วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันนั้นของเดือน

วันนั้นของเดือน


ในแต่ละวันของแต่ละเดือนย้อนไปในแต่ละปี (งงม่ะ?) ล้วนมีเหตุการณ์ วันสำคัญต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เพื่อเป็นการสรุปรวบย่อ เราขอรวบรวมเอามาให้ชาว zheza ได้อ่านกันตรงนี้เลย




พฤศจิกายน

พฤศจิกายน01

พฤศจิกายน02


1 พฤศจิกายน 2517
วันเกิด Hello Kitty ลูกแมวน้อยสีขาวน่ารักน่าชัง โดยนักออกแบบคนแรกที่เป็นผู้สร้างตัวเฮลโลคิตตี คือ อิคุโกะ ชิมิซุ เมื่อ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1974 แต่หลังจากนั้นเพียง 1 ปี เธอได้ออกจากบริษัท และผู้ที่มารับหน้าที่ต่อก็คือ เซ็ตสึโกะ โยนิคุโบะ ซึ่งได้สานต่อเป็นเวลา 5 ปี ก่อนที่จะส่งมอบให้ ยูโกะ ยามางูชิ ซึ่งเป็นนักออกแบบให้กับ เฮลโลคิตตี้ มาจนถึงปัจจุบัน

2 พฤศจิกายน 2539
ประเทศไทยมีประชากรครบ 60 ล้านคนในเวลาประมาณ 9.48 น. ตามการคาดหมายของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (ประชากรประเทศไทยในปัจจุบันคาดว่ามีประมาณ 67 ล้านคน)

3 พฤศจิกายน 2500

สุนัขตัวแรกที่ได้รับเกียรติให้เป็น “หมาอวกาศ” เป็นหมารัสเซียพันธุ์ไลกา (Laika) ตัวเมียชื่อ คูดรีอาฟกา (Kudryavka) แต่ทั้งโลกรู้จักมันในนาม “ไลกา” ซึ่งขึ้นสู่อวกาศในวันนี้ และตายระหว่างที่ยังอยู่ในวงโคจร การส่งสุนัขขึ้นไปเป็นการทดลองเพื่อดูว่าการเดินทางในอวกาศจะมีผลอย่างไรต่อ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

4 พฤศจิกายน 2551

บารัค โอบามา (Barack Obama) ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เป็นคนที่ 44

5 พฤศจิกายน 2473

ซินแคลร์ เลวิส (Sinclair Lewis) ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม โดยเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้

6 พฤศจิกายน 2310
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ในภาพ) นำกองทัพเรือจากจันทบุรี ยกพลขึ้นบกบุกยึดค่ายโพธิ์สามต้นของพม่าได้สำเร็จ ต่อมากองทัพเรือไทย จึงให้วันนี้ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากองเรือยกพลขึ้นบก

7 พฤศจิกายน 2208
London Gazette หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษที่เก่าแก่ที่สุดและยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน วางจำหน่ายเป็นครั้งแรก

8 พฤศจิกายน 2436
วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

9 พฤศจิกายน 2547
เปิดตัว มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) 1.0 เป็นเว็บเบราว์เซอร์คู่แข่งสำคัญของไมโครซอฟท์

10 พฤศจิกายน 2512

"Sesame Street" การ์ตูนสุดฮิทออกอากาศครั้งแรกในอเมริกา ขอบอกว่ารายการนี้ฮิทมานานกว่า 30 ปีแล้ว

11 พฤศจิกายน 2468
Robert A. Millikan ได้ประกาศการค้นพบและตั้งชื่อรังสีคอสมิก ที่เมือง Madison รัฐ Wisconsin

12 พฤศจิกายน 2531
วันเกิดนางาเซะ คาเอเดะ จากการ์ตูนเรื่องเนกิมะ

13 พฤศจิกายน 2456
ราชบัณฑิตยสภาแห่งประเทศสวีเดน ณ กรุงสต๊อกโฮม ประกาศมอบรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม (วรรณคดี) ประจำปี 2456 ให้รพินทรนาถ ฐากูร กวีชาวอินเดีย ในฐานะผู้ประพันธ์หนังสือรวมบทกวีชื่อ “คีตาญชลี” นับเป็นชาวเอเซียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

14 พฤศจิกายน 2512
โครงการอะพอลโล: ยานอะพอลโล 12 ขึ้นสู่อวกาศ (นำนักบินอวกาศ 2 คน ลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ในวันที่ 19 พฤศจิกายนวันนี้เป็นวันเด็กของชาวอินเดีย เพราะเป็นวันคล้ายวันเกิดของยาวาหะราล เนห์รู อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดีย (ปี 2432)

15 พฤศจิกายน 2514
ประเทศไทยจัดให้มีการเลือกตั้งครั้งแรกซึ่งเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม ประชาชนเลือกตัวแทนของตนไปทำหน้าที่เลือกผู้แทนราษฎรอีกต่อหนึ่ง โดยแต่ละจังหวัดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คนต่อราษฎร 200,000 คน มีผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งจำนวน 78 คน รวมกับสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งโดยพระบรมราชโองการเป็น 156 คน

16 พฤศจิกายน 2544
ภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ตอนแรกของวรรณกรรมชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์เริ่มออกฉาย มีรายได้รวมทั้งหมด 976 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และกลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดเป็นอันดับ 2 จากการฉายทั่วโลก รองจาก ไททานิค

17 พฤศจิกายน 2549
เพลย์สเตชั่น (Playstation 3) ที่เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมตระกูลเพลย์สเตชันรุ่นที่ 3 ของบริษัท โซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ได้ออกวางจำหน่ายในอเมริกาด้วยสนนราคา 599 ดอลลาร์สหรัฐ

18 พฤศจิกายน 2471
Steamboat Willie หรือ วิลลี่เรือกลไฟ ภาพยนตร์การ์ตูนที่มีเสียงพูดเรื่องแรกของโลก ภาพยนตร์การ์ตูนประกอบเสียงและดนตรีเรื่องแรกของโลก สร้างโดยวอลท์ ดีสนีย์ ออกฉายรอบแรกที่กรุงนิวยอร์ค นำแสดงโดยมิกกี้ เม้าส์ ตัวการ์ตูนที่โด่งดังที่สุดของดีสนีย์ นับเป็นการปรากฏตัวบนจอภาพยนตร์ครั้งแรกของมิกกี้ เม้าส์ อีกด้วย

19 พฤศจิกายน 2512
เปเล่ (Pele’) ยอดนักฟุตบอลชาวบราซิล สามารถยิงประตูที่ 1,000 ของเขา ในฟุตบอลอาชีพ โดยยิงได้ในเกมส์ที่แข่งกับ ทีม วาสโก ดา กามา ในสนามมาราคานา (Marakana) กรุงริโอเดอจาเนโร นอกจากนี้เขายังเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่พาทีมชาติบราซิลครองแชมป์ฟุตบอลโลกถึง สามสมัย และตลอดการเล่นฟุตบอลของเขาสามารถยิงประตูได้ถึง 1,282 ประตู จากการเล่น 1,363 นัด เขาเลิกเล่นฟุตบอลอาชีพไปในปี 2520

20 พฤศจิกายน 2340
รัชกาลที่ 1 ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ เป็นเรื่องยาวเขียนลงสมุดไทย 102 เล่ม รามเกียรติ์นี้เป็นวรรณคดีเรื่องสำคัญของ ไทย มีต้นเค้ามาจาก "มหากาพย์รามายณะ"

21 พฤศจิกายน 2326
การขึ้นบินในอากาศของมนุษย์มีขึ้นครั้งแรกด้วยบอลลูนลมร้อน โดยโจเซฟ และ ฌาค มงต์กอลฟิเออร์ ชาวฝรั่งเศส ได้สร้างบอลลูนลมร้อน สำเร็จและได้บรรทุกคนขึ้นไปในอากาศเป็นครั้งแรก ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยบินได้สูง 3,000 ฟุต ระยะทาง 16 กิโลเมตร เป็นเวลา 23 นาที และลงจอดอย่างปลอดภัย บอลลูนของสองพี่น้องมงต์กอลฟิเออร์จึงเป็นอากาศยานชิ้นแรกที่นำมนุษย์ขึ้น สู่ท้องฟ้า ก่อนที่พี่น้องตระกูลไรท์จะสร้างเครื่องบินได้สำเร็จ

22 พฤศจิกายน 2548
xbox 360 ที่เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมรุ่นถัดจากเอกซ์บอกซ์ของไมโครซอฟท์ ชื่อระหว่างการพัฒนาคือ 'Project Xenon', 'XBox 2' และ 'XBox Next' ผลิตโดยบริษัท Microsoft ได้วางจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือ

23 พฤศจิกายน 2479
นิตยสาร ไลฟ์ ออกจำหน่ายเป็นฉบับแรก โดยความคิดสร้างสรรค์ของ เฮนรี อาร์. ลูส นิตยสารไลฟ์เป็นนิตยสารรายสัปดาห์ของประเทศสหรัฐอเมริกา รวบรวมบทความ บทสัมภาษณ์ สารคดี การ์ตูนและภาพถ่าย ยอดขายประมาณ 13.5 ล้านฉบับต่อสัปดาห์ ต

24 พฤศจิกายน 2402

ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ตีพิมพ์หนังสือ "On the Origin of Species" ซึ่งเป็นหนังสือที่เขาอธิบายถึงทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เนื้อหาพูดถึงทฤษฎีวิวัฒนาการ ซึ่งดาร์วินเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายเกิดขึ้นตามธรรมชาติและวิวัฒนาการ สิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงก็จะมีชีวิตรอด แนวคิดนี้ได้ทำลายความเชื่อดั้งเดิมที่ว่ามนุษย์เกิดมาจากพระเจ้า

25 พฤศจิกายน 2513
ยูกิโอะ มิชิม่า (yukio Mishima) นักเขียนผู้มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ได้กระทำการ "ฮาราคีรี" หรือ "เซปปุกุ" (Seppuku) หรือการคว้านท้องฆ่าตัวตาย ตามวิถีทางแห่งซามูไรที่เขาเชื่อมั่น ด้วยเขาเป็นนักเขียนชาตินิยมซึ่งเรียกตัวเองว่า "ซามูไรคนสุดท้าย" ยูกิโอะ มิชิม่าเป็นนามปากกาของ คิมิทาเกะ ฮิราโอกะ (Kimitake Hiraoka) ผลงานของเขามีมากถึง 257 เรื่องและได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย

26 พฤศจิกายน 2468
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต เวลา 1.45 น. ของเช้าวันที่ 26 พฤศจิกายน ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ด้วยพระโรคพระอันตะ (ลำไส้) ตลอดสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ได้สร้างผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ในปี 2524 องค์การยูเนสโกได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว ว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก

27 พฤศจิกายน 2510

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 หรือ "ช่อง 7 สี" เริ่มออกอากาศ-แพร่ภาพเป็นครั้งแรกตามมาตรฐาน CCIR 625 เส้น ระบบ PAL โดยการถ่ายทอดสดรายการประกวดนางสาวไทยประจำปี 2510 จากเวทีบริเวณงานวชิรานุสรณ์ พระราชวังสราญรมย์ นับว่าเป็นโทรทัศน์สีแห่งแรกในประเทศไทย และเป็นครั้งแรกที่ประชาชนได้มีโอกาสชมรายการโทรทัศน์ที่มีสีสันตามธรรมชาติ โดยได้นางสาวอภันตรี ประยุทธเสนีย์ เป็นนางสาวไทยประจำปี 2510

28 พฤศจิกายน 2501
มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณูของบริษัทเอกชนเป็นครั้งแรก ที่ Indian Point nuclear generating station เมือง Buchanan รัฐ New York โดยใช้เงินลงทุน 100 ล้านเหรียญ ได้รับใบอนุญาตในการเดินเครื่องเมื่อ 26 เมษายน 2505 และปิดตัวลงเมื่อ 13 ตุลาคม 2517

29 พฤศจิกายน 2450
ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) ชาวอิตาลี อายุ 87 ปี เป็นสตรีคนแรกที่ได้รับอิสริยาภรณ์เชิดชูคุณความดีของอังกฤษ เธอเป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้บุกเบิกวิชาการพยาบาลสมัยใหม่และนักปฏิรูประบบ สุขอนามัยในโรงพยาบาล ได้รับฉายาว่า “สตรีผู้ถือตะเกียง” จากการอุทิศตนในการดูแลทหารอังกฤษที่ล้มป่วยและบาดเจ็บในสงครามไครเมียที่ ตุรกี อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยแม้ในยามค่ำคืน

30 พฤศจิกายน 2493
มีคำสั่งจากประธานาธิบดีทรูแมน ให้ทำการวิจัยและพัฒนาระเบิดไฮโดรเจน (H-bomb) ซึ่งเป็นระเบิดนิวเคลียร์แบบฟิวชัน โดยใช้ชื่อรหัสของโครงการว่า "Super" หมายถึงระเบิดแบบเทอร์โมนิวเคลียร์ ซึ่งให้แรงระเบิดสูงกว่าระเบิดแบบฟิชชันที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง





ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/
http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/indicator/Pop_Jan-Dec.xls
www.brainyhistory.com
http://www.nst.or.th/article/article0127.htm
http://www.electron.rmutphysics.com
http://writer.dek-d.com/cupids/story/view.php?id=43295
http://www.thevoiceofreason.com/OnThisDay
http://uncyclopedia.wikia.com/wiki/Uncyclopedia:Anniversaries
http://kanunja.212cafe.com
http://www.holidayinsights.com
http://en.wikipedia.org/wiki/Wiki


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ