วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พระราชประวัติ

พระราชประวัติ



พระราชบิดา

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
(สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์)


พระราชมารดา

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
(สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์)


พระนามเต็ม

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร


พระนามเดิม

พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช

พุทธศักราช ๒๔๗๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช

พระราชสมภพ

วันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๘๙ รัตนโกสินทร์ศก ๑๔๖ ตรงกับวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาซูเซทท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓

มีพระเชษฐภคินี ๑ พระองค์ และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ๑ พระองค์ ตามพระยศดังต่อไปนี้
๑. สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา (พระเชษฐภคินี)

พระนาม

หม่อมเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา ทรงได้รับการสถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงได้รับการสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ พุทธศักราช ๒๔๗๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ต่อมาปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาทรงมีพระยศทรงกรมว่า กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์


ประสูติ

วันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ


๒.พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (พระบรมเชษฐาธิราช)
พระนาม

หม่อมเจ้าอานันทมหิดล ทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


ประสูติ

วันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมันนี เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ รัฐบาลจึงได้ทูลเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จฯ ขึ้นครองราชย์ สืบสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ ทรงพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล


พระราชเถลิงถวัลยราชสมบัติ วันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙


สวรรคต

วันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน
พระบรมมหาราชวัง



พุทธศักราช ๒๔๗๑

ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุ ๑ พรรษา สมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชินี ทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จฯ กลับประเทศไทย ประทับที่วังสระปทุม


พุทธศักราช ๒๔๗๒

ในเดือนพฤษภาคม สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงพระประชวร และสิ้นพระชนม์ เมื่อ วันที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๒ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุไม่ถึง ๒ พรรษา


พุทธศักราช ๒๔๗๕

พระชนมายุ ๕ พรรษา ทรงเข้าศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร เป็นเวลา ๑ ปี ทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ เมื่อจบชั้นประถมศึกษาแล้ว ทรงศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนเอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออิส โรมองด์ เมืองแชลลี ซูร โลซานน์


พุทธศักราช ๒๔๗๗

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล (พระบรมเชษฐาธิราช) เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ในปีพุทธศักราช ๒๕๗๘


พุทธศักราช ๒๔๘๑

เสด็จพระราชดำเนินนิวัตประเทศไทยชั่วคราว ครั้งที่ ๑ โดยประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต


พุทธศักราช ๒๔๘๘

ทรงจบการศึกษาจากโรงเรียนยินนาส คลาสสิค กังโตนาล แห่งเมืองโลซานน์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทองอักษรศาสตร์ แล้วทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ ทรงเลือกศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์
วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ เสด็จพระราชดำเนินนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่ ๒ โดยประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง


พุทธศักราช ๒๔๘๙

วันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จสวรรคตโดยกระทันหัน คณะรัฐบาลในขณะนั้นกราบบังคมทูลอัญเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชในวันเดียวกัน



วันที่ ๑๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากยังมีพระราชภารกิจในการศึกษาต่อ ในการทรงศึกษาต่อครั้งนี้ ทรงเลือกเรียนวิชาฐศาสตร์และนิติศาสตร์แทนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่ เดิม


พุทธศักราช ๒๔๙๑


ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น เนื่องจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์กับฝรั่งเศสตั้งอยู่ในภาคพื้นเดียวกันมีทาง หลวงเชื่อมติดต่อกัน ระยะทางห่างกัน ๓๕๐ ไมล์เศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขับรถยนต์พระที่นั่งใช้เวลาเพียง ๓ ชั่วโมง เพื่อทอดพระเนตรโรงงานทำรถยนต์ และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีของคณะที่มีชื่อเสียง และขณะเสด็จพระราชดำเนินไปยังกรุงปารีส ทรงโปรดประทับที่สถานทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศส เช่นเดียวกับนักเรียนไทยคนอื่นๆ และสังสรรค์กับหมู่นักเรียนไทยอย่างใกล้ชิดโดยมิได้ถือพระองค์ว่าเป็น กษัตริย์ ในเดือนเมษายน หม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร และ ครอบครัวได้มีโอกาสเฝ้ารับเสด็จ พระองค์ทรงพบหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการดนตรีเป็นพิเศษ และหม่อมราชวงศ์หญิง สิริกิติ์ กิติยากร ก็สนใจและเข้าใจศิลปการดนตรีอย่างซาบซึ้ง และรอบรู้ความเป็นมาของเพลงเอก ตลอดชีวประวัติของผู้ประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียง จึงเป็นจุดแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยใน หม่อมราชวงศ์หญิง สิริกิติ์ กิติยากร แต่ทว่าหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร นิยมเพลงแบบบีบ๊อบ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงโปรดเพลงบีบ๊อบ ด้วยเหตุนี้จึงมีการโต้แย้งกันอยู่ตลอดเวลา สุดท้ายพระองค์ต้องทรงขออนุญาตหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร พาไปฟังออเครสต้า เพื่อให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร เข้าใจว่าการที่พระองค์ทรงไม่ชอบเพลงบีบ๊อบ เหตุการณ์นี้นับเป็นจุดเริ่มแห่งการพบและมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับครอบ ครัวราชสกุล “กิติยากร”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ณ ริมทะเลสาบเยนีนา เมืองบอนเน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากรถพระที่นั่งชนกับรถยนต์บรรทุก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับบาดเจ็บสาหัส บริเวณพระพักตร์และพระเศียร แต่ไม่มีพระอัฐิส่วนใดแตกหรือเดาะ พระโลหิตตกมาก ทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่ตำบลมอร์เซส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีนายแพทย์ ดร.มาเลียว เกรกซ์ เป็นผู้ถวายการรักษาพยาบาล ทรงประทับรักษาพระองค์อยู่ ณ โรงพยาบาล ช่วงแรกประมาณ ๓ สัปดาห์เศษ โดยทำการตรวจรักษาพระเนตรข้างขวาเป็นประจำ ทุกวัน และนำเศษแก้วออกมาได้ ๒ ชิ้น วันที่ ๒๙ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๑ เสด็จกลับสู่พระตำหนักวิลลาวัฒนาที่ประทับ

วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๑ ได้เสด็จกลับเข้าโรงพยาบาลอีกครั้ง เพื่อให้นายแพทย์ถวายการผ่าตัดพระเนตรข้างขวา ผลของการผ่าตัดเป็นที่น่าพอใจของนายแพทย์ ส่วนผ้าปิดพระเนตร กำหนดถอดประมาณต้นเดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากโรงพยาบาลกลับสู่พระตำหนักวิลลาวัฒนา ที่ประทับ

บ้านมหา จงเจริญ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อารายเหรอ