วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ตำนานนางนาคแห่งบางพระโขนง วิญญาณรักที่ยังไม่ตาย



ตำนานนางนาคแห่งบางพระโขนง วิญญาณรักที่ยังไม่ตาย




เรื่อง ราวของ นางนาค แห่งพระโขนง มีการเล่าขานกันมานานแล้ว

และเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่า นางนาคมีตัวตนจริงๆ

คงเป็นเรื่องเล่าของคนโบราณ ที่เคยถูกผีนางนาคหลอกกันต่อๆมา

ความมีชื่อเสียงของแม่นาคได้ทำให้วัดมหาบุศย์ ริมคลองประเวศบุรีรัมย์ แขวงพระโขนง เขตพระโขนง กทม.

พลอยเป็นที่รู้จักของคนทั้งหลายด้วย ในฐานะเป็นวัดที่ฝังศพแม่นาค

วัดมหาบุศย์นี้ พระศรีสมโภชน์ (พระศรีสมโพธิ) เจ้าคณะวัดสุวรรณฯ เป็นผู้สร้าง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒

ในขณะที่ท่านยังเป็นพระมหาบุศย์



ศาล แม่นาค ตั้งอยู่บริเวณวัดมหาบุศย์ เขตสวนหลวง


ตามความเชื่อของคนไทยร่วมสมัยและตราบจนปัจจุบัน เช่น เชื่อว่าชื่อสี่แยกมหานาค

ที่เขตดุสิตในปัจจุบัน มาจากการที่แม่นาคอาละวาดขยายตัวให้ใหญ่ และล้นเกล้ารัชกาลที่ 4

ก็ยังเคยเสด็จทอดพระเนตรด้วย หรือ เชื่อว่าพระรูปที่มาปราบแม่นาคได้นั้นคือ สมเด็จพระพุฒาจารย์

(โต พรหมรังสี) เป็นต้น อีกทั้งยังเชื่อว่า ท่านได้เจาะกะโหลกที่หน้าผากของแม่นาคทำเป็นปั้นเหน่ง

เพื่อสะกดวิญญาณแม่นาค และได้สร้างห้องเพื่อเก็บปั้นเหน่งชิ้นนี้ไว้ต่างหาก

หรือแม้แต่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชก็ ยังได้เขียนบันทึกเอาไว้ว่า

เมื่อสมัยเด็ก ๆ ท่านเคยเห็นสิ่งที่เชื่อว่าเป็นรอยเท้าแม่นาคบนขื่อเพดานวัดมหาบุศย์ด้วย

ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว

เรื่องราวของแม่นาคมีทั้งที่เป็นนิยายและภาพยนตร์ บุคคลแรกที่ทำให้ "แม่นาคพระโขนง" โด่งดัง


ขึ้นมา ก็คือ...สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์ พระองค์ท่านทรงนำเรื่อง

"อีนาคพระโขนง" ออกแสดงเป็นละครเวทีที่โรงละครปรีดาลัยจนเกรียวกราวได้รับการต้อนรับจากดู

เป็นอย่างมาก จนต้องแสดงซ้ำอยู่ถึง ๒๔ คืน

จากนั้นมาสู่ยุคภาพยนตร์ แม่นาค . อีนาค . นางนาค . หรือ ย่านาค ก็ถูกนำมาสร้างอีกหลายครั้งหลายหน



แม่นาคพระโขนง ปี 2502

กำกับ โดย เสน่ห์ โกมารชุน

แสดงโดย สังสิทธิ์ สัตยวงศ์ , ปรียา รุ่งเรือง

เป็นหนังที่ประสบความสำเร็จมากครับ ทำให้ปรียา รุ่งเรือง โด่งดัง ขึ้นมาจากบท แม่นาค

และเธอ ถือว่าเป็นตำนานของผีแม่นาคไปเลย



แม่นาคคืนชีพ 2503

แสดงโดย อดุลย์ ดุลรัตน์ , วิไลวรรณ วัฒนพานิช



วิญญาณรักแม่นาค 2505

ปรียา รุ่งเรือง กลับมาในบทแม่นาคอีกครั้ง ในค่าย เสน่ห์ศิลป์ภาพยนตร์



แม่นาคคะนองรัก 2511

แสดงโดย ปรียา รุ่งเรือง , ชุมพร เทพพิทักษ์ , ฤทธิ ลือชา

ปรียา มารับบทแม่นาคอีกครั้ง ในหนังของเสน่ห์



แม่นาคพระนคร 2513

แสดงโดย มิตร ชัยบัญชา ,อรัญญา นามวงศ์

เป็นหนังของค่ายละโว้ ภาพยนตร์



แม่นาคพระโขนง 2516

ค่ายศิลปสยามภาพยนตร์

แสดงโดย สุภัค ลิขิตกุล , ยอดชาย เมฆสุวรรณ

ภาคนี้ประสบความสำเร็จทีเดียว เลยมีการสร้างภาคต่อออกมา ในปีเดียวกัน คือ แม่นาคอาละวาด

คือเป็นเรื่องต่อว่า มีคนหาปลา ทอดแหได้หม้อแม่นาคขึ้นมา จึงทำให้แม่นาคออกมาอาละวาดอีกครั้งหนึ่ง

( สมัยก่อนเชื่อว่า วิญญาณแม่นาค ถูกจับใส่หม้อมัดด้วยอาคม แล้วถ่วงน้ำไว้ )



แม่นาคอเมริกา 2518

แสดงโดย กรุง ศรีวิไล , เปียทิพย์ คุ้มวงศ์

ความดังของแม่นาค ทำให้ผู้สร้างนำชื่อไปสร้างแบบ เข้ารกเข้าพง นำฝรั่งมาเล่นเป็นแม่นาค

และดัดแปลงเรื่อง จนกลายเป็น หนังผี เกรดต่ำ



แม่นาค บุกโตเกียว 2519

แสดงโดย อุเทน บุญยงค์ , ภาวนา ชนะจิต , อรสา พรหมประทาน

หนังค่าย เมืองทองภาพยนต์

กลายเป็นหนังหึงหวงกัน ระหว่างคนกับผี ไปกันจนถึงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น



แม่นาคพระโขนง 2521

แสดงโดย ปรียา รุ่งเรือง , สมบัติ เมทะนี , เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์

ปรียา กลับมารับบท แม่นาคอีกครั้ง



แม่นาคคืนชีพ 2533

ไม่มีข้อมูลภาคนี้เลยครับ แต่เคยสร้างแม่นาคคืนชีพมาแล้ว ในปี 2503

เมื่อถึงยุคละครทีวีเข้ามาเป็นความบันเทิงหลัก ในยุคตกต่ำของหนังไทย

ช่อง 3 นำ แม่นาคพระโขนงมาลงจอ ในปี 2533 สร้างให้ ตรีรัก รักการดี โด่งดังในบทแม่นาค

ประกอบกับ หนังเกรดบี แบบ บ้านผีปอบประสบความสำเร็จ ในตลาดหนังผี จึงเกิดภาคนี้ขึ้นมา



แม่นาคเจอผีปอบ 2535

ยังมีแม่นาคพระโขนงอีกภาค ในปี 2537 แสดงโดย ดาริน กรสกุล , รอน บรรจงสร้าง แต่ผมไม่มีข้อมูลเลย

มีการสร้างเป็นละครทีวี ช่อง 5 อีกครั้งในปี 2537 แสดงโดย ลีลาวดี วัชโลบล

กลับมาสร้างเป็นละครทีวีอีกครั้ง ทางช่อง 3 ปี 2543 แสดงโดย กุลณัฐ ปรียาวัฒน์

และปีเดียวกัน 2543 ช่อง 7 นำมาสร้างอีกครั้ง แสดงโดย พัชราภา ไชยเชื้อ , พีท ทองเจือ





นางนาก 2544

ผู้กำกับ นนทรีย์ นิมิตรบุตร

แสดงโดย ทราย เจริญ ปุระ , วินัย ไกรบุตร

ภาค นี้ ประสบความสำเร็จมากครับ ทำรายได้อย่างสูง นนทรีย์ นิมิตรบุตรเอง ก็เป็นผู้กำกับ

คลื่นลูกใหม่ในวงการ และตีความแม่นาค ใหม่ โดยเน้นเรื่องความรักความผูกพันธ์ การแต่งกาย

และทรงผม เปลี่ยนเป็นทรงกระทุ่ม และสร้างภาพอย่างปราณีต

รวมทั้งเขียนคำว่า แม่นาค ใหม่ เป็น นางนาก



นาค รักแท้ /วิญญาณ / ความตาย 2548

แสดงโดย ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ , ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์

เป็น เรื่องราวที่เขียนขึ้นใหม่ มีชื่อเสียงของแม่นาคมาเกี่ยวข้อง แต่เป็นเรื่องในยุคปัจจุบัน

ที่มีเรื่องราวของปั่นเหน่งมาเกี่ยวข้อง



เคยสร้างเป็นหนังกล่อง ในค่ายของแมงป่อง

นอกจากนี้ ยังเคยทำเป็นหนังสั้น ชื่อว่า นาค ของผู้กำกับหญิงอินดี้ พิมพกา

ปี 2545 ทำเป็นละครเวทีโอเปร่า อำนวยการแสดงโดย สมเถา สุจริตกุล



เรื่องย่อ ตามนิยาย

นิยาย กล่าวถึงแม่นาคว่า.....ที่พระโขนง มีเศรษฐีสองสามีภรรยาชื่อตามั่นกับยายมี (หมี)

ทั้งสองมีลูกสาวที่สวยที่สุดในย่านพระโขนง จึงมีหนุ่มๆมาติดพันหลายคน

มากก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนนั้น แต่เพราะหนุ่มมากชอบประพฤติกรรมตัวเป็นนักเลงโต

ตามั่นจึงพยายามกีดกันและตัดการหมั้นทองนาคให้กับเสี่ยย้ง ทองนาคจึงตัดสินใจหนีตามหนุ่มมาก

ในวันที่เสี่ยย้งยกขบวนขันหมากมา หลังจากได้ทองนาคมาเป็นภรรยา


มากก็กลับตัวเป็นคนดี ขยันขันแข็งทำมาหากิน ทั้งสองจึงอยู่กันอย่างมีความสุข

ต่อมาทองนาคตั้งท้อง ก็พอดีมากถูกเกณฑ์ทหาร มากต้องไปเป็นทหาร

จึงฝากลุงกับป้าชื่อตาหอยกับยายหมาให้ช่วยดูแลทองนาค

(เพราะบิดามารดาของมากเสียไปแล้ว จึงต้องมาฝากลุงกับป้าให้ช่วยดูแลภรรยา)

ตาหอยยายหมาเป็นห่วงหลานสะใภ้ จึงรับทองนาคไปอยู่ด้วย จนกระทั่ง กลางดึกคืนหนึ่ง

ทองนาคเกิดเจ็บท้องจะคลอดลูก ตาหอยจึงรีบไปตามหมอตำแย(หญิงที่ช่วยทำคลอดสมัยก่อน)

ชื่อยายจั่น มาทำคลอดให้ แต่ยายจั่นไม่สามารถทำอะไรได้เพราะเด็กในท้องขวางตัว

และทองนาคไม่มีลมเบ่ง (สมัยก่อนคนคลอดลูกตายมีมาก เพราะการแพทย์ยังไม่เจริญ )

ในที่สุด ทองนาคก็ขาดใจตายทั้งที่ลูกยังอยู่ในท้อง การตายลักษณะนี้เรียกว่า ตายทั้งกลม!

ซึ่งเชื่อกันว่า ผีพวกนี้แรงทั้งแม่ทั้งลูก


ในวันฝังทองนาค นายทุย ( เพื่อนของมากที่ถูกเกณฑ์ทหารด้วยกัน) ได้กลับมาบ้านที่พระโขนง

และมาทันช่วยหามศพทองนาคไปฝังที่ป่าช้าวัดมหาบุศย์ หลังจากนั้น... พอตกดึก

ชาวบ้านใกล้วัดมหาบุศย์ก็จะได้ยินเสียงทองนาคเห่กล่อมลูกอยู่ที่โคนต้น ตะเคียนใกล้คลอง

ด้วยสำเนียงอันโหยหวน มีเสียงเด็กร้องไห้ เสียงผู้หญิงหยาดเย็นปลอบโยน

ประสานด้วยเสียงหมาหอน


ในตอนแรก... ทองนาคก็ไม้ได้ดุร้ายอะไรนัก จนกระทั่งลูกชายของนางไปเล่นกับเด็กวัดแล้วถูกเด็กวัด

รังแก นางจึงหลอกพวกเด็กวัด ด้วยการยื่นมือยาวๆ จะจับเท่านั้น แต่ไม่ได้ทำอะไรรุนแรง

ทำเอาพวกเด็กวัดจับไข้กันเป็นแถว แต่รายที่ทองนาคเล่นงานอย่างจริงจังก็คือ เสี่ยย้ง

เพราะเสี่ยย้งเคยปลุกปล้ำนางมาครั้งหนึ่ง นางทองนาคจึงบีบคอเสี่ยย้งจนตาย


เมื่อมากกลับมาที่พระโขนง ก็พบทองนาครอรับอยู่ที่บ้าน มากจึงไม่ยอมเชื่อ เมื่อใครต่อใครบอกว่า

ทองนาคตายแล้ว จนตาหอยผู้เป็นลุงต้องแนะนำว่า จะเชื่อหรือไม่ ก็ให้ทดลองดู เวลานางทองนาคตำ

น้ำพริก ให้แอบบีบมะนาวลงไป ถ้าผีเป็นผู้ทำก็จะมีหนอน มากแอบทดลองดู ก็ปรากฏว่าในน้ำพริกมีหนอน

จริงๆ แต่เขายังไม่ยอมเชื่อ กระทั่งวันต่อมา ขณะที่ทองนาคตำน้ำพริก บังเอิญทำสากหล่นลงไปใต้ถุนบ้าน

(บ้านที่ทองนาคกับมากอยู่เป็นเรือนไทยใต้ถุนสูง) นางก็เอื้อมมือยาวเฟื้อยลงไปเก็บสาก

มากเห็นเข้า ถึงได้ยอมเชื่อว่าเมียของตนกลายเป็นผีไปซะแล้ว และหนีไปหานายทุยที่บ้าน




ทองนาครู้ว่ามากหนี ก็ตามไปที่บ้านของทุย ทุยกับมากจึงต้องพากันหนีอีก นางก็ติดตามไม่ลดละจน

ทั้งสองหนุ่มวิ่งหนีฝ่าเข้าไปในดงหนาด(ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใบใหญ่เป็นขน มีกลิ่นฉุน ใช้ทำยาได้ ถือกันว่าผี

กลัว) นางจึงไม่กล้าติดตามเข้าไป แต่ยังรออยู่นอกดงหนาด แล้วเรียกเสียงว่า พี่มากขาาา......!


นายมากหนีไปพึ่งพระที่วัด นางนาคไม่ลดละพยายาม ด้วยความที่เจ็บใจชาวบ้านที่คอยยุแยงตะแคงรั่ว

ผัวตัวเองอีกประการหนึ่ง ทำให้นางนาคออกอาละวาดหลอกหลอนชาวบ้านจนหวาดกลัวกันไปทั้งบาง

ซึ่งความเฮี้ยนของนางนาค ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ถูกฝังไว้ระหว่างต้นตะเคียนคู่นั่นเอง



ในที่สุด นางนาคก็ถูกหมอผีฝีมือดีจับใส่หม้อถ่วงน้ำ จึงสงบไปได้พักใหญ่ จนมีตายายคู่หนึ่ง

ที่ไม่รู้เรื่อง เพิ่งโยกย้ายมาอยู่ใหม่ เกิดเก็บหม้อที่ถ่วงนางนาคได้ขณะทอดแหจับปลา

นางนาคจึงถูกปลดปล่อยออกมาอีกครั้ง



แต่สุดท้าย ก็ถูกสมเด็จพุฒาจารย์(โต)สยบลงไปได้ กะโหลกศีรษะส่วนหน้าผากของนางนาค

ถูกเคาะออกมาทำปั้นเหน่ง (หัวเข็มขัดโบราณ) เพื่อเป็นการสะกดวิญญาณ และนำนางนาคสู่สุคติ

หลังจากนั้น ปั้นเหน่งชิ้นนั้นก็ตกทอดไปยังเจ้าของอื่นๆ อีกหลายมือ


ตำนานวิญญาณรัก ของ นางนาค คงจะยืนยาวต่อไป

และ คงยังมีการหยิบมาทำเป็น หนัง ละคร อยู่อย่างยาวนาน

ลองนับดูสิ ว่ามี ดาราหญิง เล่นเป็น แม่นาค กี่คน





oknation.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ