. ช่วยให้วิทยานิพนธ์หนาขึ้น ดูขลังขึ้นเป็นกอง (แต่อาจทำให้ราคาหนังสือแพงขึ้นเป็นกองในกรณีที่พิมพ์กับ SIC)

ไม่แน่ ที่โยโกยาม่าใส่เรื่องย่อแทนการ์ตูนคงเพราะคิดว่าเป็นการไม่บังควรที่จะเอา การ์ตูนใส่ลงไปในงานวิชาการ แต่ถ้าเป็นผม ผมก็ยืนกรานที่จะใส่อยู่ดีแหละ ทำไมครับ ก็ธีสิสศึกษาการ์ตูนนี่ จะให้ร่ายชาดกลงไปแทนเหรอ ทีรายงานวิเคราะห์หนังหรือละคร เขายังใส่บทละครไปเลย ทำไมวิเคราะห์การ์ตูนแล้วจะใส่การ์ตูนลงไปไม่ได้ล่ะ ยิ่งเป็นประเทศญี่ปุ่นนี่ไม่น่ามีปัญหา แต่ถ้าเป็นไทยก็คงไม่ได้วันยังค่ำล่ะนะ

คนที่ชอบบทวิเคราะห์วรรณกรรมแบบฮาร์ดคอร์ คงไม่สนใจเล่มนี้ ก็ไม่เป็นไร แต่สำหรับคนที่ชอบอ่านหนังสือสารคดีแบบสบายๆ ผมก็ขอแนะนำให้ท่านหามาอ่านเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ และสำหรับคนที่ชอบโดราเอม่อนด้วยแล้ว วิถีแห่งโนบิตะเป็นเล่มที่ไม่ควรพลาด เพราะจะทำให้คุณรู้จักกับการ์ตูนอมตะของโลกเรื่องนี้ยิ่งขึ้น เผลอๆ อาจจะอยากกลับไปอ่านตั้งแต่ตอนแรกสุดเลยก็ได้

ยังมีเนื้อที่เหลือ บ่นอะไรต่ออีกเล็กน้อยดีก่า อันนี้เป็นบ่นเรื่อยเปื่อย ไม่เกี่ยวกับหนังสือข้างต้น

การ์ตูนโดราเอม่อนสมัยก่อน สมัยที่คนเขียนยังมีชีวิตอยู่ เนื้อเรื่องเยี่ยมมากๆ ครับ แฝงข้อคิดลึกซึ้งมาก แถมสะเทือนอารมณ์สุดๆ เช่น ตอนที่โนบิตะเจอตุ๊กตาล้มลุกที่คุณย่าให้เป็นของขวัญ ตอนนั้นอ่านครั้งแรกน้ำตาไหลไม่รู้ตัวเลย เป็นตอนที่ประทับใจที่สุดตอนนึง แต่เนื้อเรื่องในยุคปัจจุบันนี่อะไรก็ไม่รู้ เหมือนทำให้เป็นเชิงพาณิชย์ขึ้น ดูอย่างตอนพิเศษ ตั้งแต่ภาคอัศวินแดนวิหคลงมาสิครับ ภาคที่คนวาดไม่ใช่ฟูจิโกะน่ะครับ เนื้อเรื่องอ่อนกว่าภาคแรกๆ เยอะเลย หมดความ classic ไปเลยอะ รู้สึกอย่างนี้จริงๆ นะ

อีกเรื่อง ผมเคยนึกเปรียบเทียบตัวละครในโดราเอม่อนเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ ดังนี้

โดราเอม่อน = ความฝัน วัยเยาว์ สติปัญญา (Wisdom) ชีวิตในอุดมคติ

โนบิตะ = คนธรรมดาเดินดิน ข้อบกพร่องของมนุษย์ EQ

ชิซุกะ = อารมณ์ ความอ่อนไหว

ไจแอนท์ = พละกำลัง อำนาจ ความรุนแรง

ซูเนโอะ = คนรวย เงินตรา ทุนนิยม

เดคิซุงิ = ความรอบรู้ (Intelligence) IQ

ที่แยกความรอบรู้ (Intelligence) กับสติปัญญา (Wisdom) ออกจากกันเพราะผมเห็นว่ามันคนละตัวกัน (มนุษย์ต่างดาวสี่แขนใน Star Wars EpII: Attack of the Clones ก็เคยบอกโอบีวันไว้เช่นเดียวกัน) Wisdom ช่วยให้คนเอาตัวรอดได้ ในขณะที่ Intelligence อาจทำให้คนมีความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่มักเหมารวมสองตัวนี้ด้วยกัน แถมยังยกย่องคนที่ Intelligent มากกว่าคนที่ Wise

ที่มาจาก http://povolam.exteen.com/20070418/review







ドラえもん Doraemon
Doraemon


โด เรม่อนโดเรม่อนเป็นแมวที่มาจากโลกอนาคตแห่งศตวรรษที่ 22 อาหารโปรดของเขา คือ แป้งทอด และแป้งขนมปังที่มีถั่วหวานโรยอยู่ วันเกิดของเขา คือวันที่ 3 กันยายน 2112 เขาหนัก 129.3 กิโลกรัม และสูง 129.3 เซนติเมตร เขากระโดดสูง 129.3 เซนติเมตร และสามารถวิ่งไ้ด้เร็ว 129.3 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง เขาเกลียดหนู เพราะหูของเขาถูกหนูกิน เขามีกระเป๋า วิเศษซึ่งภายในกระเป๋านั้นจะมี ของวิเศษ โดเรม่อน ถูกส่งมาที่ศตวรรษที่ 20 เพราะหลานของโนบิตะไม่สามารถทนเห็นตาของเขาถูกทรมารดังนั้นเขาจึงส่งโดเร ม่อนเพื่อมาช่วยเหลือกับความยุ่งยากของโนบิตะ



โน บิตะโนบิตะ โนบิ ถือเป็นตัวดำเนินเรื่องเลยครับ โนบิตะเป็นเด็กที่ไม่มีความรับผิดชอบ มักจะสอบได้ 0 คะแนนเสมอ ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ยากที่โนบิตะจะไปจีบชิซูกะ อย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้วโนบิตะก็ได้แต่งงานกับชิซูกะเวลาที่โนบิตะมีปัญหา (มีปัญหาอยู่เสมอ) ก็จะต้องขอให้โดเรมอนช่วยทุกครั้งไปชีวิตส่วนใหญ่ของโนบิตะตื่นไปโรงเรียน สายมักจะถูกครูดุ.มักจะถูกแม่ดุ.มักจะถูกไจแอนท์แกล้งมักทำให้ชิซูกะโกรธชอบ นอนกลางวันมักจะเป็นอย่างนี้เสมอต้น เสมอปลายดี (ไม่รู้ว่าชมหรือเปล่า)



เป็น น้องสาวที่น่ารักของโดราเอมอน โดเรมีสามารถทำทุกอย่างที่โดเรมอนทำได้ เธอมีกระเป๋าวิเศษ โดเรมีเป็นแมวหุ่นยนต์ที่สุภาพ และ ไม่ขี้บ่นเหมือนโดราเอมอน โดเรมีไม่ได้อาศัยอยู่กับโนบิตะ และ โดราเอมอน แต่เธอมักจะมาช่วยในหลาย ๆ เหตุการณ์ หรือ ปัญหา ที่โดราเอมอนไม่สามารถแก้ไขได้.





ชิ ซูกะถือได้ว่าเป็นนางเอกของเรื่องเลยครับ มีหนุ่มๆ ติดตรึม ซึ่งได้แก่ โนบิตะ ไจแอนท์ และ ซูเนโอะ แต่อย่างไรก็ตาม ตามโครงเรื่องแล้ว ในที่สุดชิซูกะ ก็จะต้องแต่งงานกับโนบิตะ ชิซูกะรักการอาบน้ำเป็นชีวิตจิตใจ ชิซูกะเป็นเด็กผู้หญิงใจดี และ มักจะให้อภัยและไม่ถือโกรธใคร ชิซูกะเป็นเด็กที่ขยัน และ จะทำคะแนนสอบได้ดีเสมอ (แต่สามีในอนาคตของเธอมักจะสอบได้ 0 คะแนน)





ไจแอนท์ โกดะ ทาเคชิ หรือ ไจแอนท์ ถือเป็นอัธพาลประจำกลุ่มเลยครับ เป็นเด็กผู้ชายที่บึกบึน และแข็งแรง แต่ร้องเพลงได้แย่ที่สุด ไจแอนท์มักจะรวมหัวกับซูเนโอะเพื่อแกล้งโนบิตะ ไจแอนท์มักจะอิรฉาซูเนโอะ และ โนบิตะ ที่มักจะมีของเล่น และ ของแปลกเสมอ และ ไจแอนท์ก็จะแย่งสิ่งของเหล่านั้นจากโนบืตะ และ ซูเนโอะ นอกจากนี้ไจแอนท์ก็ยังชอบอ่านการ์ตูน และ ไจแอนท์มักจะทำคะแนนสอบได้ค่อนข้างแย่ แต่ก็ยังไม่ แย่เท่าโนบิตะ




ซู เนโอะโฮเนะคาวะ ซูเนโอะ เป็นเด็กที่ขอบโกหก และ ขี้โกง แต่ก็ฉลาด เพราะฐานะทางบ้านที่ร่ำรวย ซูเนโอะจึงถูกตามใจตั้งแต่เด็ก และ ไม่ค่อยถูกลงโทษ ซูเนโอะอยากให้โดราเอมอนมาอยู่ด้วย เพราะต้องการของวิเศษออกมาจากกระเป๋าวิเศษของโดราเอมอน ซูเนโอะมักจะแกล้ง และ นำปัญหามาให้โนบิตะเสมอ ถึงแม้ว่าซูเนโอะจะเป็นเด็กขี้ โม้ และ หัวสูง แต่ก็ยังมีนิสัยใจดีอยู่บ้าง






2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ24 ธันวาคม 2552 เวลา 01:43

    เขา ชื่อ โนบิ โนบิตะ ต่างหากเล่า มั่วๆๆๆ>0<

    ไม่ใช่ โน บิตะโนบิตะ โนบิ ซะหน่อยย

    เหอๆๆ-3-

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ17 กันยายน 2553 เวลา 20:15

    นั่นจิๆ

    ตอบลบ

อารายเหรอ