อากาศยานไร้นักบิน
กองทัพบกได้จัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ขนาดเล็ก ควบคุมระยะไกลโดยไม่ใช่นักบิน UAV : Unmanned Aerial Vehicle รุ่น SEARCHER MK - I จำนวน ๑ ระบบ จากบริษัท Israel Aircraft Induatries Malat Divition ด้วยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล วงเงิน ๑๑.๕ ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา เข้าประจำการใน กองร้อยค้นหาเป้าหมาย กองพลทหารปืนใหญ่ ภารกิจ ลาดตระเวนเฝ้าตรวจ เฝ้าติดตามสถานการณ ์ ค้นหาและกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย
ปรับการยิงปืนใหญ่และอาวุธยิงสนับสนุน และอื่นๆ เช่น ถ่ายภาพ
ศูนย์การบินทหารบก ได้สนับสนุนนักบินภายนอก (นักบิน จากกองบินเบา )ในการฝึกร่วมกับกองร้อยค้นหาเป้าหมาย ตั้งแต่ ต.ค. ๒๕๔๑ - พ.ย. ๒๕๔๒ อีกทั้งสนับสนุนการตรวจวัดค่า ถ.พ. น้ำมันแกสโซลีน พิเศษ ๙๕ ด้วย เพื่อให้สมาชิวารสารการบินทหารบก ได้รู้จัก ยูเอวี มากขึ้นจึงขอนำเสนอ ระบบยูเอวี ๑ ระบบ ประกอบด้วย บ. UAV จำนวน ๔ เครื่อง บ. UAV ฝึก Half Scale จำนวน ๔ เครื่อง และ บ.เล็กบังคับวิทยุ Rc – Model จำนวน ๒ เครื่อง และระบบการทำงานต่างๆ ดังนี้
โครงเครื่องบิน (Airframe)
ความสามารถของยูเอวี ในการทำงานที่ระดับความสูงที่ต้องการ รัศมีการบิน ระยะเวลาบิน ความเร็วเดินทางและความเร็วสูงสุด และน้ำหนักบรรทุก
จะเป็นตัวกำหนด ขนาด รูปร่างและวัสดุที่จะใช ้ ลักษณะของยูเอวี ที่ออกแบบมาจะมีผลต่อความยากง่ายต่อการถูกตรวจจับ ความยากง่ายต่อการซ่อมบำรุง ส่วนวัสดุที่ใช้ก็มีหลายแบบ เช่น โลหะ พลาสติกผสม คาร์บอนไฟเบอร์ผสม และวัสดุดูดกลืนคลื่นเรดาร์
ระบบขับเคลื่อนหรือเครื่องยนต์ (Propulsion System)
ระบบขับเคลื่อนที่ใช้กับยูเอวีมีหลายแบบ เช่น เครื่องยนต์ 2 จังหวะ เครื่องยนต์ 4 จังหวะ เครื่องยนต์โรตารี มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องยนต์จรวด และเครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ต หรือการใช้โซลาร์เซลเป็นแหล่งจ่ายพลังงานให ้ มอเตอร์ไฟฟ้า ทำให้บินได้นานและบินระดับเพดานบินสูงขึ้น ระบบควบคุม
(Control System) การทำงานของยูเอวี จะเป็นแบบการบังคับแบบใช้วิทยุจากพื้นดิน หรือการโปรแกรมและควบคุมการบินด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ระบบการส่งและกลับคืน (Launch and Recovery System)
การ ส่งยูเอวีขึ้นไปทำได้หลายวิธี เช่น การยิงจากเครื่องส่ง (Launcher) การวิ่งขึ้นจากทางวิ่ง หรือการปล่อยยูเอวีจากอากาศยานขนาดใหญ่ การ
กลับคืนของยูเอวีก็ทำได้หลายวิธี เช่น การจับด้วยตาข่าย การใช้ร่มชูชีพ และการบังคับลงบนรันเวย์ด้วยวิทยุบังคับ
อุปกรณ์ที่นำขึ้นไป (Payload)
ปกติ ยูเอวีที่ทำหน้าที่สำรวจหรือตรวจการณ์จะนำอุปกรณ์ตรวจจับต่างๆ ขึ้นไป เช่น กล้องถ่ายภาพนิ่ง กล้องอินฟราเรด กล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหว
และเรดาร์
ระบบนำร่องและนำวิถี (Navigation and Guidance System)
ระบบนำร่องและนำวิถีเป็นส่วนที่ สำคัญของยูเอวี ในกรณีที่ยูเอวี อยู่ไกลจนไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้ ในปัจจุบันระบบนำร่องและนำวิถีจะใช้ ระบบหาพิกัดบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม (GPS) เป็นตัวช่วย นอกจากนั้นระบบนำร่องจะต้องเชื่อมตัวกับเพย์โหลด (Payload)เพื่อการรับส่งคำสั่งเพื่อจะ
ทำให้เพย์โหลดทำงานตามช่วงเวลาที่ ต้องการ โดยปกติแล้วยูเอวีจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำงานด้านระบบนำร่องและนำวิถี โดยเฉพาะแยกออกมาจาก
ระบบควบคุมอัตโนมัติ
ระบบควบคุมและสนับสนุนภาคพื้น (Ground Control Station)
ระบบ ควบคุมและสนับสนุนภาคพื้นของยูเอวี ทำงานคล้ายๆกับระบบควบคุมภาคพื้นของอากาศยานทั่วๆไป โดยมีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานและตรวจข้อมูลต่างๆ ที่ส่งมาจากยูเอวี นอกจากนั้นยังสามารถสั่งตัวตรวจวัดต่างๆทำงานตามที่เราต้องการ โดยส่งข้อมูลผ่านข่ายรับ - ส่งข้อมูลไร้สาย
ระบบการเชื่อมต่อและเก็บข้อมูล (Data Link and Storage System)
ระบบ เชื่อมต่อระหว่างยูเอวีและระบบควบคุมและสนับสนุนภาคพื้น ใช้หลายย่านความถี่ เช่น ย่านความถี่สูง (HF) ย่านความถี่สูงมาก (VHF) และ
ย่านไมโคร เวฟ หากระบบเหล่านี้ขัดข้องในกรณีไม่สามารถส่งข้อมูลมาได้ทันทีทันใด อาจใช้วิธีเก็บข้อมูลไว้บนยูเอวี จะส่งส่งต่อไปยังข่ายอื่นๆ เช่น ดาวเทียม แล้วกลับมายังสถานีภาคพื้น
ระบบป้องกันตนเอง (self-protection Systems)
การใช้วัสดุที่สามารถดูดกลืนคลื่นเรดาร์ ตรวจพบด้วยสายตาได้ยาก
กำลังพล (Operating Personnel)
จำนวน กำลังพลที่จะใช้กับยูเอวี ขึ้นอยู่กับความสามารถ ความซับซ้อน และภารกิจของ ยูเอว ี ในปัจจุบันกำลังพลที่ทำงานในระบบยูเอวีจะเป็นผู้ที่มี
ีประสบการณ์สูง และได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี เพราะเป็นระบบใหม่ โดยเฉพาะคุณสมบัติของผู้ใช้ระบบ ยูเอว ี ต้องสอบผ่านข้อเขียนและการฝึก เช่น ต้องฝึกบินกับเครื่องบินเล็ก ๒๐๐ ชั่วโมง ฝึกกับเครื่อง Half Scale ๕๐ ชั่วโมง และฝึกกับเครื่อง Full Scale ๒๐ ชั่วโมง จึงจะได้รับประกาศนียบัตร
การบิน ฯ กำลังพลแบ่งหน้าที่กันทำ เช่น นักบินภายนอก ควบคุมเครื่องบินในการวิ่งขึ้นและร่อนลง นักบินภายใน ควบคุมเครื่องต่อจากนักบินภายนอก ในการ
ปฏิบัติภารกิจ เจ้าหน้าที่กล้อง ควบคุมอุปกรณ์ถ่ายภาพบนเครื่องบินโดยประสานงานกับนักบินภายใน ช่างซ่อมอิเล็กทรอนิกส ์ ทดสอบระบบเครื่องบิน ด้าน
อุปกรณ์ เช่นอุปกรณ์สื่อสาร ช่างซ่อมแมคคานิกส์ ทดสอบระบบเครื่องยนต์ให้พร้อมก่อนใช้งาน
คุณลักษณะเฉพาะ SEARCHER MK- I ประเภทเครื่องยนต์ : ลูกสูบ ขนาด ๔๗ แรงม้า ความจุน้ำมันเชื้อเพลิง : ๑๔๒ ลิตร ความยาวลำตัว : ๕.๑ เมตร ความสูง : ๑.๒ เมตร ความยาวปีก : ๗.๖๕ เมตร น้ำหนักเปล่า : ๗๒ กิโลกรัม เพดานบิน : ๑๕,๐๐๐ ฟุต พิสัยบิน : ๒๐๐ กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด : ๑๘๕ กิโลเมตรต่อชั่วโมง บินได้นาน : ๑๑ ชั่วโมง น้ำมันเชื้อเพลิง : แกสโซลีน ๙๕ ติดตั้งระบบ AUTOPILOT
|
ปัจจุบัน กองทัพบกกำลังดำเนินการจัดหาระบบยูเอวี เพิ่มขึ้นอีก ๑ ระบบ ที่มีความใกล้เคียงกับระบบเดิมที่ประจำการอยู่ในขณะนี้ เพื่อให้สามารถ
ปฏิบัติภารกิจได้ทันที่ โดยไม่ต้องเริ่มต้นฝึกกำลังพลใหม่ และในอนาคต ประเทศไทยจะมียูเอวี ซึ่งวิจัยและพัฒนาโดยคนไทย ชื่อ
“ PUKSIN ” THAILAND UAV System Prototype MK - …
อ้างอิง
๑. หนังสือวิวัฒนาการทหารปืนใหญ่ ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๒๖ ประจำปี ๒๕๔๘
๒. www.airtech.cjb.net
๓. www.iai.co.il
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ