วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

"ไอศกรีมดอกไม้ต้านอนุมูลอิสระ"




"ไอศกรีมดอกไม้ต้านอนุมูลอิสระ"



ดอกไม้ นอกจากจะนำมาปรุงแต่งขึ้นโต๊ะอาหาร เป็นเมนูเพื่อสุขภาพระดับภัตตาคารแล้ว ล่าสุดราชภัฏบ้านสมเด็จฯ วิจัยไอศกรีมดอกไม้ต้านอนุมูลอิสระ

ผลิตภัณฑ์ ไอศกรีมดอกไม้ต้านอนุมูลอิสระ ต่อยอดมาจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำดอกไม้ ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) ที่วิจัยร่วมกับบริษัทอุตสาหกรรมขนมไทย จำกัด โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยมอบทุนวิจัย 1 แสนบาท




"เรา วิจัยดอกไม้ท้องถิ่นที่พบใน อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ตั้งแต่ปี 2550 ช่วงแรกมุ่งวิเคราะห์หาสารต้านอนุมูลอิสระ พบดอกไม้หลายชนิดมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับที่น่าพอใจ" ดร.อัจฉรา แก้วน้อย อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กล่าว


ผล วิจัยพบดอกไม้ 5 ชนิดที่โดดเด่นคือ ดาหลา ดอกเข็ม กุหลาบมอญ ดอกบัวและอัญชัน

โดย

ดอกดาหลามีสารต้านอนุมูลอิสระมากสุดถึง 84.72%

ตามมาด้วยดอกเข็ม 83.97%

กุหลาบมอญ 82.67%

เกสรดอกบัว 73.23%

และอัญชัน 26.33%


“งาน วิจัยระดับท้องถิ่นช่วยสร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการ อีกทั้งสามารถพัฒนาเป็นนวัตกรรมเผยแพร่สู่สาธารณะ ทีมวิจัยยังได้วิจัยร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งอื่น โดยใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการวิจัยร่วมกัน”ดร.อัจฉรา ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัย กล่าว



นอก จากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำดอกไม้และไอศกรีมดอกไม้แล้ว ทีมงานยังขยายโครงการวิจัยต่อ โดยแปรรูปดอกไม้ต้านอนุมูลอิสระเป็นผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ เช่น ขนมขบเคี้ยว เครื่องปรุงในอาหารคาวหวาน


น.ส.ปัญจ รัตน์ วงศ์นภาพรรณ (ผู้ปลุกปั้นการสร้างแบรนด์ไอศกรีมของไทยด้วยการนำสิ่งที่แปลกใหม่บวกกับ รสชาติ ที่ถูกใจลูกค้าคนไทย และที่สร้างความฮือฮาจนสร้างแบรนด์ onemore ให้เป็นที่รู้จัก อย่าง ไอศกรีมผลไม้ไทยโรยท็อปปิ้งไทย อย่างไอศกรีมมะม่วงน้ำปลาหวาน ไอศกรีมมะยมโรยพริกเกลือไอศกรีมกล้วยบวชชี หรือ และรวมถึง ไอศกรีมดอกไม้ ) ผู้ประกอบการ บริษัทไอศกรีม วันมอร์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้ร่วมกับทีมวิจัย มบส.พัฒนาไอศกรีมดอกไม้ไทยเพื่อการผลิตในเชิงพาณิชย์ โดยใช้สารสกัดจากดอกไม้ 5 ชนิดข้างต้นที่พบสารต้านอนุมูลอิสระสูง เป็นส่วนผสมสำคัญ พร้อมทั้งปรับปรุงรสชาติให้หลากหลายถึง 15 รสชาติ แต่จากการทดสอบชิมโดยอาสาสมัครประมาณ 300 คน พบเพียง 5 รสชาติเท่านั้นที่พึงพอใจ



“การ พัฒนาสูตรไอศกรีมดอกไม้ให้รสชาติอร่อย มีส่วนผสมที่ลงตัว ถือว่าเป็นเรื่องยาก แต่พอทุกอย่างนิ่งแล้ว การปรับรสชาติ หวาน เปรี้ยว ตามความพึงพอใจของผู้บริโภคสามารถทำได้”





ไอศกรีม ดอกไม้ทั้ง 5 รสชาติ ได้แก่ ดาหลาไวน์ใช้สารสกัดจากดอกดาหลา เข็มสตรอเบอรี่เชอเบทใช้สารสกัดจากดอกเข็ม กุหลาบนมใช้สารสกัดจากดอกกุหลาบมอญ บัวนมใช้สารสกัดจากเกสรดอกบัว และอัญชันมะพร้าวอ่อนใช้สารสกัดจากดอกอัญชัน




สำหรับไอศกรีมดอกไม้ไทยจะเป็นไอศกรีมนวัตกรรมวางจำหน่ายที่ร้านกำปั่น ตลาดน้ำอัมพวา จ.สมุทรสงคราม ในเร็วๆ นี้

ต่อค่ะ

นวัตกรรมจากดอกไม้อัมพวา ไอศกรีมดอกไม้ไทยที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระจากงานวิจัยนี้ พัฒนาจากดอกไม้ 5 ชนิด คือ
ดาหลา เข็ม กุหลาบมอญ บัว อัญชัน


ไอศกรีมดอกไม้ที่ได้รับการคัดเลือก


มีดังนี้



1. Strawberry Sorbet Kem

(สตรอเบอร์รี่ซอร์เบท เข็ม)


2. Wine Dara (ดาหลาไวน์ผลไม้)


3. Milk Lotus (บัวนม)


4. Coconut Un-chun (อัญชันมะพร้าวน้ำหอม)


5. Milk Rose (กุหลาบนม)







งานวิจันนี้เป็นงานวิจัยต่อเนื่องจากงานวิจัยที่ได้รับทุน โครงการ IRPUS ประจำปี 2550 เรื่อง การพัฒนาเครื่องดื่มสมุนไพร ที่ผลิตจากดอกไม้ท้องถิ่น อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ เพื่อการผลิตในเชิงพาณิชย์ ซึ่งในการเข้าร่วมงานแสดงผลงานพัฒนาเทคโนโลยีทุนปริญญาตรี สกว. ครั้งที่ 6 ณ รอยัล พารากอล ฮอล์ ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม ถึง 30 มีนาคม 2551 และได้รับรางวัล รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง ประเภท Popular Vote เนื่องจากได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมนิทรรศการมาก





งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายอุตสาหกรรม โครงการโครงงานอุตสาหกรรมสำหรับปริญญาตรี ประจำปี 2550 และวันมอร์ ผู้ประกอบการ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ