วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ลิขสิทธิ์



ลิขสิทธิ์


นำมาจาก : ลิขสิทธิ์งานที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นของลูกจ้างหรือนายจ้างกันแน่

เขียนโดย โกวิท ทาตะรัตน์ จาก bunditcenterดอทคอม






















เคยสงสัยกันบ้างไหมครับว่าแท้จริงแล้ว ลิขสิทธิ์ของงานที่ลูกจ้างทำให้นายจ้างเนี่ย เป็นของลูกจ้างหรือของนายจ้างกันแน่



เพราะกฎหมายลิขสิทธิ์ก็บอกว่า ลิขสิทธิ์งานชิ้นใดๆก็ย่อมเป็นของบุคคลที่สร้างสรรค์งานนั้นๆ ขึ้นมา อ้าว.. งงแล้วสิ มันยังไงกันแน่นะ



ปัญหา มันคงจะไม่เกิด หากลูกจ้างนั้นยังคงทำงานกับนายจ้างต่อไป แต่ปัญหาเริ่มจะเกิดเมื่อลูกจ้างลาออกแล้วนั่นเอง ก็เลยสงสัยกันว่าใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่ลูกจ้างได้สร้างสรรค์ขึ้น ในระหว่างเวลาที่ทำงานอยู่กันแน่



ลิขสิทธ์จะเป็นลูกจ้างหรือนายจ้างหรือองค์กรบริษัทที่เป็นนิติบุคคล เรามีกรณีศึกษามาให้ดูกันครับ





คำ พิพากษาฎีกาที่ 9523/2544 นายพิชิต เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานด้านสินเชื่อของ บริษัทเกียรติซึ่งเป็นนายจ้างของเขา ..จึงถือว่านายพิชิตเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ตนได้สร้าง สรรค์ขึ้น ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ มาตรา 8 ซึ่งกำหนดว่า “ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้น......” แม้นายพิชิตจะสร้างงานชิ้นนี้เพื่อใช้ในกิจการของบริษัทเกียรติในฐานะ ลูกจ้าง



แต่ มาตรา 9 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ กำหนดว่า “งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงาน หรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธินำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามที่เป็นวัตถุประสงค์ แห่งการจ้างแรงงานนั้น”




ด้วยเหตุนี้ ทำให้นายพิชิตเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นี้ แต่บริษัทเกียรติได้รับอนุญาตโดยกฎหมายให้นำงานไปใช้ประโยชน์ได้ตลอดเวลาที่ นายพิชิตยังเป็นลูกจ้างอยู่




ต่อมา นายพิชิตได้ลาออกจากบริษัทและไม่ประสงค์จะอนุญาตให้นายจ้างใช้โปรแกรมดัง กล่าวนี้ต่อไป เขาย่อมมีสิทธิทวงถามให้นายจ้างคืนโปรแกรมนั้นได้ เมื่อบริษัทเกียรติไม่ยอมคืน และยังใช้โปรแกรมดังกล่าวต่อไป อันมีลักษณะเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของนายพิชิตโดยมิชอบ ย่อมทำให้ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าบริษัทเกียรติทำละเมิดต่อนายพิชิต จำต้องจ่ายค่าเสียหาย




แม้คดีนี้นายพิชิต ซึ่งเป็นโจทก์จะนำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าได้รับความเสียหายอย่างใด และเป็นเงินเท่าใดก็ตาม ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามพฤติการณ์ และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 ได้




โดย ต้องจ่ายค่าเสียหายนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดให้คืนโปรแกรม ตามที่โจทก์มีหนังสือแจ้งระงับการใช้ไปยังบริษัท ซึ่งถือเป็นวันที่บริษัททำละเมิด และโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้ตามกฎหมาย มิใช่นับจากวันที่นายพิชิตลาออก




จะเห็น ได้ว่า กฎหมายกำหนดให้ลิขสิทธิ์เป็นของลูกจ้างอย่างชัดเจน หากไม่ได้มีการทำข้อตกลงยกเว้นเอาไว้ว่า ให้ผลงานลิขสิทธิ์ที่ลูกจ้างสร้างสรรค์ขึ้นเป็นของนายจ้าง เพราะถ้ากำหนดไว้เช่นนั้นแล้ว แม้ลูกจ้างลาออกไป นายจ้างก็ยังคงหาประโยชน์จากงานนั้นได้ โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด




ทาง ที่ดี เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ คุณๆ ที่เป็นเจ้าของกิจการทั้งหลาย เมื่อตอนว่าจ้างพนักงาน ก็ควรให้เขาเซ็นหนังสือยินยอมให้งานทุกชิ้นที่สร้างสรรค์ในระหว่างการทำงาน เป็นลิขสิทธิ์ของนายจ้าง เพื่อเป็นการตัดไฟเสียแต่ต้นลมครับ.


















รู้จัก โกวิท ทาตะรัตน์


โกวิท ทาตะรัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปัจจุบันทำธุรกิจร่วมกับภรรยา โดยโกวิทเป็น Webmaster และ Project Manager ของ gomewดอทคอม ที่จังหวัดเชียงใหม่ และยังคงทำงานช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ประชาชนทั่วไป ที่ loyerthaiดอทคอม


















โดย yyswim

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ