ท่านคือ ทูตสันถวไมตรีไทย-จีน อย่างแท้จริง
โดยเขียนจาก “รายงานพิเศษ : “สมเด็จพระเทพฯ” : ทูตสันถวไมตรีไทย – จีน”
ผู้จัดการออนไลน์ 7 กรกฎาคม 2548
“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ทรงเป็นราชนิกุลพระองค์เดียวในโลกที่เสด็จเยือนประเทศจีน 20 ครั้ง และเสด็จฯ เยือนครบทุกมณฑลของประเทศจีน ประเทศที่ได้ชื่อว่ากว้างใหญ่ที่สุดในโลก และมีประชากรมากที่สุดในโลก
สมเด็จพระเทพฯ เสด็จเยือนประเทศจีนครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2524 เพียง 23 ปีให้หลัง คือเมื่อปี พ.ศ. 2547 พระองค์ก็สามารถเยือนประเทศจีนได้จนครบทุกมณฑล ทั้งๆที่บางมณฑลของประเทศจีน มีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทยทั้งประเทศด้วยซ้ำ
สมเด็จพระเทพฯ หรือที่คนจีนทั่วไปคุ้นเคยกับการกล่าวขานพระนามพระองค์ว่า “สิรินธร” มิได้เพียงสนพระทัยในประเทศจีนเท่านั้น หากยังทรงเรียนภาษาจีน วัฒนธรรมของจีน และได้ทรงเสด็จฯไปศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจีนเพิ่มเติมถึงมหาวิทยาลัยปักกิ่ง นับเป็นเรื่องที่สร้างความประหลาดใจและปลาบปลื้มใจแก่คณาจารย์ชาวจีนที่ถวาย การสอนเป็นอันมากว่าเหตุใดเจ้าหญิงของไทยจึงให้ความสำคัญต่อประเทศจีนมากถึง ขนาดนั้น
ซึ่งพระองค์ทรงเคยเล่าให้พระ อาจารย์และนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งฟังถึงสาเหตุที่เลือกเรียนภาษาจีน ว่า ตอนแรกไม่ได้คิดอยากจะเรียน เพราะคิดว่าภาษาจีนเป็นภาษาที่ยากมาก แต่มาคิดว่าตัวเองเป็นคนเอเชีย ในเอเชียมีประเทศใหญ่อยู่ 2 ประเทศ คือ อินเดียกับจีน การเรียนภาษาอินเดียกับภาษาจีนจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
ประกอบ กับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงรับสั่งว่า “เรียนภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ล้วนเป็นภาษาตะวันตก คิดว่าน่าจะเรียนภาษาจีน ซึ่งเป็นภาษาแถบเอเซีย” พระองค์จึงทรงปรึกษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งก็ทรงเห็นด้วย ในที่สุดจึงขอให้ทางสถานทูตจีน ช่วยจัดพระอาจารย์มาถวายการสอน
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายเติ้ง เสี่ยวผิง รองนายกรัฐมนตรีจีน(สมัยนั้น) เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2521 ระหว่างเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 - 11 พฤศจิกายน 2521
ปี พ.ศ. 2523
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นางเติ้ง อิ่งเชา รองประธานคณะกรรมการประจำสมัชชาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน และคณะ เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2523
ปี พ.ศ. 2524
สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศจีนตามคำทูลเชิญของรัฐบาลจีน เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2524 นางเติ้ง อิ่งเชา รองประธานคณะกรรมการประจำสมัชชาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน เข้าเฝ้าฯ ณ มหาศาลาประชาคม กรุงปักกิ่ง
แม้ พระองค์จะทรงปราดเปรื่องในภาษาต่างประเทศมาแล้วหลายภาษา แต่ก็ล้วนแต่ได้มาด้วยความพากเพียรวิริยะศึกษาภายในประเทศ มิได้เกิดจากการเดินทางไปศึกษา ณ ต่างประเทศแต่ประการใด เหตุเพราะทรงให้ความสำคัญกับพระกรณียกิจนานัปการที่ทรงมีต่ออาณาประชาราษฎร์
แต่ ที่สุดก็ทรงมีโอกาสไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 14 ก.พ.-15 มี.ค.2544 แม้นั่นจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆเพียงแค่ 1 เดือน แต่ก็สร้างความประทับใจให้กับทั้งผู้เรียนและผู้ถวายการสอนอย่างมิรู้ลืม
สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้ นายเติ้ง เสี่ยวผิง รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน เข้าเฝ้าฯ ณ มหาศาลาประชาคม กรุงปักกิ่ง ในวโรกาสเสด็จฯ เยือนประเทศจีน เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2524
ปี พ.ศ. 2528
สมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประทานพระวโรกาสให้ ประธานาธิบดี หลี่ เซียนเนี่ยน และคณะ เข้าเฝ้า ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2528
ปี พ.ศ. 2534
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเลี้ยงรับรอง ประธานาธิบดี หยาง ซ่างคุน ณ พระที่นั่งจักรีมหาประสาท พระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2534
ในพระราชนิพนธ์เรื่อง “เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก” ทรงพระราชนิพนธ์คำนำ ถึงการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาในครั้งนั้นว่า
“ข้าพเจ้า เรียนภาษาจีนมา 20 ปีแล้ว แต่ความรู้ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่สถานทูตจีนจัดครูมาสอนเป็นประจำ จึงเกิดความคิดว่า ถ้าข้าพเจ้าได้มาอยู่ในแวดวงคนจีน เรียนภาษาจีนอย่างเดียวไม่ต้องทำงานอื่นสักพักหนึ่งน่าจะดีขึ้น ปัญหาอยู่ที่ว่าระยะหลังๆ นี้การงานที่เมืองไทยค่อนข้างมาก จะปลีกตัวมาได้นานสักเท่าไร เมื่อ 3 ปีก่อนเคยไปสหรัฐอเมริกาเดือนหนึ่ง จึงคิดว่าน่าจะอยู่จีนได้เหมือนกัน ได้ไปลองปรึกษากับใครๆ ที่เมืองจีน ทั้งทางมหาวิทยาลัยและคนอื่น ทุกคนต่างเห็นดีด้วย ลองไปสืบราคาที่อยู่และค่าเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง รู้สึกว่าค่อนข้างแพง แต่ก็น่าจะสู้ราคาได้ ภายหลังท่านทูต ฟู่ เสวียจัง ทูตจีนประจำประเทศไทยในขณะนั้นบอกว่า กระทรวงศึกษาธิการจีนจะรับภาระค่าใช้จ่ายทุกๆ ด้าน ทั้งด้านที่พักในมหาวิทยาลัย การเล่าเรียน และอาหารการกิน”
“มหาวิทยาลัย ปักกิ่งจัดตารางสอนมาให้ ครั้งแรกหนักด้านเนื้อหามากเกินไป ข้าพเจ้าจึงแจ้งเขาว่าด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีนนั้น ข้าพเจ้าเรียนไปมากแล้วจากหนังสือภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ข้าพเจ้ายังอ่อนในด้านภาษาจีน ทั้งการพูด การฟัง และการเขียน เขาจึงจัดตารางเรียนให้ใหม่ มีครู 2 คน ครูจัง อิง สอนภาษาจีน – ไวยากรณ์ การอ่าน ส่วนครูหวัง รั่วเจียง สอนภาษาพูด นอกจากนั้นยังให้เรียนการรำมวยจีนไทเก๊ก เขียนภาพจีน เขียนตัวหนังสือ และ สีซอเอ้อร์หูด้วย เขาจัดที่พักที่สบายให้ในมหาวิทยาลัย มีพร้อมทุกอย่าง (เป็นหอพักที่จัดสำหรับศาสตราจารย์ทรงคุณวุฒิ ชาวต่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งเชิญมาสอนหรือมาร่วมค้นคว้าวิจัย)”
พระองค์ ทรงมีพระจริยวัตรที่งดงามและปฏิบัติตนเฉกเช่นเดียวกับสามัญชนคนธรรมดา ทรงเป็นกันเองกับพระอาจารย์ทุกคน นอกจากจะทรงไม่ถือพระองค์แล้ว ยังทรงมีพระอารมณ์ขันอีกด้วย และไม่ว่าจะทรงเรียนวิชาใดก็ตั้งพระทัยเรียนอย่างจริงจัง ทรงเคยตรัสว่า “ภาษา จีนนั้นสามารถนำคนเข้าสู่อาณาจักรแห่งความรู้อันอุดมไพศาลแหล่งหนึ่งของโลก ได้อย่างสมบูรณ์ ยิ่งศึกษาก็ยิ่งตระหนักในขอบเขตอันกว้างขวางลุ่มลึกนั้น”
ด้านดนตรีของจีน อย่าง ซอเอ้อร์หู ซึ่งเป็นซอสองสายที่สมเด็จพระเทพฯได้ทรงมีโอกาสเรียน พระองค์ก็ตรัสด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนกับพระอาจารย์ผู้สอนว่า ....พระอาจารย์ที่เคยสอนดนตรีไทยเคยบอกว่า พระองค์ทรงเล่นดนตรีไทยได้ทุกอย่าง แต่ทรงเล่นได้ไม่ดีสักอย่าง เพราะเป็นคนใจร้อน ดังนั้นเมื่อได้ทรงมีโอกาสเรียน สีซอเอ้อร์หู ของจีน จึงทรงมานะพยายามฝึกอย่างแข็งขัน ซึ่งทำให้พระองค์ทรงสีซอเอ้อร์หูได้ไพเราะขึ้นมาก ทรงยอมรับว่าซอเอ้อร์หูนั้น ต้องรวบรวมจิตใจให้สงบและต้องรู้จักผ่อนคลาย
พระองค์ทรงบอกกับอาจารย์ที่ถวายการสอนว่า “เมื่อ กลับเมืองไทย จะให้ทูลกระหม่อมพ่อ(พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) และสมเด็จแม่ (สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ) ทรงเล่นดูบ้าง เพราะทรงเป็นนักดนตรีทั้งสองพระองค์ และอาจจะเป็นประโยชน์ต่อพระพลานามัยของทูลกระหม่อมพ่อด้วย เพราะทรงมีพระพลานามัยไม่สู้ดีนักในช่วงที่ผ่านมา”
พระ อาจารย์ผู้ถวายการสอน ได้ฟังดังนั้น ก็รู้สึกซาบซึ้งในความรักความห่วงใยและความกตัญญูของเจ้าหญิงแห่งสยามที่ทรง มีต่อพระบรมชนกนาถยิ่งนัก
นอก จากภาษา วัฒนธรรม และดนตรีจีนแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ยังได้ทรงเรียนการเขียน ลายสือศิลป์จีน การวาดภาพแบบจีน และการฝึกรำมวยไทเก๊ก ซึ่งพระองค์ทรงรู้สึกสำราญพระทัยในการเรียนทุกวิชา และทรงรู้สึกว่า ลายสือศิลป์จีน รำมวยจีน และดนตรีจีน สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ ทำให้เกิดสมาธิ ยามใดที่ทรงรู้สึกหงุดหงิดอารมณ์ร้อน เมื่อได้ทรงคัดลายสือศิลป์จีน จะทำให้กลับมีอารมณ์ดีได้
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ประธานาธิบดี เจียง เจ๋อหมิน และภริยา เข้าเฝ้าฯ ณ พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2542
ปี พ.ศ. 2543
สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และนายหู จิ่นเทา รองประธานาธิบดีจีน ตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ ณ บริเวณจัตุรัสเทียนอันเหมิน หน้ามหาศาลาประชาคม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2543
ปี พ.ศ. 2543
สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ประธานาธิบดี เจียง เจ๋อหมิน เข้าเฝ้าฯ ณ เรือนรับรองเตี้ยวอี่ว์ไถ กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2543
สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ ไม่เพียงแต่ทรงเชี่ยวชาญด้านภาษา วัฒนธรรม และวรรณคดี หากยังทรงสนพระทัยในด้านประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งทรงมีจุดยืนที่ชัดเจนเที่ยงธรรม
ทรงเคยตรัสกับนัก ศึกษาชาวจีนที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ เปรียบเทียบนโยบายชาวจีนโพ้นทะเลของประเทศไทยและอินโดนีเซียหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ว่า “คนจีนในประเทศไทยไม่ได้ถูกมองว่าเป็นคนต่างชาติ พวกเขามีสิทธิเท่าเทียมกับคนไทยทุกประการ นายกรัฐมนตรีไทยหลายคนก็เป็นลูกหลานจีน พวกเขามีเชื้อสายจีน แต่เป็นคนไทยยุคของจอมพล ป. พิบูลสงคราม สั่งปิดโรงเรียนจีน ไม่ยอมให้เรียนภาษาจีน คนจีนก็เลยต้องแอบเรียน นโยบายอย่างนี้ไม่ถูกต้อง”
นอก จากนั้น พระองค์ยังทรงเข้าใจที่คนจีนให้ความสำคัญกับการศึกษาของบุตรหลานเป็นอย่าง มาก ทรงเคยตรัสว่า “ฉันมีเพื่อนหลายคนเป็นลูกหลานจีน พวกเขาเป็นรุ่นที่สองของชาวจีนอพยพ บางคนก็เป็นรุ่นที่สามแล้ว มีบางคนไม่เข้าใจที่ฉันคบกับลูกหลานจีน ฉันก็บอกพวกเขาว่า คนจีนสนใจการศึกษาของลูกหลานมาก ที่มหาวิทยาลัย นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่มีเชื้อจีน ถ้าฉันไม่เป็นเพื่อนกับพวกเขาแล้ว จะเป็นเพื่อนกับใครล่ะ”
สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงจัดงานดนตรี “สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน” ขึ้นที่โรงละครเป่าลี่ กรุงปักกิ่ง และทรงแสดงพิณโบราณจีน (กู่เจิง) โดยนายเฉียน ฉีเชิน รองนายกรัฐมนตรีจีน ได้เข้าชมงานดังกล่าวและได้เข้าเฝ้าฯ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2545
ปี พ.ศ. 2545
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นาย หลี่ เผิง ประธานคณะกรรมการประจำสมัชชาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2545
ปี พ.ศ. 2546
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงต้อนรับประธานาธิบดี หู จิ่นเทา ณ สนามบินดอนเมือง ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2546
ไม่ เพียงชาวจีนโพ้นทะเลเท่านั้น ที่พยายามจะให้ลูกหลานได้เล่าเรียนสูงๆ ...ในจีนแผ่นดินใหญ่ก็เช่นเดียวกัน รัฐบาลจีนพยายามส่งเสริมให้ทุกคนได้มีการศึกษาสูงที่สุดโดยเท่าเทียมกัน และยังมีการเปิดให้ผู้ที่สนใจและไม่จำเป็นต้องมีฐานะร่ำรวย บริจาคเงินเพื่อให้เด็กได้รับการศึกษา
ซึ่งสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ ทรงประทับใจแนวคิดดังกล่าวมาก ถึงกับทรงร่วมอุปถัมภ์ส่งเด็กจีนเรียนหลายคน โดยได้ทรงปฏิบัติเช่นนี้กับเด็กไทยในประเทศมาก่อนหน้าเป็นเวลานานแล้ว
และ ทรงมีพระราชดำริด้วยว่า ทรงอยากส่งนักเรียนไทยที่ยากจนในพระราชูปถัมภ์ ไปศึกษาต่อด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่ประเทศจีน เพราะปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลายแขนงของจีนรุดหน้าไปมาก ใน อดีตนั้นมักคิดกันว่า ถ้าจะเรียนภาษาและวัฒนธรรมของจีน จึงค่อยไปประเทศจีน หากจะเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะต้องไปยุโรปหรืออเมริกา แต่ขณะนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว
หลังจากช่วงเวลา 1 เดือนแห่งการเรียนภาษาและวัฒนธรรมจีนเพิ่มเติม ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง สิ้นสุดลง ทางมหาวิทยาลัยก็ได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระองค์ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2544 ในฐานะที่ทรงมีคุณูปการอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความเจริญของประเทศไทย ส่งเสริมความก้าวหน้าและสันติภาพของมนุษยชาติ ทั้งยังทรงมีบทบาทโดดเด่นในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน - ไทย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงตรัสตอบว่า “แต่ นี้ไปภายหน้า จะไม่เพียงพยายามทำงานส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างไทย - จีนให้มากขึ้นเท่านั้น แต่จะพยายามมีส่วนในการสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่วัฒนธรรมของโลกและ ของมนุษยชาติให้มากยิ่งขึ้นด้วย”
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ประธานาธิบดี หู จิ่นเทา และภริยา เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2546
ปี พ.ศ. 2547
สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้ นายอู๋ ปังกั๋ว ประธานคณะกรรมการประจำสมัชชาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน เข้าเฝ้าฯ ณ มหาศาลาประชาคม กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547
ปี พ.ศ. 2547
นาย เฉิน เฮ่าซู ประธานสมาคมมิตรภาพวิเทศสัมพันธ์แห่งประเทศจีน ได้ทูลเกล้าถวายพระราชสมัญญา “ทูตสันถวไมตรีไทย - จีน” แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้
ความ พยายามกระชับความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย - จีนของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไม่เพียงเป็นที่ประจักษ์ของมหาวิทยาลัยปักกิ่งเท่านั้น ก่อนหน้านี้กระทรวงศึกษาธิการของจีนก็ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย “รางวัลมิตรภาพภาษาและวัฒนธรรมจีน” แด่พระองค์มาแล้ว เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2543
และ สมาคมมิตรภาพวิเทศสัมพันธ์แห่งประชาชนจีน ก็ได้ถวายพระสมัญญานามพระองค์ให้ทรงเป็น “ทูตสันถวไมตรี” เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 ด้วย
แม้ ว่า เวลาที่พระองค์ได้ทรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมจีนที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งจะผ่านไป 4 ปีแล้ว แต่พระองค์ก็ยังทรงประทับใจและทรงปรารถนาที่จะได้กลับไปเรียนที่นั่นอีก ครั้ง ดังที่ได้เคยตรัสในงานสัมมนา ”บนเส้นทางความสัมพันธ์ไทย - จีน” เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2548 ว่า
“เมื่อ เดินทางไปเมืองจีนครั้งที่ 19 คือ เมื่อ สิงหาคม ปีที่แล้ว(ปี 2547) ได้ไปประชุมที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง คือจะมี 2 ประชุม มีประชุมการศึกษากับจีนฟอรัม อาจารย์ท่านก็ถามว่า วันเกิดอยากได้ของขวัญอะไร ก็ถ้าจะเอาแจกงแจกันอะไรก็ไม่มีที่ไว้แล้ว ก็เลยจริงๆ ก็อยากจะบอกว่า อยากขอทุนการศึกษาไปอยู่สัก 3 เดือน ไปทีหนึ่งติดใจ ก็ติดใจจริงๆ นอกจากไปเรียนภาษาแล้ว เขาก็ได้จัดเนื้อหาที่เรียน ความจริงเขาให้ตำแหน่งไว้เป็นนักวิจัยสังคม ได้ดูเกี่ยวกับสังคมจีน ก็ไปดูที่ที่มีกิจกรรมต่างๆ เช่น โรงเรียน สถานทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ เป็นต้น ตอนนี้ระบบการศึกษาของจีนที่เขามีให้ใครๆก็ได้ ชาวบ้านคนธรรมดาสามารถที่จะบริจาคเงินไป และให้เด็กที่ยากจนมีโอกาสได้รับการศึกษา โดยที่ว่าเราไม่ต้องเป็นเศรษฐี มีเงินนิดหน่อยก็ให้ได้ เขาก็ยกตัวอย่างเช่น มีอาหยีคนหนึ่งที่ไปเดินชอปปิง เห็นเสื้อสวย อยากได้ก็จริง แต่เงินจำนวนนี้ไปช่วยชีวิตคนได้มากกว่า ก็ให้ไป ก็เลยอยากให้บ้าง ตอนนี้ก็ได้ส่งนักเรียนจีนเรียนโรงเรียนทั้งประถม มัธยม และมหาวิทยาลัยอยู่หลายคนเหมือนกัน เมื่อตอนที่เราเกิดเหตุสึนามิ เด็กเหล่านี้รวมๆ เงินกันส่งเงินมาให้ เป็นเงินเบี้ยเลี้ยงที่เราให้เขาไป เขาเก็บได้เขาก็ส่งมา บอกว่าเอามาให้ช่วยคนไทยที่ประสบภัย ก็เป็นน้ำใจของเด็กเขา”
สมเด็จพระเทพฯ ทรงตั้งพระทัยว่าหากได้ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งอีกครั้ง ทรงอยากจะเรียนวิทยาศาสตร์และชีววิทยา เพราะ จีนมีความโดดเด่นในด้านดังกล่าว ไม่แน่ว่าสิ่งที่พระองค์ทรงตั้งพระทัยเอาไว้ อาจจะเป็นจริงได้ในอนาคตอันใกล้นี้ เพราะการได้ทรงร่ำเรียนที่ประเทศจีน มิเพียงช่วยเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในภาษาและวัฒนธรรมจีนหรือวิชาการแขนง ต่างๆแก่พระองค์เองท่านั้น แต่คณาจารย์ชาวจีนก็ได้รับความรู้เกี่ยวกับประเทศไทย คนไทย และวัฒนธรรมของไทยจากพระองค์ ที่ทรงบอกเล่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเรียนด้วยเช่นกัน
ความ ประทับใจและใฝ่ศึกษาเกี่ยวกับประเทศจีนของสมเด็จพระเทพฯ ไม่เพียงแต่สะท้อนจากที่ทรงหวังจะได้ไปศึกษาเพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง อีกครั้งเท่านั้น แต่การเสด็จฯ ไปเยือนจีนทุกปีในช่วงที่ผ่านมา ก็เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดี ซึ่งหลายครั้งที่เสด็จฯไปเยือนประเทศจีน ก็จะทรงถ่ายทอดประสบการณ์ของการเยือนเป็นพระราชนิพนธ์ให้คนไทยได้อ่านด้วย
ตัวอย่างเช่น หลังเสด็จฯ เยือนจีนครั้งแรกเมื่อปี 2524 ได้ทรงพระราชนิพนธ์สารคดีท่องเที่ยวเรื่อง “ย่ำแดนมังกร” ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่ตามมา ได้แก่ “มุ่งไกลในรอยทราย”, “เกล็ดหิมะในสายหมอก” ,“ใต้เมฆที่เมฆใต้”, “เย็นสบายชายน้ำ”, “คืนถิ่นจีนใหญ่” และ “เจียงหนานแสนงาม” เป็นต้น
ทุก พระราชนิพนธ์ของพระองค์ ไม่เพียงจะจุดประกายให้คนไทยนิยมไปเที่ยวประเทศจีนมากขึ้น แต่ยังช่วยให้คนไทยมีความเข้าใจในประเทศจีน คนจีน และวัฒนธรรมของจีนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
จึงเป็นคำที่เหมาะสมกับพระองค์ท่านเป็นที่สุด
Yuanmingyuan Park
The Great Wall
Yangtze River
Shanghai
Railway Station
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
อารายเหรอ