วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ยานใต้น้ำฝีมือคนไทย

ยานใต้น้ำฝีมือคนไทย



พริ้วน้ำที่หัวเรือแตกเป็นฝอยขาวแหวกออกเป็นทางขณะที่เรือฟริเกตของราชนาวี
ไทยเคลื่อนตัวไปข้างหน้าพร้อมกับสัญญาณโซนาร์ที่ส่งออกจากโดมที่ติดอยู่ใต้ท้องเรือแผ่กระ
จา ยออกไปรอบทิศเพื่อค้นหาเป้า ที่กำลังลดเลี้ยว ซ่อนพรางตนเองอยู่ใต้สมุทร รอโอกาสและ จัหวะที่จะเข้าจู่โจมก่อกวนฝ่ายที่พยายามฝึกการค้นหาตามยุทธวิธีของการปราบ เรือดำน้ำ อัน เป็นภารกิจหนึ่งที่สำคัญยิ่งของกองทัพเรือ
แม้ในอดีตที่ผ่าน การฝึกในลักษณะที่กล่าวมาข้างต้นจะประสบกับอุปสรรคสำคัญ มาโดยตลอด เนื่องจาก กองทัพเรือไม่มี “ เรือดำน้ำ ” อยู่ในประจำการ ทั้งที่เมื่อกว่า ๖๐ ปี ที่แล้วราชนาวีไทยเป็นชาติแรกในภูมิภาคอินโดจีนที่มีเรือดำน้ำ อันมีที่มาจากเรือ ส หรือสับมา รีน ( Submarine) ตามที่ จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรม ราชชนก ทรงมีพระดำริและจัดทำรายงานโครงการไว้ เมื่อครั้งที่ทรงดำรงพระยศเป็นนายเรือ โทรับราชการอยู่ในกองทัพเรือ เป็นเวลา ๙ เดือน ๑๑ วัน
เมื่อปราศจากเรือดำน้ำกองทัพเรือจึง ต้องรอคอยโอกาสที่เรือดำน้ำจากมิตรประเทศ จะเดินทางเข้ามายังน่านน้ำไทยและอาศัยช่วงเวลาดังกล่าวทำการฝึกโดยใช้เรือดำ น้ำต่างชาติ เป็นเป้าในการค้นหา ซึ่งความเป็นไปดังกล่าว ทำให้การฝึกปราบเรือดำน้ำของกองทัพเรือ ไม่ ได้ผลอย่างเต็มที่
จากปัญหาดังกล่าว ทำให้คณะนักวิจัยของกองทัพไทย พร้อมด้วยนักวิทยาศาสตร์
วิศวกร และช่างเทคนิค ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมกันจัดทำโครงการวิจัยและพัฒนา ยานใต้น้ำไร้คนขับ เพื่อใช้เป็น “ เป้าฝึกปราบเรือดำน้ำ ” สำหรับกองทัพเรือ ซึ่งนอกจากจะ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการเผชิญกับภัยคุกคามใต้ทะเลที่อาจเกิดขึ้นใน อนาคตแล้ว ยังจะเป็นไปตามนโยบายการพึ่งพาตนเองของกระทรวงกลาโหมอีกทางหนึ่งด้ว

910902a20copy

อุปกรณ์ภายในตัวยานใต้น้ำ

พลเรือเอก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ วีรวัฒน์ วงษ์ดนตรี หัวหน้าคณะนายทหารฝ่าย เสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา อดีตเจ้ากรมอู่ทหารเรือ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะนักวิจัย หรือนาย ทหารโครงการกล่าวว่า “โครงการวิจัยและพัฒนายานใต้น้ำไร้คนขับเพื่อใช้เป็น เป้าฝึกปราบ เรือดำน้ำ ดำเนินการลุล่วงมาแล้วในขั้นที่ ๑ โดยคณะวิจัยสามารถสร้างยานใต้น้ำที่มีคุณ ลักษณะคล้ายกับเป้าฝึกปราบเรือดำน้ำของต่างประเทศ แต่มีราคาถูกกว่าโดยใช้งบประมาณ เพียง ๓ แสนบาท และโครงการดังกล่าวได้รับรางวัลชมเชยจากสภาวิจัยแห่งชาติ เมื่อปี ๒๕๔๓ ” แม้ โครงการในขั้นที่ ๑ จะประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้แต่ก็ยัง ไม่เป็นที่พอใจของคณะวิจัย เนื่องจากยานใต้น้ำดังกล่าวยังมีข้อจำกัดหลายประการ อาทิ ตัว ยานยังมีปัญหาการรั่วซึมที่เปลือกเรืออันเนื่องมาจากการขึ้นรูปโลหะการแล่น ใต้น้ำ ซึ่งใช้พลัง งานแบตเตอรี่เช่นเดียวกับเรือดำน้ำธรรมดา ยังไม่สามารถตั้งโปรแกรมกำหนดทิศทางได้ตาม ความต้องการ ทำให้ยานฯ แล่นด้วยตนเองในลักษณะอิสระ หรือ RANDOM อยู่ในความลึก ประมาณ ๓๐ เมตร อีกทั้งยังมีปัญหาความยุ่งยากในการเก็บกู้ขึ้นมาใช้งานใหม่หลังจากยาน ลอยตัวขึ้นมาเมื่อหมดพลังขับเคลื่อน

910902b20copy

ยานใต้น้ำขณะทดสอบในถังทดลอง


นอก จากนี้ ไฮโดรโฟนของยานยังส่งสัญญาณเสียงใต้น้ำได้ไม่มากพอ ทำให้การ ตรวจจับสัญญาณของพนักงานโซนาร์บนเรือผิวน้ำกระทำได้เฉพาะในระยะใกล้ และเป็นการ ตรวจจับโดยอาศัยเสียงที่ส่งมาจากเป้าฝ่ายเดียว ( PASSIVE MODE) ไม่ใช่การตรวจจับ โดยสัญญาณที่เรือผิวน้ำส่งไปกระทบเป้าและสะท้อนกลับมา ( ACTIVE MODE) การวิจัย
และพัฒนาในขั้นที่ ๒ จึงมุ่งที่จะปรับปรุงยานใต้น้ำไร้คนขับหรือเป้าฝึกปราบเรือดำน้ำ
จาก ขั้น ที่ ๑ ให้มีสมรรถนะดีขึ้นในทุก ๆ ด้าน กล่าวคือพัฒนาโปรแกรมควบคุมให้สามารถตั้งค่าตัว แปรต่าง ๆ เพื่อกำหนดทิศทางและรูปแบบลักษณะการเคลื่อนที่ตามที่ผู้ใช้ต้องการแทนที่ยาน จะเคลื่อนที่แบบอิสระตามวิถีของมันเอง

นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงไฮโดรโฟนของยานให้สามารถส่งสัญญาณเสียงได้ดัง
ขึ้นและไกลขึ้นในลักษณะเดียวกับสัญญาณเสียงจากเรือดำน้ำจริงเพื่อให้พนักงานโซนาร์
สามารถ ตรวจจับได้จากระยะไกล ซึ่งเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงซึ่ง เรือผิวน้ำจะ ต้องค้นหา สัญญาณเสียงของเป้าใต้น้ำให้ได้ตั้งแต่ระยะไกลก่อนที่เรือดำน้ำจะเข้ามาสู่ ระยะ อันตราย
และเนื่องจากกองทัพไทยมีงบประมาณจำกัด การพัฒนาและปรับปรุงในขั้นที่ ๒ จึงเพิ่มคุณลักษณะให้ยานสามารถส่งสัญญาณกลับมายังเรือผิวน้ำ หลังจากที่มันลอยลำขึ้นเมื่อ หมดพลังขับเคลื่อน เพื่อให้สามารถเก็บกู้ได้อย่างสะดวกและนำกลับมาใช้งานได้อีกอันจะเป็น การประหยัดและคุ้มค่าต่อการลงทุน
ยานใต้น้ำไร้คนขับ หรือเป้าฝึกปราบเรือดำน้ำในขั้นที่ ๒ นี้ มีความยาวประมาณ
๓ เมตร รูปร่างคล้ายตอร์ปิโด น้ำหนักประมาณ ๓๐๐ กิโลกรัม ทำความเร็วได้ ๕ นอต ดำได้ลึก ๓๐ เมตร อยู่ใต้น้ำได้นาน ๙๐ นาที

910902c20copy

ปล่อยยานให้ดำลงตามโปรแกรมที่ตั้งไว้


พลเรือเอก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ วีรวัฒน์ ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ ความก้าวหน้าของโครงการในปัจจุบันอยู่ในระยะสุดท้าย ซึ่งจะเป็นการทดสอบ การทำงานของยานใต้น้ำในทะเลบริเวณอ่าวสัตหีบจังหวัดชลบุรี และจะปิดโครงการภาย ในวัน ที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑ เพื่อส่งมอบยานใต้น้ำไร้คนขับจำนวน ๓ ลำ ให้กองทัพเรือไว้ใช้ ราชการ ต่อไป ”
“ สิ่งที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งก็คือโครงการนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกอง ทัพ กับหน่วยงานพลเรือนและภาคเอกชน ได้แก่กรมอู่ทหารเรือ กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ คณา จารย์ และนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมการบินและอากาศยาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถา บันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยและบริษัทนนทรีจำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ ประกอบธุรกิจด้านการสร้างเครื่องจักรสำหรับงานอุตสาหกรรม

910902d20copy

เจ้าหน้าที่กับยานใต้น้ำหลังทดลอง

บุคลากร จากทุกภาคส่วนที่กล่าวมานี้ ได้ทำงานร่วมกันมาอย่างยาวนานเป็นเวลา หลายปีด้วยความวิริยะอุตสาหะ โดยไม่ย่อท้อบนความมุ่งหมายเดียวกัน ซึ่งนอกเหนือไปจาก เพื่อให้ได้มาซึ่งยานใต้น้ำอันเป็นเป้าหมายแล้ว

910902e20copy

ภาพวาดยานใต้น้ำก่อนสร้างจริง


การแสดง บทบาทของ “ นักวิจัยคนไทย ” บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง ยังจะ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่อาจเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้มีความรอบรู้เชี่ยวชาญใน สาขาอื่น ๆ หันมา ใช้ศักยภาพของตนเองและหมู่คณะในอันที่จะริเริ่มและขับเคลื่อนงานวิจัยตลอดจน สิ่งประดิษฐ์
ใหม่ ๆในหลากหลายรูปแบบที่จะยังประโยชน์แก่สังคมไทยและประเทศชาติ ในอนาคตอีกทาง
หนึ่งด้วย





ข้อมูลอ้างอิงวารสารกองทัพเรือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ