วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

มิดะ...ใช่ครูสอนเพศศึกษาหรือไม่?

มิดะ...ใช่ครูสอนเพศศึกษาหรือไม่?

3 กันยายน 2544 ราชาแห่งโฟล์คซองคำเมืองจากโลกนี้ไป แบบช็อคความรู้สึกแฟนเพลง เพราะไม่เคยได้ข่าวว่าคุณจรัลมีปัญหาสุขภาพ จู่จู่ก็จากไปด้วยอาการหัวใจวาย...8 ปีแล้วสินะขอไม่อ้างประวัติคุณจรัล มโนเพ็ชร ในเอนทรีนี้ แต่สามารถหาอ่านได้ในวิกิพีเดีย

ขอ กล่าวถึงความประทับใจในผลงานของคุณจรัล มโนเพ็ชร เป็นสำคัญ เขาเป็นทั้งนักแต่งเพลง นักร้อง และนักดนตรี เพลงจำนวนมากถ่ายทอดวัฒนธรรมแห่งล้านนา ประเพณี อาหารการกิน อย่างเพลงของกิ๋นคนเมือง...แกงโฮะ แกงฮังเล แกงแค ผักกาดจอ...

ใครยังไม่รู้จักยกมือขึ้น!

หรือเพลงที่ถ่ายทอดวิถีชีวิต คนพื้นบ้าน...อย่างอุ๊ยคำ ตากับหลาน ลูกข้าวนึ่ง สามล้อ คนหล่ายดอย..." .....ไฟหลวงยังบ่ได้มา มืดลงต๋ามกม เตียนไข สะดอ ม่อฮ่อม ผ้าต่อง มีสาวตอหื้อใส่ ได้เฮียนเขียนหนังสือไทย กอ ขอ กอ กา...." เป็นเนื้อเพลงส่วนหนึ่งของเพลงคนหล่ายดอย

หรือเพลงที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีของคนชนเผ่า อย่างเพลง มิดะ...เรารู้จัก"ลานสาวกอด"จากเพลงมิดะ...กล่าวถึงแม่ม่ายอาข่า มิดะคือครูสอนเพศศึกษาให้กับหนุ่มน้อยอาข่า

ได้ อ่านหนังสือเล่มนึง " บุกภูเขา เบิกทะเล" โดยคุณประพันธ์ ผลเสวก เขียนถึงมิดะ...หลังจากไปบุกภูเขา พูดคุยกับคนชนเผ่าเอง...ก็ได้รับคำเล่าว่า " ในเผ่าอาข่าเรียกเด็กชายเมื่อยังเล็กๆว่า "อาหลี" และเรียกเด็กหญิงวัยยังไม่ถึง 12 ขวบว่า "อาบู๋" พอย่างเข้าวัย 13 ซึ่งถือว่าเริ่มเป็นสาวแล้วจึงจะเรียกว่า "มิดะ"

"มิ ดะ" จึงไม่ใช่ครูสอนเพศศึกษาแก่เด็กหนุ่มชาวอะข่าอย่างที่เข้าใจกัน ผิดถูกอย่างไรขึ้นอยู่กับอาซ้อและอาแซซ้อ ซึ่งมีชื่อไทยว่า "นิมิตร" เพื่อนชาวอาข่าของผม ที่ยืนยันว่าในเผ่าพันธุ์อาข่าของเขาไม่เคยได้ยินใครพูดถึงตำแหน่ง"มิดะ" อย่างเนื้อร้องในเพลงของ จรัล มโนเพ็ชร ที่บอกว่าคือแม่ม่าย จะเป็นแม่ม่ายผัวตายหรือแม่ม่ายผัวทิ้งก็ตาม

แต่ "มิดะ" เป็นคำเรียกเด็กสาวแรกรุ่นชาวอาข่าทุกคน"

ที่ ยกมากล่าวอ้าง ไม่ได้จะมาคัดค้านหรือเป็นกรรมการตัดสินผิดถูก เพราะแต่ไหนแต่ไร ที่เพลงออกสู่ผู้ฟัง ก็ไม่มีเสียงคัดค้านใด...หรือว่า ดิฉันตกข่าวหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ ให้เป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ไปก็แล้วกัน ยังไงก็ยังชอบฟังเพลงมิดะอยู่ดี

เขียน ไปหาข้อมูลไป...ไปพบข้อความเขียนในเว็บนึง เขียนโดยคนอาข่า บอกเล่าถึงความรู้สึกเรื่อง "มิดะ" ทั้งเพลง และภาพยนตร์...ลองคลิกเข้าไปอ่านดูนะ

http://www.hilltribe.org/thai/akha/akha-mida.php

ส่วน "ลานสาวกอด" ...ถามหนุ่มอาข่าหน้าตาดีคนนึงเมื่อไม่นานมานี้ ว่าลานสาวกอดยังมีอยู่อีกไหม หนุ่มอาข่าหน้าใสบอกว่า "เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้วครับ"...คิดว่า ลานคงมีอยู่แหละ แต่ประเพณีคงไม่มีแล้ว...อย่างที่เคยได้อ่านพบว่า

"ชาว อาข่ามีชีวิตอยู่กับเพลง ไม่ว่าจะมีความรัก ความผิดหวัง อกหัก ถูกทิ้ง สุข ทุกข์ ก็ระบายออกมาเป็นเพลง เพลงของอาข่ามีเป็นพันพันเพลง...ผู้ชายร้องจีบสาวด้วยเพลงไหน สาวก็จะร้องตอบด้วยเพลงหนึ่ง เขาไม่มีภาษาเขียน มีแต่ภาษาพูด"

" มีชุดเพลงเกี้ยวพาราสีของหนุ่มน้อยสาวน้อย ร้องตอบโต้กันในเวลาค่ำคืนระหว่างที่หนุ่มสาวลงจากบ้านของตนไปยังลานสาวกอด ไปจนกระทั่งหมดเวลาที่ลานสาวกอดราวเที่ยงคืน ก็แยกย้ายกันกลับบ้าน " เขาไม่ได้เสรี ฟรีเซ็กซ์ เป็นเพียงสถานที่แห่งหนึ่งจัดไว้ให้หนุ่มสาวได้ใกล้ชิดทำความเข้าใจกันจริง จริงในเวลากลางคืน ซึ่งกลางวันต่างก็ต้องไปนาไปไร่

ส่วน ภาษาเขียนนั้น ปัจจุบันมีแล้ว จากการถามหนุ่มหน้าหล่อคนเดิม เขาว่า ภาษาคล้ายของอิตาลี อันนี้ดิฉันนั้นก็ไม่เคยเห็นทั้งภาษาอาข่าและภาษาอิตาลี เขาบอกมาก็เอามาบอกต่อ

ต่อ กับเรื่องของคุณจรัล มโนเพ็ชร...นอกจากเพลงคำเมืองที่ขับขาน ยังมีอีกจำนวนมากไม่ใช่คำเมือง แต่ก็ยังเป็นโฟล์คอยู่ เนื้อหาหลายเพลงเป็น "เพื่อชีวิต" เช่น ฝากไว้ให้กันและกัน รางวัลแด่คนช่างฝัน ฉันจะกลับมา หัวใจพเนจร ฯลฯ

อีก ฝีมือการแสดงที่เฉียบขาด ตีบทแตกทุกช็อต บทพ่อ บทผัว ไม่เหลือความเป็นจรัล มโนเพ็ชร ให้เห็น...มีแต่ตัวตนของแต่ละตัวละคร...ชอบการแสดงของเขาในภาพยนตร์ "ด้วยเกล้า" ซึ่งเป็นภาพยนตร์เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 40 ปี ในปี พ.ศ. 2529 นำแสดงคู่กับคุณจินตหรา สุขพัฒน์ สันติสุข พรหมศิริ ได้รับรางวัลภาพยนตร์เกียรติยศแนวสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2530

เขียนเอนทรีนี้ เพื่อร่วมรำลึกถึง คุณจรัล มโนเพ็ชร

ในวาระครบ 8 ปีแห่งการจากไป ของนักรบวัฒนธรรมแห่งล้านนาไทย

อยากให้โฟล์คซองคำเมือง...อยู่ในใจคนไทยทั่วทุกภูมิภาคตลอดไป

(ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต และเรื่องราวบางส่วนจากหนังสือ "บุกภูเขา เบิกทะเล")

เพลง มิดะ...จรัล มโนเพ็ชร

http://www.oknation.net/blog/korpai/2009/09/02/entry-1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ