วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทหารไทยในสงครามเวียดนาม


ทหารไทยในสงครามเวียดนาม



หารไทยในสงครามเวียดนาม พ.ศ.๒๕๐๖ - พ.ศ.๒๕๑๖

bg

หลัง จากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ จอมพล ถนอม กิตติขจร รองนายกรัฐมนตรีเข้ารับตำแหน่งแทน ไทยผูกพันตนเองกับอเมริกา และสงครามเวียดนามมากยิ่งขึ้น ในต้นปี พ.ศ.๒๕๐๗ หลังจากที่จอมพลถนอม กิตติขจร ขึ้นมาบริหารประเทศได้เพียงไม่กี่เดือน แผนยุทธศาสตร์ของอเมริกาที่จะบุกโจมตีเวียดนามเหนืออย่างรุนแรง ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นฐานทัพปฏิบัติการของอเมริกา เช่น ตาคลี อุดรธานี นครพนม อุบลราชธานี นครราชสีมา อู่ตะเภา น้ำพอง ดอนเมือง สัตหีบ กาญจนบุรี สกลนคร และพิษณุโลก ขณะที่อเมริกาทำสงครามในเวียดนามอย่างเต็มที่นั้น มีทหารอเมริกันประจำอยู่ในเมืองไทยถึง๔๙,๐๐๐ คน และมีเครื่องบินประมาณ๖๐๐ ลำ

tiv

ไทยเข้ารบในสงครามเวียดนาม โดยส่งทหารอากาศเข้าไปในเวียดนามใต้เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๗และส่งทหารเรือในปีต่อมา ในที่สุดส่งทหารบกหน่วยจงอางศึก และหน่วยกองพลเสือดำ นอกจากนี้ยังมีทหารอาสาสมัครประเภทรับจ้างชั่วคราว คือ ทหารเสือพราน เข้าไปปฏิบัติการในลาวร่วมกับกองทัพลาวเผ่าแม้ว รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ยังต้องมีปัญหาเรื่องการแทรกซึม และบ่อนทำลายของขบวนการคอมมิวนิสต์ภายในประเทศประมาณ พ.ศ.๒๕๑๐ ผู้ก่อการร้ายออกปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาลทั่วทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้

แต่ไทยก็ยืนหยัดอยู่กับฝ่ายโลกเสรีใน สงครามเวียดนาม จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาได้ถอนทหารออกไปจนหมดสิ้นในปีพ.ศ. ๒๕๑๖ แต่เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ยังมีการสู้รบกันต่อไป จนกระทั่งถึงพ.ศ.๒๕๑๘ เวียดนามทั้งสองจึงได้รวมเป็นประเทศเดียวกัน

divider

ารส่งทหารไทยเข้าร่วมในสงครามเวียดนาม

bg

s2

ในปี พ.ศ.๒๕๐๗ ประธานาธิบดี ตรันวันมินห์ แห่งเวียดนามใต้ได้ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย โดยขอให้ฝึกหัดนักบินของกองทัพอากาศเวียดนามใต้ ที่ส่งเข้ามาฝึกในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๙ รัฐบาลเวียดนามใต้ได้ขอความช่วยเหลือทางทหารจากไทยเพิ่มเติม โดยขอให้จัดส่งเรือไปช่วยปฏิบัติการลำเลียง และเฝ้าตรวจบริเวณชายฝั่ง ป้องกันการแทรกซึมทางทะเลให้แก่ เวียดนามใต้ และในปีเดียวกัน ก็ได้ขอกำลังจากกองทัพบกไทย เพื่อช่วยยับยั้งการคุกคามของเวียดนามเหนือ นอกจากรัฐบาลไทยแล้วเวียดนามใต้ก็ได้ขอร้องทำนองเดียวกันไปยังประเทศฝ่ายโลก เสรีอื่น ๆ

รัฐบาลไทยได้พิจารณาเห็นว่า รัฐบาลเวียดนามใต้ ได้รับการยอมรับจากสมัชชา แห่งสหประชาชาติแล้วว่า เป็นรัฐบาลที่ได้จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้อง ประเทศไทยจึงควรให้ความร่วมมือเพื่อป้องกัน และยับยั้งการรุกรานครั้งนี้ เพื่อผดุงและรักษาไว้ซึ่งสันติสุขของประชาชาติผู้รักสงบในภูมิภาคนี้ จึงรับหลักการให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ เวียดนามใต้ โดยให้กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบดำเนินการ กระทรวงกลาโหมได้พิจารณาสนับสนุนตามลำดับดังนี้

ขั้นต้น ให้ กองทัพอากาศทำการฝึกนักบินไอพ่นให้กับทหารอากาศเวียดนามใต้ ซึ่งเข้ามารับการฝึกในประเทศไทย ตั้งแต่กันยายน ๒๕๐๗ - กุมภาพันธ์ ๒๕๐๘ รวม ๗ รุ่น ๆ ละ ๔ คน รวม ๒๘ คน

ขั้นที่สอง ให้ กองทัพอากาศส่งหน่วยบิน ประกอบด้วยนักบินเครื่องบินลำเลียง ๑๐ คน ช่างอากาศ ๖ คน ไปสนับสนุนกองทัพอากาศ เวียดนามใต้ ทำการบินลำเลียงด้วยเครื่องบินลำเลียงแบบ C - ๔๗ เมื่อกันยายน ๒๕๐๗ เรียกนามรหัสหน่วยนี้ว่า หน่วยบินวิคตอรี (Victory Wing Unit)

ขั้นที่สาม จัด ตั้งกองบังคับการหน่วยช่วยเหลือทางทหารในสาธารณรัฐเวียดนามขึ้นในกรุง ไซ่ง่อน เมื่อพฤศจิกายน ๒๕๐๘ เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานของหน่วยบินวิคตอรี ร่วมกับฝูงบินลำเลียงที่ ๔๑๕ เวียดนามใต้

ในปี พ.ศ.๒๕๐๙ รัฐบาลเวียดนามใต้ขอร้องรัฐบาลไทย ให้ช่วยเหลือทางกำลังทหารเรือ ฝ่ายไทยจึงได้ส่งเรือจากกองทัพเรือไปช่วย โดยได้ส่งเรือหลวงพงัน ซึ่งเป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ และเรือ ต.๑๒ ซึ่งเป็นเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งไปร่วมปฏิบัติการใน เวียดนามใต้ โดยขึ้นสมทบกับหน่วยบริการทางทะเล ทางทหารสหรัฐฯ ประจำกรุงไซ่ง่อน และกองเรือเฉพาะกิจที่ ๑๑๕ ตามลำดับ เรียกนามรหัสว่า ซีฮอร์ส (Sea Horse Task Element)

รัฐบาลเวียดนามใต้ได้ขอความช่วยเหลือทางทหารจากไทยเพิ่มเติมอีก ดังนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๑๐ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้กระทรวงกลาโหม จัดกำลังรบภาคพื้นดินในอัตรากรมทหารอาสาสมัคร ไปปฏิบัติการใน เวียดนามใต้ ภายหลังได้รับนามรหัสว่า จงอางศึก (Queen's Cobra Unit) นับเป็นกองกำลังหน่วยแรกของกองทัพบกที่ปฏิบัติการรบในสงครามเวียดนาม ต่อมาเมื่อพฤษภาคม ๒๕๑๐ ก็ได้เพิ่มกำลังจากขนาดกรมเป็นกองพลในชื่อเดิม คือ กองพลทหารอาสาสมัคร จากนั้นก็ได้ปรับปรุงกองบังคับการหน่วยช่วยเหลือทางทหาร ในสาธารณรัฐเวียดนาม เป็นกองบัญชาการกองกำลังทหารไทย ในสาธารณรัฐ เวียดนาม คำย่อว่า บก.กกล. ไทย/วน. เป็นหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการทหารสูงสุด

divider



ก.กกล.ทหารไทยในสงครามเวียดนามผลัดที่ ๑

bg

vitnan07

จัดตั้งขึ้นเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๑๐ โดยมี พลตรี ยศ เทพหัสดินทร์ ณ อยุธยา เป็นผู้บัญชาการ มีที่ตั้งชั่วคราวอยู่ที่กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า เชิงสะพานเกษะโกมล ถนนอำนวยสงคราม กรุงเทพ ฯ กำลังพลในกองบัญชาการกองกำลังทหารไทย ฯ ผลัดที่ ๑ ออกเดินทางตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม ๒๕๑๐ จึงเข้าที่ตั้งเสร็จ ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจได้ครบถ้วน สมบูรณ์ตามที่ได้รับมอบหมายทุกประการ ตามสายการบังคับบัญชาของชาติซึ่งประกอบไปด้วย กองบัญชาการกองกำลังทหารไทย กรมทหารอาสาสมัคร หน่วยเรือซีฮอร์ส และหน่วยบินวิคตอรี

เมื่อครบกำหนด ๑ ปี และเมื่อกองบัญชาการกองกำลังทหารไทย ฯ ผลัดที่ ๒ เดินทางไปรับหน้าที่ เมื่อ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๑๑ แล้ว ก็เดินทางกลับประเทศไทยเป็นส่วน ๆ โดยเครื่องบินลำเลียงของสหรัฐฯ ดำเนินกรรมวิธีส่งกำลังพลคืนต้นสังกัด จนแล้วเสร็จเมื่อ ๑๕ กันยายน ๒๕๑๑

divider




ก.กกล.ทหารไทยในสงครามเวียดนามผลัดที่๒-๕

bg

vitnan08

ผลัดที่๒ พล โท ฉลาด หิรัญศิริ เป็นผู้บัญชาการ แบ่งการเดินทางโดยเครื่องบินลำเลียงของกองทัพอากาศสหรัฐฯ เสร็จสิ้นเมื่อ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๑๑ นอกจากปฏิบัติการตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายแล้ว ยังได้ทำการช่วยเหลือประชาชน โดยจัดชุดแพทย์ ทันตแพทย์ และเจ้าหน้าที่ผลัดกันออกไปปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลเวียดนามใต้ ณ สถานพยาบาลตูดึ๊ก จังหวัดยาดินห์ เป็นประจำทุกวัน เพื่อให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนอีกด้วย เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบ ๑ ปี และผลัดที่ ๓ มารับหน้าที่แล้ว จึงเดินทางกลับโดยแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน คือส่วนที่ ๑ จำนวน ๘๙ คน ส่วนที่ ๒ จำนวน ๖๐ คน ส่วนที่ ๓ จำนวน ๖๐ คน ส่วนที่ ๔ จำนวน ๑๘ คน เดินทางโดยเครื่องบินกลับถึงประเทศไทยเสร็จสิ้นเมื่อ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๑๒

ผลัดที่๓ พลโท เชวง ยังเจริญ เป็นผู้บัญชาการ การเดินทางไปแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน เดินทางโดยเครื่องบินเสร็จสิ้นเมื่อ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๑๓ การปฏิบัติการตามภารกิจที่ได้รับมอบคงเป็นเช่นเดียวกับผลัดที่ ๒ เมื่อปฏิบัติการครบกำหนด ๑ ปี และผลัดที่ ๔ ไปรับหน้าที่แล้วจึงเดินทางกลับ โดยแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน เดินทางโดยเครื่องบิน เสร็จสิ้นเมื่อ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๑๓

vitnan13

vitnan09

ผลัดที่๔ พลโท เสริม ณ นคร เป็นผู้บัญชาการ การเดินทางไปแบ่งเป็น ๔ ส่วน เดินทางโดยเครื่องบิน เสร็จสิ้นเมื่อ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๑๓ การปฏิบัติการตามภารกิจที่ได้รับมอบคงเป็นเช่นเดียวกับผลัดที่ ๓ เมื่อปฏิบัติการครบ ๑ ปี และผลัดที่ ๕ มารับหน้าที่แล้วจึงเดินทางกลับ โดยแบ่งเป็น ๔ ส่วน เดินทางโดยเครื่องบินเสร็จสิ้นเมื่อ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๑๔

ผลัดที่ 5 พล ตรี ทวิช บุญญาวัฒน์ เป็นผู้บัญชาการ การเดินทางไปแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน เดินทางโดยเครื่องบินเสร็จสิ้นเมื่อ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๑๔ ในปลายปี พ.ศ.๒๕๑๓ รัฐบาลไทยเริ่มดำริที่จะถอนกำลังทหารไทย ในเวียดนามใต้กลับประเทศไทย ได้มีการปรึกษาหารือ กับ กองบัญชาการทหารสูงสุดเวียดนามใต้ และรัฐบาลเวียดนามใต้ จนได้ข้อยุติในการถอนกำลังกลับ โดยแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกเริ่มถอนในเดือนกรกฎาคม ๒๕๑๔ ส่วนที่เหลือในเดือนกันยายน ๒๕๑๕ สำหรับหน่วยเรือซีฮอร์ส เรือ ต.๑๒ จะกลับในเดือนพฤษภาคม ๒๕๑๔ เรือหลวงพงันจะกลับในเดือนเมษายน ๒๕๑๕ ส่วนหน่วยบินวิคตอรี จะถอนกำลังกลับหมดในเดือนธันวาคม ๒๕๑๔ กองบัญชาการทหารไทยฯ ผลัดที่ ๕ จะไปปฏิบัติการเพื่อควบคุมการถอนกำลังทหารไทยกลับ อยู่จนถึงเดือนเมษายน ๒๕๑๕ หลังจากนั้นรัฐบาลไทยจะส่งหน่วยขนาดเล็กที่จะเป็นสัญลักษณ์แห่งความร่วมมือ กับฝ่ายโลกเสรี ประจำในเวียดนามใต้ต่อไป การถอนกำลังกลับประเทศไทย ส่วนใหญ่เดินทางโดยเครื่องบินลำเลียงแบบ C -๑๓๐ ของสหรัฐฯ ส่วนสิ่งของส่งไปกับเรือหลวงพงัน โดยแบ่งการเดินทางเป็น ๓ ส่วน เสร็จสิ้นเมื่อ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๕

vitnan15

vitnan17

divider



สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม

bg

vitnan16

เมื่อกองบัญชาการกองกำลังทหารไทย ฯ และกองกำลังทหารไทยทั้งหมด ต้องถอนกำลังกลับประเทศไทยในกลางเดือนพฤษภาคม ๒๕๑๕ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า จึงได้ตั้งสำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม (สน.ผทท.ไทย วน.) ขึ้น มีกำลังพล ๓๘ คน มีพันเอก ชูวิทย์ ช.สรพงษ์ เป็นหัวหน้าสำนักงาน เดินทางไปปฏิบัติงานเมื่อ ๑ พฤษภาคม ๒๕๑๕ และรับมอบหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับกองกำลังฝ่ายโลกเสรี ที่ยังคงอยู่ในเวียดนามใต้

เมื่อปฏิบัติได้เกือบครบ ๑ ปี สถานการณ์ในเวียดนามใต้ เข้าสู่สภาพคับขันยิ่งขึ้น กองบัญชาการทหารสูงสุด จึงได้มีคำสั่งให้ปิดสำนักงานนี้ แล้วส่งมอบงานการติดต่อประสานงานต่าง ๆ ให้กับสำนักงานผู้ช่วยทูตทหารไทย ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงไซ่ง่อน และให้กำลังพลเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ ๒ มีนาคม ๒๕๑๖ เป็นการยุติการปฏิบัติการรบของทหารไทยในเวียดนามใต้ตั้งแต่นั้นมา


พ.ต.สาโรช บุญญาพิชิตเดโช หมายเลข 87168



4 ความคิดเห็น:

  1. ขอให้ลดเร็ว ๆ สงสารเหลือเกิน

    ตอบลบ
  2. ขอให้สหรัฐมอบ ฮ.ที่ส่งมาช่วยกู้ภัยน้ำท่วมไว้ใน ทอ.เลย

    ตอบลบ
  3. เมื่อปฏิบัติได้เกือบครบ ๑ ปี สถานการณ์ในเวียดนามใต้ เข้าสู่สภาพคับขันยิ่งขึ้น กองบัญชาการทหารสูงสุด จึงได้มีคำสั่งให้ปิดสำนักงานนี้ แล้วส่งมอบงานการติดต่อประสานงานต่าง ๆ ให้กับสำนักงานผู้ช่วยทูตทหารไทย ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงไซ่ง่อน และให้กำลังพลเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ ๒ มีนาคม ๒๕๑๖ เป็นการยุติการปฏิบัติการรบของทหารไทยในเวียดนามใต้ตั้งแต่นั้นมา...
    .........สถานการณ์ในเวียดนามใต้ เข้าสู่สภาพคับขันยิ่งขึ้น......ผมเรียนมาน้อยครับเรื่องนี้ ฟังดูมันเมือนเรา...คือว่า ทำไมเราถึงกลับอะครับ ..

    ตอบลบ

อารายเหรอ