วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

"เจ้าจอมสดับ" ในรัชกาลที่ 5...ผู้ถวายความจงรักภักดีจนลมหายใจสุดท้าย!!!

"เจ้าจอมสดับ" ในรัชกาลที่ 5...

ผู้ถวายความจงรักภักดีจนลมหายใจสุดท้าย!!!


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
แสง เทียนเจิดจ้าตัดกับความมืดสลัว ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า

ทุกค่ำคืนจะมีบรรดาพสกนิกรหลากหลายอาชีพ มานั่งสวดคาถาชินบัญชรเพื่อ

ถวายความจงรักภักดีแด่องค์รัชกาลที่ 5 ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชน

ชาวไทยอย่างอเนกอนันต์

คำว่า “ จงรักภักดี” มีความหมายมากมายเพียงใดนั้น สัมผัสได้จาก

ผู้หญิงคนนี้... เจ้าจอมสดับในรัชกาลที่ 5 เนื่องด้วยตลอดชีวิต 93 ปีของท่าน

ไม่มีวันใดที่จะหยุดแสดงความเทิดทูนจงรักภักดีในฐานะภริยา

และข้าของแผ่นดิน















** ชีวิตในวังหลวง

หม่อมราชวงศ์สดับ นามเดิมว่า “ สั้น” เกิด เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม

พ.ศ. 2433 ที่วังกรมหมื่นภูมินทรภักดี หรือวังท่าเตียน ย่านปากคลองตลาด

เป็นธิดาของหม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ ในกรมหมื่นภูมินทรภักดี และหม่อมช้อย



ครั้นเมื่อท่านเจริญวัยอายุได้ 11 ขวบ หม่อมเจ้าเพิ่มลาออกจากราชการ

ในตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และย้ายครอบครัว

ไปอยู่เมืองราชบุรี จึงได้นำธิดาคนนี้ไปอยู่ในวังของ พระวิมาดาเธอ

กรมพระสุทธาสินีนาฎ พระอัครชายา ต่อมาสมเด็จหญิงพระองค์ใหญ่

(เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรุมขุนพิจิตรเจษฏ์จันทร์)

พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 ได้ประทานนามใหม่ว่า “สดับ”



ชีวิต ในพระบรมมหาราชวังนั้น ม.ร.ว.สดับได้รับการอุปถัมภ์อยู่ในตำหนัก

พระวิมาดาเธอฯ เยี่ยงพระญาติ โดยโปรดให้เรียนหนังสือจากครูทั้งภาษาไทย

และอังกฤษ รวมถึงฝึกหัดให้เป็นกุลสตรีชาววังที่จะต้องเรียนรู้ทั้งด้านงานฝีมือ

เครื่องอาหารคาวหวาน



ด้วยเป็นเด็กหญิงที่คล่องแคล่วทะมัดทะแมงเฉลียวฉลาด จึงเป็นที่โปรด

ปรานของเจ้านายทุกพระองค์ โดยท่านมีหน้าที่ตามเสด็จพระวิมาดาเธอฯ

ในกระบวนเสด็จทุกงาน ซึ่งท่านได้บันทึกถึงความรู้สึกในช่วงนั้นว่าสนุกสนาน

มาก เพราะได้แต่งตัวสวยและได้ออกงานกับเจ้านาย





เจ้าจอม ม.ร.ว.สดับ ลดาวัลย์


** “แม่เสียงเพราะเอย...”



ม.ร.ว.สดับ
มาเรียนรู้เรื่องดนตรีและขับร้องเพลงเมื่อตอนอายุ 14

ปี ด้วยเหตุที่รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรเมื่อปี 2447 พระวิมาดาเธอฯ

จึงทูลเชิญเสด็จมาประทับที่พระที่นั่งวิมานเมฆ โดยจัดการทุกสิ่ง

ทุกอย่างถวายเพื่อทรงสำราญพระทัย ซึ่งนอกจากเรื่องเครื่องเสวยแล้ว

ยังทรงให้ข้าหลวงที่ร้องเพลงเป็นจัดเป็นกลุ่มขึ้นขับร้องเพลงถวาย

เริ่มตั้งแต่ 3 ทุ่มไปจนถึง 2ยาม เสด็จเข้าในที่แล้วจึงเลิก



ด้วยความที่เป็นคนมีน้ำเสียงไพเราะก้องกังวาน แม้ยามพูดยังมีน้ำ

เสียงนุ่มนวลน่าฟัง ม.ร.ว.สดับ จึงถูกเลือกให้เป็นต้นเสียงในการร้อง

เพลง แม้พระวิมาดาเธอฯ เกรงจะถูกครหานินทาว่าส่งเสริมหลาน

แต่ก็ถูกครูเพลงทั้งหลายร้องขอจึงจำต้องยินยอม และด้วยน้ำเสียงที่

ไพเราะนี้เอง
รัชกาล ที่ 5 ซึ่งทรงสนพระทัยในเรื่องดนตรีมาก

เมื่อทรงฟังเสียงของ ม.ร.ว.สดับแล้วทรงโปรด จึงออกพระโอษฐ์

ขอต่อพระวิมาดาเธอฯ ผู้เป็นอาและเป็นผู้ปกครองในเวลานั้น

ในที่สุด ม.ร.ว.สดับ ได้ถวายตัวรับราชการสนองเบื้องพระ

ยุคลบาท เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2449




รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเจ้าจอมสดับมากถึงขนาดทรงพระราชนิพนธ์

เพลงให้เลย คือในช่วงที่ทรงประชวรอยู่นั้น พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์

เรื่อง “เงาะป่า” ขึ้นมาเพื่อพระราชทานให้ร้องกัน และมีบทหนึ่งที่

พระองค์ท่านทรงพระราชนิพนธ์ถึงเจ้าจอมสดับว่า





กำไลมาศที่ ร.5 ทรงสวมพระราชทานเมื่อ 22 ก.พ.ร.ศ.125 (พ.ศ.2449)


.....แม่เสียงเพราะเอย น้ำเสียงเจ้าเสนาะ เหมือนดังใจพี่จะขาด…..

เจ้าจอมสดับรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท ด้วยความจงรักภักดี

จนเป็นที่สนิทเสน่หา ถึงกับพระราชทานสิ่งของมีค่าอยู่เนืองๆ โดย

เฉพาะ “กำไลมาศ” ของพระราชทานอันเป็นเครื่องแสดงถึงพระมหา

กรุณาธิคุณที่ยิ่งใหญ่ โดยเจ้าจอมสดับเขียนบันทึกในช่วงนั้นไว้สรุปว่า

ตอนนั้นเป็นงานขึ้นพระแท่นพระที่นั่งอัมพร ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงให้เล่น

ละครเรื่องเงาะป่า เพื่อเก็บเงินคนดูพระราชทานเป็นทุนให้กับ “คนัง”

เงาะป่าที่พระองค์ทรงโปรดมาก ปรากฏว่าพระวิมาดาเธอฯ ประชวร

คุณจอมสดับจึงต้องเป็นแม่งานเสียเอง โดยต้องรับใช้ในเรื่องตั้งเครื่อง

แล้วยังต้องวิ่งมานั่งร้องเพลง ร้องเสร็จก็วิ่งกลับไปยังที่ประทับ




“ร้อง เสร็จก็เป็นหน้าที่ข้าพเจ้า ตามเสด็จขึ้นไปรับใช้บน

พระที่นั่ง ในวันเฉลิมพระที่นั่งนี้ ทรงพระมหากรุณาสวมกำไล

ทองรูปตาปูพระราชทานข้าพเจ้า ทรงสวมโดยไม่มีเครื่องมือ

บีบด้วยพระหัตถ์ รุ่งขึ้นจึงต้องรับสั่งให้กรมหลวงสรรพศาสตร์

พาช่างทองแกรเลิตฝรั่งชาติ เยอรมัน นำเครื่องมือมาบีบ

ให้เรียบร้อย...”



กำไล ทองพระราชทานนี้ทำจากบางสะพาน น้ำหนักสี่บาท

ทำเป็นรูปตาปูโบราณสองดอกไขว้ปลายตาปูลีบเป็นดอกเดียวกัน

ที่วงโดยรอบสลักพระราชนิพนธ์ร้อยกรองว่า




กำไลมาศชาตินพคุณแท้ ไม่ปรวนแปรเป็นอื่นย่อมยืนสี


เหมือนใจตรงคงคำร่ำพาที จะร้ายดีขอให้เห็นเป็นเสี่ยงทาย


ตะปูทองสองดอกตอกสลัก ตรึงความรักรับไว้อย่าให้หาย


แม้รักร่วมสวมไว้ให้ติดกาย เมื่อใดวายสวาสดิ์วอดจึงถอด


เอย



ในปี 2450 รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสยุโรป ทรงมีพระราชดำริให้เจ้า

จอมสดับตามเสด็จในฐานะข้าหลวงของสมเด็จเจ้าฟ้าหญิง นิภานภดล

ถึงกับทรงสอนภาษาอังกฤษพระราชทานแก่เจ้าจอมสดับด้วยพระองค์

เองก่อนเวลาเสวย พระกระยาหารทุกค่ำคืน แต่ในที่สุดเจ้าจอมก็ไม่

สามารถตามเสด็จได้ ซึ่งท่านบันทึกความรู้สึกตอนนั้นว่า


“ข้าพเจ้ารู้สึกทุ้กข์ทุกข์ เศร้าเศร้า ตลอด 24 ชั่วโมงไม่ได้กิน

ไม่ได้นอน...” และในช่วงพระราชพิธีตอนรัชกาลที่ 5 กำลังจะสด็จนั้น

เจ้าจอมสดับหมอบซบหน้าร้องไห้อยู่ตลอดเวลา รัชกาลที่ 5 ทรงแวะ

ประทับยืน พระราชทานพระหัตถ์ให้เจ้าจอมทรงเครื่อง

ขลิบพระนขา (เล็บ) ซึ่งท่านเจ้าจอมได้เก็บไว้ใกล้ตัวตลอดมา



ครั้นเมื่อเสด็จกลับจากยุโรป ก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ

พระราชทานเครื่องเพชรนิลจินดา โดยเฉพาะ เครื่องเพชรชุด

ใหญ่ที่ทรงสั่งทำจากยุโรป โดยมีพระประสงค์ให้เป็นหลักทรัพย์

เลี้ยงชีพในอนาคตแทนตึกแถว



** ทุกข์อย่างใหญ่หลว

หลังจากรัชกาลที่ 5 เสด็จกลับจากประพาสยุโรปไม่นานพระองค์

ทรงประชวรและสวรรคต ซึ่งเจ้าจอมสดับบันทึกความรู้สึกในเวลานั้นว่า



“ใจ คิดเสียสละได้ทุกอย่าง จะอวัยวะ หรือเลือดเนื้อ

หรือชีวิต ถ้าเสด็จกลับคืนมาได้ ข้าพเจ้าคิดว่า เป็นใจที่ติด

แน่วแน่ตายแทนได้ ไม่ใช่พูดเพราะๆ ...คุณจอมเชี้อเอาผ้าเช็ด

หน้าผืนหนึ่งส่งมาให้ข้าพเจ้าบอกว่า ท่านประทานไว้ซับพระบาท

ข้าพเจ้าเอาผ้าที่ซับพระบาทแล้วพันมวยผมไว้

แล้วก็นั่งร้องไห้กันต่อไป...”



ตลอด เวลาประดิษฐานพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

8 เดือนเต็ม เจ้าจอมสดับก็ได้สนองพระมหากรุณาธิคุณเป็น

ครั้งสุดท้าย ด้วยการเป็นต้นแบบ “นางร้องไห้” หน้าพระบรมศพ

และถือเป็นประเพณีนางร้องไห้ครั้งสุดท้ายและชุดสุดท้ายของ

กรุงรัตนโกสินทร์ เพราะหลังจากนั้นก็ไม่มีประเพณีนี้อีกเลย



เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 5 นอกจากเจ้าจอมสดับจะอยู่ใน ความทุกข์โศก

แล้ว ยังเจอกับเสียงครหาว่า ท่านเป็นหม้ายอายุเพียง 20 ปีเท่านั้น

เกรงว่าจะไม่สามารถครองตัวรักษาพระเกียรติยศอยู่ตลอดไปได้

เพราะนอกจากรูปสมบัติแล้วท่านยังมีทรัพย์สมบัติทั้งเพชรนิลจินดา

ที่ได้รับ พระราชทานไว้มากมาย อันจะเป็นเหตุให้มีผู้ชายมาหลอก

และจะทำให้เกิดความเสื่อมเสียถึงพระเกียรติยศได้



ส่วนเจ้าจอมสดับเมื่อครองตัวเป็นหม้ายนั้น ท่านตั้งใจแน่วแน่

ที่จะรักษาพระเกียรติจนชีวิตจะหาไม่ โดยท่านได้บันทึกเรื่องนี้ไว้ว่า


“ข้าพเจ้าไม่มีใจเหลือเศษที่จะรักผู้ชายใดอีกต่อจนตลอดชีวิต”


และท่านก็ได้แสดงความจงรักภักดีตราบจนวาระสุดท้ายของ

ท่านตามที่ได้ลั่นวาจาไว้


http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/638/31638/images/main/kamlaimas/K6545948.jpg



ดังนั้น เพื่อตัดปัญหาเรื่องทรัพย์สมบัติของท่าน เจ้าจอมสดับ

จึงถวายคืนเครื่องเพชรพระราชทานแม้ว่าจะเป็นเครื่องรำลึกถึง

ล้น เกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ก็ตาม มีเพียงของพระราชทานเล็กน้อยที่

ท่านได้เก็บเอาไว้คือ กำไลมาศ เท่านั้น เจ้าจอมสดับจึงกลายเป็น

คนไม่มีสมบัติ เพราะท่านไม่มีตึกแถวหรือทรัพย์สินอื่นๆ

ท่านจึงอยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระวิมาดาเธอฯ



หลัง จากถวายคืนแล้วเจ้าจอมสดับได้รับทราบเกี่ยวกับเครื่องเพชร

ชุดนั้นอีกครั้ง เดียวว่า ได้นำไปขายยังต่างประเทศ และนำเงินที่ได้ไป

สมทบทุนสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ข่าวนี้สร้างความยินดีให้กับเจ้า

จอมสดับอย่างมากที่จะได้สนองพระมหา กรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 5

อย่างเต็มศรัทธา



ชีวิตที่เหลืออยู่ของเจ้าจอมจึงเดินตามคำสอนของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อยึดมั่นเป็นกรอบแห่งจริยวัตรเหนี่ยวรั้งให้ใจ

สงบและปิดประตูต่อกิเลส ตัณหาทั้งปวง






** “พระธรรม” หนทางแห่งความสงบในชีวิต



เจ้า จอมสดับย้ายมาใช้ชีวิตอยู่ในวังสวนสุนันทา

ของพระวิมาดาเธอฯ ไม่นานก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ในปี 2475 เจ้านายหลายพระองค์เสด็จไประทับยังต่างประเทศ

และเป็นช่วงเวลาหลังจากที่พระวิมาดาเธอฯ สิ้นพระชนม์ไปแล้ว

เจ้าจอมสดับจึงตัดสินใจออกจาก “วัง” ไปอยู่ “วัด” ละทิ้งชีวิตสาว

ชาววัง ไปอยู่ “วัดเขาบางทราย” จ.ชลบุรี ด้วยความคิดที่อยากจะ

สร้างกรอบให้ชีวิตโดยนำหลักธรรมะเข้ามายึดเหนี่ยวจิตใจ

ไม่ให้พลัดหลงไปตามกิเลสที่พรางตาอยู่



ความร่มรื่นและความสว่างไสวแห่งเสียงพระธรรมที่พระสงฆ์สวด

กล่อมเกลา จิตใจอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน จึงทำให้เจ้าจอมตัดสินใจหันหน้า

เข้าหาพระธรรมให้เป็นที่พึ่งทางใจอย่างเป็น จริงเป็นจัง ซึ่งในช่วงแรก

ได้สมาทานอุโบสถศีลอยู่เป็นประจำ และได้ศึกษาปฏิบัติตามพระธรรม

คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในฐานะพุทธมามะกะที่ดีอย่าง

เคร่งครัด



สิ่ง หนึ่งที่ท่านเจ้าจอมปฏิบัติทุกวันมิได้ขาดคือ สวดมนต์ถวาย

พระราชสักการะและถวายพระราชกุศลแด่


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว



กระทั่ง เมื่อเจ้าจอมสดับอายุครบ 60 ปี หรือที่เรียกกันว่า

เข้าช่วงปัจฉิมวัย ท่านจึงคิดอยากจะบำเพ็ญกุศลในแซยิด

ให้พิเศษยิ่งขึ้นไปอีก จากที่เคยปฏิบัติดังเช่นทุกวัน

ท่านตัดสินใจปลงผม นุ่งขาวห่มขาว และขอประทานศีลจาก

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เพื่อที่จะได้

ปฏิบัติกายและใจให้บริสุทธิ์ตามวิธีแห่งพระพุทธศาสนา

อีกทั้งยังเป็นการอุทิศพระราชกุศลทูลเกล้าฯ ถวายแด่รัชกาลที่ 5

พระสวามีผู้เป็นที่รักยิ่ง



ครั้น เมื่อปี 2506 เจ้าจอมได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้กลับคืนมาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง

อีกครั้ง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ

พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรม

ราชานุเคราะห์ทั้งในยามดีและยามไข้ ด้วยพระราชทานพระราชทรัพย์

ส่วนพระองค์ เพื่อให้เจ้าจอมสดับใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

พอกินพอใช้และเหลือทำบุญบ้าง



แม้ ช่วงชีวิตที่เข้ามาอยู่ในวังหลวงแล้ว เจ้าจอมยัง

เดินไปฟังธรรมที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทุกวันอาทิตย์

และทุกวันธรรมสวนะมิได้ขาด จวบถึงวัย 92 ปีที่ร่างกาย

อ่อนแอเดินตามลำพังไม่ได้เท่าที่ควร แล้วจึงได้งดไป

และยังได้บริจาคเงินสมทบทุนมูลนิธิสายใจไทยเป็นประจำ

ทุกเดือนๆ ละ 1 พันบาท นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมูลนิธิฯ


** ถวายความจงรักภักดีทั้งชีวิต



ใน ชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งเช่นเจ้าจอมสดับนั้น ท่านได้แสดง

ให้เห็นถึงความจงรักภักดีที่ถวายต่อรัชกาลที่ 5 อย่างไม่มีวันสิ้นสุด

สิ่งใดที่จะกระทำได้เพื่อถวายพระเกียรติแด่พระองค์ท่านนั้น

เจ้าจอมจะเต็มใจสนองพระคุณทุกอย่างเต็มกำลัง ดังนั้น

ชีวิตของเจ้าจอมที่ดำเนินมาหลังจากที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5

สิ้นพระชนม์ชีพแล้ว ในทุกวันทุกลมหายใจจึงตั้งใจกระทำความดี

ถวายอุทิศแด่รัชกาลที่ 5 เสมอมา



ดังเช่นตลอดหลายสิบปีที่เจ้าจอมสดับใช้ชีวิตอย่างสงบอยู่ที่

วัดเขา บางทรายนั้น ท่านได้ถือศีลสวดมนต์ภาวนา จนได้ทำบันทึก

ข้อธรรมตามความรู้ความเข้าใจไว้เตือนตน ตั้งแต่ พ.ศ.2478

(เมื่ออายุได้ 45 ปี) และบันทึกเป็นช่วงๆ เกือบตลอด 40 ปี จนกลายเป็น

หนังสือขนาด 8 หน้ายก เกือบ 500 หน้า ท่านได้ให้ชื่อบันทึกธรรมนี้

ว่า “สุตาภาษิต” ซึ่งนับเป็นมรดกที่มีค่าชิ้นหนึ่งทิ้งไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง

ได้ศึกษาการเข้าถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ตามความเข้าใจ

และปฏิบัติของเจ้าจอมสดับ



กิจวัตร ที่เจ้าจอมกระทำเป็นประจำมิได้ขาดคือ

ทุกวันที่ 23 ตุลาคม อันเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของรัชกาลที่ 5

และวันที่ 1 เมษายน คล้ายวันเริ่มรับราชการสนองเบื้อง

พระยุคลบาท เจ้าจอมจะอัญเชิญพานประดิษฐานของ

พระราชทานอันมีค่าอย่างยิ่งในชีวิตของท่าน คือ พระบรมทนต์

ซึ่งแกะเป็นองค์พระและเส้นพระเจ้าบรรจุไว้ในล็อกเก็ต

รวมทั้งผ้าซับพระบาทออกสดับปกรณ์ พร้อมทั้งนิมนต์พระสงฆ์

ถวายพระราชกุศลพิเศษ




กระดาษหัวจดหมายที่ ร.5 ทรงคิดด้วยพระองค์เองเพื่อ

พระราชทานแด่ เจ้าจอม ม.ร.ว.สดับ



















ใน วันที่ 1 เมษายน 2510 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 60 ปีของการรับราชกาล

เป็นเจ้าจอมในรัชกาลทื่ 5 และเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2513 อันเป็น

วันครบรอบอายุ 80 ปี เจ้าจอมสดับก็ได้บำเพ็ญกุศลทางใจด้วย

เจริญวิปัสสนากรรมฐาน รวมสำรวมกาย วาจา ใจที่จะไม่ข้องแวะ

กับโลกภายนอก อันเป็นทางให้เกิดสมาธิชั้นสูงรวบรวมพลังจิตอุทิศ

กุศลผลบุญทั้งมวล น้อมเกล้าฯ ถวายแด่รัชกาลที่ 5 เป็นเวลา 60วัน

และ 80 วัน เป็นการทดแทนการทำพิธีเฉลิมฉลองอย่างอื่น




นอก จากนี้ ท่านเจ้าจอมยังถวายความจงรักภักดีสนอง

พระคุณต่อในหลวงองค์ปัจจุบันอย่างสุด ความสามารถเช่นกัน

ด้วยท่านเติบโตมากับวังพระวิมาดาเธอฯ ซึ่งมีชื่อเสียงทั้ง

ด้านอาหารและงานฝีมือ ดังนั้น ทุกครั้งที่ท่านสบโอกาสจะฝึก

ฝีมือในการถักนิตติ้งอยู่บ่อยครั้ง เช่น ถักถลกบาตรกรองทอง

ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมโอรสา

ธิราชฯ เมื่อเสด็จออกทรงผนวช ถักผ้าทรงสะพักกรองทองถวาย

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระราชธิดา

พระสุนิสาทุกพระองค์



ถึงแม้ว่าขณะนั้นท่านจะมีสายตาฝ้าฟางด้วยอายุที่มากขึ้นก็ตาม

แต่ท่านก็มิได้ท้อถอยแต่อย่างใด นอกจากจะเคี่ยวเข็ญถ่ายทอดการ

ถักให้หลานผู้เป็นคุณข้าหลวงตลอดจนเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องจนถัก

ได้แล้ว เจ้าจอมยังขอสนองพระมหากรุณาธิคุณด้วยการถ่ายทอด

วิชาการถักให้แก่นักเรียนใน โครงการศิลปาชีพด้วย



ด้วย เจ้าจอมสดับมีชีวิตที่ยืนยาวและเป็นผู้ที่มีจิตเมตตา

ต่อทุกคน เวลามีคนขอให้ท่านเล่าเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับรัชกาลที่ 5

ท่านจะเล่าด้วยความรู้สึกที่มีความสุขเป็นยิ่งนัก

และท่านยังได้ใช้เวลาเขียนบทประพันธ์ถึงประวัติศาสตร์สมัย

รัชกาลที่ 5 ราชประเพณีในวังหลวง อีกมากมายเพื่อให้คน

รุ่นหลังได้รับทราบ




เครื่อง เพชรพระราชทานที่เจ้า

จอม ม.ร.ว.สดับได้รับจาก ร.5

และต่อมาภายหลังเจ้าจอมได้ขาย

เครื่องเพชรชุดที่ใส่อยู่เพื่อนำเงิน

รายได้มา สมทบทุนสร้างโรง

พยาบาลจุฬาฯ


เช้า ตรู่วันพฤหัสบดีที่ 30 มิ.ย.26 ลูกหลานในตระกูลลดาวัลย์

และคนไทยหลายคนต้องเศร้าเสียใจต่อการจากไปอย่างไม่ มีวันกลับ

ของ เจ้าจอมสดับ ด้วยโรคชรา ในวัย 93 ปี ณ โรงพยาบาลศิริราช

คุณดุ๊ก-ม.ล.พูนแสง (ลดาวัลย์) สูตะบุตร
หลานสาวที่เจ้าจอมสดับ

ให้การดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ในวัยเยาว์ เล่าว่า เจ้าจอมสดับสวมกำไล

มาศติดมือจนสิ้นลมหายใจ และคุณดุ๊กเป็นคนถอดกำไลข้อมือนั้นด้วย

ตัวเอง โดยเล่าถึงสภาพของกำไลมาศว่า






“ถึง แม้ว่าคำกลอนที่จารึกไว้ในกำไลมาศจะลบเลือนไป

ตามกาลเวลา เพราะท่านสวมมาถึง 76 ปี แต่ พระปรมาภิไธย

“จุฬาลงกรณ์ ป.ร.” ที่จารึกไว้ด้านในท้องกำไลยังคงเป็นรอย

จารึกที่แจ่มชัดเช่นเดิมจนน่าประหลาด ใจมาก”



จาก นั้นคุณดุ๊กก็ได้นำกำไลมาศและของพระราชทานอันมี

คุณค่าทางจิตใจของเจ้าจอม ทั้งหมด เพื่อถวายแด่พระบาทสมด็จ

พระเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้นำของอันเป็นที่รักของเจ้าจอมสดับไว้ที่พระที่นั่งวิมานเมฆ

(ตรงห้องพระบรรทม)

เจ้า จอมสดับจึงเป็น “เจ้าจอมในรัชกาลที่ 5”

คนสุดท้าย ที่มีชีวิตยาวนานมาถึง 5 แผ่นดิน

และตลอดชีวิตของท่านได้แสดงถึงความซื่อสัตย์ จงรักภักดี

ในฐานะภรรยาที่มีต่อสามี ในฐานะข้าในรัชกาลที่ 5

และรัชกาลที่ 9 รวมถึงในฐานะข้าของแผ่นดิน







เจ้าจอม ม.ร.ว.สดับ ในวัย 74 ปีถ่ายเมื่อ พ.ศ.2507


เข็มกลัดตราพิณภายใต้พระจุลมงกุฏ ร.5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเมื่อ ร.ศ.125 (พ.ศ.2449)


http://koynarak.atcloud.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ