วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ยุทธการเสริมเขี้ยวทัพมะกัน สู่ ''สงครามหุ่นยนต์'' เต็มรูปแบบ

ยุทธการเสริมเขี้ยวทัพมะกัน สู่ ''สงครามหุ่นยนต์'' เต็มรูปแบบ

มติชน

ภาย ในระยะเวลา 30 ปีนับจากนี้ กองทัพสหรัฐอเมริกา มหาอำนาจทางทหารอันดับ 1 ของโลกจะแผ่อิทธิพลของตนสู่ยุค "สงครามหุ่นยนต์" สมรภูมิที่ซึ่งทหารของฝ่ายข้าศึกที่มีเลือดมีเนื้อไม่สามารถต่อกรหรือต้าน ทานขบวนทัพทหารหุ่นยนต์ของสหรัฐแม้แต่น้อย และดูเหมือนว่าจะไม่มีชาติใดหรือองค์กรใดในโลกสามารถหยุดยั้งความทะเยอทะยาน ของสหรัฐในครั้งนี้ได้

ปัจจุบัน กระทรวงกลาโหมและกองทัพสหรัฐกำลังเร่งเดินหน้าพัฒนาโครงการ "ระบบการรบแห่งอนาคต" (เอฟซีเอส) ในขั้นแรกให้เสร็จสิ้นภายใน 5-10 ปีข้างหน้า ตามเงื่อนเวลาที่กฎหมายพระราชบัญญัติอำนาจในการป้องกันประเทศ ฉบับปีค.ศ.2001 กำหนดเอาไว้

เนื้อหาหลักของพ.ร.บ.ดังกล่าวระบุไว้ ว่า ภายในปีค.ศ.2015 (พ.ศ.2558) ยานรบภาคพื้นดิน 1 ใน 3 ของกองทัพสหรัฐต้องเป็นยานรบหุ่นยนต์ที่ออกรบโดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องพึ่งพาท หาร หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "ยูจีวี"


ภารกิจการ พัฒนายานรบยูจีวีแน่นอนว่าเป็นหน้าที่ของกองทัพ แต่ขณะเดียวกันก็มีการแจกจ่ายงานออกไปให้ภาคเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาชั้นนำต่างๆ

หลักการทำงานเบื้องต้น ของยูจีวีต้องมีระบบคอมพิวเตอร์ที่แยกแยะลักษณะของพื้นที่-สิ่งกีดขวางต่างๆ ในสมรภูมิ และวิ่งหลบหลีกได้โดยอัตโนมัติ


ระบบ หลักๆ ที่จะช่วยพายูจีวีไปถึงเป้าหมาย ประกอบด้วยเซ็นเซอร์ตรวจจับสิ่งกีดขวาง, ระบบแยกแยะประเภทสิ่งกีดขวางว่าเป็นหลุม บ่อน้ำ ป่า พุ่มไม้ หิน ฯลฯ ระบบบอกพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลกผ่านดาวเทียม (จีพีเอส) และระบบเรดาห์ประมวลผลภาพภูมิประเทศออกมาเป็น 3 มิติ

การพัฒนาหุ่นยนต์รบภาคพื้นดินยากกว่าเครื่องบินรบหุ่นยนต์ตรงที่บนอากาศไม่มีสิ่งกีดขวางมากเหมือนบนพื้นดิน

วัตถุ ประสงค์สูงสุดของเอฟซีเอส คือ สร้างยานรบหรือทหารหุ่นยนต์ที่บุกไปโจมตีเป้าหมายอย่างแม่นยำโดยไม่ต้องพึ่ง พาการควบคุมจากมนุษย์ พร้อมกับแยกแยะเป้าหมายออกว่าเป็น "ข้าศึก" หรือ "พลเรือน" ซึ่งกว่าจะไปถึงจุดนี้อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 30 ปี


โครงการพัฒนายานรบยูจีวีของสหรัฐ สามารถแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน

ขั้นที่ 1. ขบวนรถลำเลียงเสบียงอัตโนมัติ : ในปีพ.ศ.2553 คาดว่ากองทัพสหรัฐจะเริ่มส่งยานรบอัตโนมัติเข้าสู่สมรภูมิในฐานะ "ขบวนรถลำเลียงเสบียงและส่งยุทโธปกรณ์อัตโนมัติ" ไปให้กับฐานและค่ายต่างๆ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งตัวรถจะขับเคลื่อนไปยังจุดหมายด้วยตัวมันเองทั้งในเวลากลางวันและกลาง คืน



ขั้นที่ 2. กองหนุนไร้ชีวิต :
ในปี พ.ศ.2555 คาดว่าระบบขบวนรถลำเลียงเสบียงจะทำงานอย่างสมบูรณ์แบบ โดยยานรบจะออกเดินทางจากจุด "ก" ไปยังจุด "ข" ได้โดยปลอดภัยและถูกต้อง ส่งผลให้กองทัพสหรัฐนำระบบนี้มาพัฒนาต่อยอดเป็นยานรบที่สามารถทำหน้าที่เป็น เหมือนกับ "ทหารหุ่นยนต์กองหนุน" เพื่อส่งอาวุธ อาหาร น้ำ และยาให้กับทหารที่ปะทะกับข้าศึกอยู่ในสมรภูมิ นอกจากนี้ยังจะมี "ยานรบหุ่นยนต์หุ้มเกราะ" ที่พาทหารบาดเจ็บกลับมารักษาตัวที่ฐาน



ขั้นที่ 3. รถถังหุ่นยนต์ : อีกประมาณ 10 กว่าปีขึ้นไป สหรัฐวางแผนว่าจะต้องมีรถถังหุ่นยนต์แบบออฟโรดติดอาวุธหนักเต็มอัตราศึก ซึ่งไม่ต้องพึ่งพาการสั่งงานจากมนุษย์เลย ที่สำคัญมันจะต้องแยกแยะความแตกต่างระหว่างข้าศึก พันธมิตร กับพลเรือนได้ ไม่ใช่ฆ่าไม่เลือกหน้า ล่าสุด มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอนกำลังพัฒนายานรบชนิดนี้อยู่



ขั้นที่ 4. นักล่า 6 ขา (ปีพ.ศ.2575) : นักรบหุ่นยนต์จะสมบูรณ์แบบต่อเมื่อมี "ขา" ที่ช่วยให้มันเดินบุกเข้าไปไล่ล่าข้าศึกได้ทุกสภาพภูมิประเทศเหมือนกับทหาร ราบ เช่น ป่ารกทึบและภูเขา "บอสตันไดนามิกส์" เป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทเอกชนที่คิดค้นหุ่นรบประเภทนี้และออกแบบคร่าวๆ ให้มันมี 6 ขา สามารถทรงตัวรักษาสมดุลด้วยตัวเอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ